ChiangmaiFX : ก้าวสู่ปีที่ 16 อย่างมั่นคงในการเทรด Forex (2009 - 2025) โดยใช้วิชาเทคนิคอล (สถิติประยุกต์) มาช่วยเพิ่มโอกาสที่จะชนะ

 

Price Patterns (Part 1)

[ตอนที่ 1] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

นี่จะเป็นโครงการแปลตำรา"เทรด Forex" อีกเล่ม โดยจะเผยแพร่ความรู้นี้ให้แก่สาธารณะฟรี หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เทรดเดอร์ไทยเรา

หนังสือเล่มนี้แต่งโดย Martin J. Pring ผู้ก่อตั้ง Pring Research and publisher of Intermarket Review (www.pring.com) เจ้าของฉายา "technician’s technician" ซึ่งเป็นวิทยากรและผู้เขียนหนังสือการวิเคราะห์ด้วยวิชา Technical หลายเล่ม (การวิเคราะห์กราฟโดยใช้วิชาสถิติประยุกต์) ซึ่งถูกใช้เป็นมาตรฐานในวงการเทรดในปัจจุบัน

ผมชอบเล่มนี้เพราะเเน้นที่รูปแบบจากตลาดจริง มีตัวอย่าง ทำให้เข้าใจง่าย, โดยผมจะเลือกแปลบทที่คิดว่าสำคัญให้พวกเราอ่านก่อน จะไม่แปลทั้งเล่มตามลำดับหนังสือนะครับ ใครชอบเล่มนี้และเก่งอังกฤษก็สามารถหาซื้อได้จาก amazon ก็ได้ครับ (ผมซื้อมา 30.46USD)

แนวรับและแนวต้าน

ในตำรา “การวิเคราะห์ทางเทคนิคของแนวโน้มหุ้น” Edwards และ Magee ได้นิยามให้แนวรับเป็น “การซื้อ (ตามจริงหรือความเป็นไปได้) ที่มีปริมาณเพียงพอที่จะหยุดแนวโน้มขาลงของราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง” และแนวต้านเป็น “การขาย(ตามจริงหรือความเป็นไปได้) ที่มีปริมาณเพียงพอที่ทำให้เกิดความพึงพอใจต่อการเสนอซื้อทั้งหมด จึงทำให้ราคาหยุดวิ่งขึ้นไปชั่วขณะ”

แนวรับ คือ การกระจุกตัวของอุปสงค์ (concentration of demand) และแนวต้าน คือ การกรระจุกตัวของอุปทาน (concentration of supply) โดยที่คำว่าการกระจุกตัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานมักจะมีปริมาณมากที่บริวเณนั้น และมีความสมดุลกันอยู่ แต่เมื่อเกิดความสนใจของผู้ซื้อสูงขึ้นกว่าเดิม (เมื่อเทียบกับผู้ขาย) หรือทางกลับกัน ก็จะกลายเป็น ความไม่สมดุล และนี่คือสิ่งที่กำหนดแนวโน้ม (Trends) ที่เกิดจากความไม่เท่ากันของความอยากซื้อและขาย,ถ้าหากผู้ซื้อแสดงความสนใจมากกว่าผู้ขาย พวกเขาก็จะเพิ่มการเสนอซื้อเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะพึงพอใจกับการซื้ออุปสงค์  ในทางกลับกัน ถ้าหากผู้ขายเกิดความวิตกกังวลมาก พวกเขาจะซื้อในราคาที่ต่ำลงและระดับของราคาทั่วไปก็จะลดลงด้วย

ถ้าคิดไม่ออก ให้คิดว่าแนวรับของราคา จะอยู่ในระดับต่ำสุดชั่วคราว และแนวต้านจะอยู่ในระดับสูงสุดชั่วคราว

ในช่วงเริ่มต้นของ <รูปภาพที่ 3-1> ราคาจะมีการลดลงมา, แล้วพบกับแนวรับด้านล่างในบริเวณ A แล้วค่อยเด้งฟื้นขึ้น ช่วงเวลาถัดมาจะลดลงจนถึงบริเวณ A แล้วเด้งขึ้นอีกครั้ง ถึงตรงนี้อาจจะกล่าวได้ว่า A เป็นพื้นที่แนวรับ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงหลักการวิเคราะห์แนวรับ/แนวต้านครั้งแรกของเราคือ ระดับสูง (HIGH) หรือต่ำ (LOW) ในช่วงก่อนหน้านี้เป็นระดับของแนวต้าน/แนวรับ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ครั้งที่สามราคาจะหลุดแนบรับลงมา หลุดทะลุ  A ลงมา, หรือที่เรียกกันว่า ทะลุระดับแนวรับ,ดังที่เรากล่าวไว้ถึงแนวรับ หนึ่งในหลักการแรกของการหาระดับของแนวรับที่เป็นไปได้ จากนั้นก็จะค้นหาพื้นที่ LOW ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ , ส่วนในกรณีของแนวต้าน บริเวณที่อาจจะเกิดขึ้น น่าจะอยู่ในพื้นที่ HIGH ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

1. LOW ก่อนหน้า เป็นตำแหน่งที่ดี ที่คาดว่าจะเป็นแนวรับ

<รูปภาพที่ 3-2>  แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างที่ชัดขึ้น ครั้งนี้ราคาเจอแนวรับชั่วคราวในบริเวณ B, และ  C, โดยจะสังเกตได้ว่า มีการเด้งขึ้นที่บริเวณแนบรับ B, ดังนั้นหลักการที่สองคือ แนวรับ B จะกลายเป็นแนวต้าน B เมื่อราคาคิดจะย้อนกลับขึ้นมา, ลองคิดแบบนี้คือ เวลาก่อสร้าง พื้นตึกของชั้นจะทำหน้าที่เป็นแนวรับ (B) แต่เมื่อมีการลงผ่านชั้นนั้น แนบรับกลับกลายมาเป็นแนวต้าน (B) ที่เรียกกันว่าเพดาน เหตุผลที่แนวรับและแนวต้านตรงกันข้ามเมื่อผ่านมันไป อาจอธิบายทางจิตวิทยาเบื้องต้น คือ ไม่มีผู้ใดที่ต้องการสูญเสีย แม้บางคนสามารถ cut loss ออกในช่วงแรก แต่ก็มักจะมีการทนถือออเดอร์ติดลบใหญ่ไว้ จนกว่าราคาจะหวนกลับมาถึงราคาต้นทุน ซึ่งถ้าราคากลับมาถึงจุดเข้าได้ พวกขาสามารถที่จะหยุดและขายได้เท่าทุน จึงทำให้เกิดปริมาณซื้อขายมาก และมากพอที่จะหยุดราคาให้อยู่ตรงนี้สักระยะก่อให้เกิด แนวรับ/แนวต้น ชั่วคราวนั่นเอง

2. แนวรับจะกลับกลายเป็นแนวต้านเมื่อราคากลับขึ้นมาอีกครั้ง

เรื่องสุดท้าย ในรูปภาพที่ 3-3 เราจะพบว่าราคากลับขึ้นมา และผ่านแนวต้านในบริเวณ B และ A (ซึ่งเคยเป็นแนวรับมากก่อน)เมื่อทะลุ B ขึ้นมาได้ก็ ไปเจอแนวต้านที่บริเวณ A อีกครั้ง, ดังนั้นหลักการที่สามคือ แนวต้านจะกลับบทบาทเป็นแนวรับเมื่อทะลุไปได้

[ตอนที่ 2] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

1. High เดิม , Low เดิม

เราได้แสดงไปแล้วว่า Highเดิม Low เดิม คือบริเวณที่อาจจะกลายเป็น แนวรับหรือแนวต้าน,High จะมีความสำคัญ เนื่องจากผู้ร่วมตลาด (market participants) อาจจะไปเข้าซื้อไว้ที่ High หรือ ที่บริเวณนั้น

        เมื่อราคาลดลงมา ธรรมชาติของมนุษย์จะสั่งให้ไม่ยอม cut loss, แต่จะทนให้ถือไว้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกไม่เจ็บปวดเท่ากับต้อง cut lossทิ้งไปจริงๆ, ถ้าต่อมาราคาเด้งขึ้นกลับมาที่ HIGHเขาก็อยากจจะขาย เพื่อให้ได้เท่าทุน หลังจากทนเจ็บมานาน และหมดความทรมานกันเสียที, ส่วนสำหรับคนที่เข้าซื้อไว้ที่ทุนต่ำกว่า เมื่อได้กำไรก็มีแนวโน้มที่จะขายเพื่อทำกำไร ที่บริเวณที่ HIGHเดิมที่เคยไปถึงมาแล้ว, ด้วยสองเหตุผลนี้ทำให้ ถ้าราคาสูงกว่า HIGHดูจะแพงไปเสียแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดความอยากซื้อเพิ่มลดลง จึงกลายเป็น แนวต้านชั่วคราว

       มาดูแนวรับกันบ้าง, ถ้าราคาเคยวิ่งขึ้นไปก่อนครั้งหนึ่ง แล้วหดตัว วก กลับลงมาที่LOW เดิม, ราคาดูที่เหมือนจะลดลงมาเยอะ ทำให้ล่อใจคนที่คิดจะซื้ออยู่แล้ว เพราะพวกเขาเสียโอกาสในการเข้าซื้อ พวกเขาจึงรู้สึกขอบคุณตลาดด้วยซ้ำไปที่ให้โอกาสเข้าซื้ออีกครั้ง จึงจะเข้าซื้อกันมาก ตรงกันข้ามกับคนขายที่ลังเลที่จะขาย เพราะมูลค่าทรัพย์เขาเหลือน้อย เพราะราคาต่ำมาก (ไม่อยาก cut loss) และพวกเขาก็หวังว่าราคาจะเด้งกลับขึ้นไปอีกครั้งเหมือนที่เคยเกิดผ่านๆ มา, ทั้งสองเหตุผลจึงกลายเป็นการพยุงราคาไว้ก่อนทำให้เกิดเป็น แนวรับชั่วคราว

        <Chart3-1> แสดงราคาน้ำตาลในช่วง ค.ศ. 2002-2003

        จาก Chart 3-1, จะเห็นได้ว่า High เดิม กับ Low เดิม ทำหน้าที่เป็น แนวรับ/แนวต้านที่ดีสำหรับทำนายอนาคตข้างหน้า, แต่เราก็ไม่มีทางรู้หรอกว่า ระดับไหนกันแน่ ที่จะเป็นแนวรับ/ต้านที่แข็งแกร่ง (เพราะมีระดับแนวรับ/แนวต้านหลายระดับ)  นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้แนวเหล่านี้สามารถใช้คาดการณ์เพียงคร่าวๆ ที่ราคาจะกลับตัวชั่วคราว, เครื่องมือตระกูลอื่นๆ เช่นตระกูลแกว่งตัว (Oscillator)จึงเข้ามามีบทบาทมาช่วยเพิ่มเติมต่อจากนี้

2. ที่บริเวณเลขกลมๆ (ตัวเลขเต็ม เช่น 1.6000)

        บริเวณแนวรับและแนวต้านมักจะมีการเกิดขึ้นที่บริเวณเลขกลมๆ, นี่อาจะเป็นเพราะตัวเลขเช่น 10,50 หรือ 100เป็นตัวแทนทางจิตวิทยาซึ่งเทรดเดอร์และนักลงทุนมักจะใช้เป็นจุดตัดสินใจ, เช่น ในปี 1970s ดัชนี Dow Jones Industrials กว่าจะผ่านแนว 1000ไปได้ก็ยากลำบาก, สำหรับทองคำในปี 1980s – mid1990s, ตัวเลขมหัศจรรย์คือ $400และยังมีตัวอย่างอีกมาก, คำแนะนำสำหรับจุดกลับตัวเบื้องต้นจึงให้จับตาไว้ที่ตัวเลขกลมๆ

        แนวรับและแนวต้านจะมีการสร้างจำนวนเต็ม สิ่งนี้อาจจะสืบเนื่องมาจากจำนวน เช่น 10, 50 หรือ 100 อันแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งทางจิตวิทยาอย่างง่าย ซึ่งผู้ค้าและผู้ลงทุนมักจะเริ่มดำเนินการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1970 ดัชนี Dow Jones Industrials มีการตกลงซื้อขายที่ยุ่งยากมาก เกินกว่า 1000 ระดับ และสำหรับความเฟื่องฟูในปี ค.ศ. 1980 และกลางปี ค.ศ. 1990 ตัวเลขที่กำหนดขึ้น จะเป็น 400 ดอลลาร์ เป็นต้น จากนั้น แนวทางในการเปลี่ยนตำแหน่งที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อค้นหาจำนวนเต็ม

[ตอนที่ 3] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

3. เส้นแนวโน้มและเส้นค่าเฉลี่ยที่แสดง Dynamic Levels ของแนวรับ/แนวต้าน

เส้นแนวโน้มที่ดีควรสะท้อนถึงแนวโน้มอ้างอิงว่าราคาจะไปในทิศทางใดกันแน่ และหนึ่งในเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินทิศทางนั้นก็คือจำนวนครั้งที่ราคาแตะกับเส้นแนวโน้มที่ยิ่งแตะมากเท่าไหร่ก็ยิ่งบอกแนวโน้มได้มากขึ้นเท่านั้น นักลงทุนสามารถตีความได้ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาร่วงกลับลงไปที่ราคาต่ำสุดใดหลายๆ ครั้ง ราคานั้นจะเป็นแนวรับที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเสมอ เส้นแนวโน้มและเส้นค่าเฉลี่ย (MA) มี dynamic level ของแนวรับในทุกครั้งที่ราคาถอยกลับไปแตะที่บนเส้นแนวโน้มขาขึ้นหรือเส้นค่าเฉลี่ย MA ที่กำลังขึ้นแล้วเด้งขึ้น ลักษณะแบบนี้จะตรงกันข้ามกับเส้นแนวโน้มขาลงหรือเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งก็ดูสมเหตุลมผลดีถ้านักลงทุนจะเข้าซื้อเมื่อราคาร่วงลงไปแตะที่เส้นแนวโน้มขาขึ้น (หรือ MA ที่กำลังขึ้น) และขายเมื่อราคาขึ้นไปชนด้านล่างของเส้นแนวโน้ม (หรือ MA ขาขึ้น) แต่ไม่ว่าจะอย่างไรพวกเขาก็สามารถกำหนดจุดตัดขาดทุน stop loss ที่ความเสี่ยงต่ำให้อยู่เหนือเส้นแนวโน้มหรือเส้น MA ในกรณีราคาหลุดเข้ามาถึงเขตแนวรับ/แนวต้านได้เสมอ

Chart 3-2 เป็นข้อมูลราคาของ Hewlett-Packard ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีมากของเส้นแนวโน้มขาลงที่ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน รวมถึงความสัมพันธ์กับ MA จากกราฟจะเห็นว่าเส้น MA 200 วันในกราฟจะเป็นตัวเสริมแนวต้านให้แข็งแกร่งขึ้นโดยมันจะทำงานเหมือนกับบ้านที่มีหลังคาหนาสองเท่าคอยค้ำอยู่ เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นแนวโน้มและเส้นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกัน ระดับราคานี้เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่งขึ้นเป็นสองเท่า (หรือแนวรับแข็งแกร่งในกรณีเส้นแนวโน้มขาขึ้นและเส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน)

4.  Emotional Points บนกราฟที่แสดงแนวรับ/แนวต้าน

แนวคิดนี้จะกล่าวถึงอย่างละเอียดในบทต่อไปในกรณีที่เราพิจารณา gaps, extreme points of Pinocchio bars, two-bar reversals, key reversals เป็นต้น แต่ในหัวข้อนี้เราจะพูดถึงแต่เพียงว่า emotional points ส่วนใหญ่เป็นราคาที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งและต่อเนื่อง ถ้าดูในกราฟจะเห็นการกลับทิศทางที่ปุบปับของราคา

gaps เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ emotional point ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อหรือผู้ขายตอบสนองต่อข่าวต่างๆ ด้วยอารมณ์ จนกราฟเห็นเป็นราคากระโดดขึ้น/ลงกะทันหันหรือมี gaps ราคาเกิดขึ้น

ใน Chart 3-3 จะเห็นว่าจู่ๆ อาจมีข่าวร้ายที่คาดไม่ถึงทำให้ราคาน้ำตาลมี gap ขาลงถึง 3 ช่วง  แต่เมื่ออารมณ์ของตลาดกลับสู่ภาวะนิ่งแล้ว นักลงทุนก็จะเริ่มไล่ราคาขึ้นเพื่อ  "ปิด"  แต่ละ gap  ในกรณีของ gap ทางซ้าย แนวต้านจะอยู่ที่การเปิด gap ส่วนที่เหลือ แนวต้านจะอยู่ที่ราคาต่ำสุดของ gap  โดยสรุปจะเห็นได้ว่า gapsก็เป็นตัวชี้วัดทางเทคนิคอย่างหนึ่งที่เชื่อถือได้มากที่สุดในแง่ของการหาแนวรับ/แนวต้านที่เป็นไปได้

Chart 3-4 ของ  Boeing ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของemotional point  เราจะเห็นว่าในช่วงต้นปี 2002 จุดต่ำสุดของแท่งกราฟจะกว้างมากแล้วลากลงมาแตะที่ระดับราคาต่ำสุดเป็นตัวเลขกลมๆที่ $ 50 ซึ่งโดยปกติราคาที่ร่วงลงมาถึงระดับนี้จะเป็นแนวต้านในรอบถัดไป แต่ก็ไม่เสมอไปหรอก เพราะเมื่อถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปีเดียวกัน ราคาต่ำสุดใหม่กลับร่วงทะลุผ่านแนวต้านนี้ลงไปอีก แล้วกลายเป็น pivotal point ให้นักลงทุนไล่ราคากลับขึ้นใหม่  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงมันจะเป็นแนวรับ/แนวต้านตาม แต่ก็ยังอาจเป็น pivotal point สำหรับการทำราคาในรอบต่อไปได้เสมอ

[ตอนที่ 4] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

5. เส้นอัตราส่วน Proportionate Moves, Retracements และอื่นๆ

กฎการเคลื่อนที่ระบุไว้ว่าการกระทำทุกครั้งจะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ซึ่งแนวโน้มราคาในตลาดการเงินเป็นตัวชี้วัดจิตวิทยาฝูงชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงราคาและอยู่ภายใต้กฎการเคลื่อนที่นี้ด้วย โดยที่เราจะเห็นการแกว่งตัวของอารมณ์ตลาดเหล่านี้อยู่ในเส้น proportionate moves ของราคา

หลักการแบ่งเป็นสัดส่วนที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ กฎ 50 เปอร์เซ็นต์ ที่นักลงทุนนำมาใช้กับตลาดหุ้นที่เข้าสู่ขาลงหรือตลาดหมี (Bear Market) ทั้งหลาย จากประวัติที่ผ่านมาดัชนี DJIA  (ดาวโจนส์) จะลดลงถึงครึ่งหนึ่งในปีที่เป็นตลาดหมี เห็นได้จากช่วงวิกฤติในปี 1901-1903, 1907, 1919-1921 และ 1937-1938 ดัชนีดาวโจนส์หล่นลงไปอยู่ที่ 46, 49, 47 และ 50 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ถ้าดูจากขาลงขาแรกในปี 1929-1932 ซึ่งจบรอบลงที่ระดับ 195 ในเดือนตุลาคม 1929 ประมาณว่าเป็นครึ่งหนึ่งของดัชนีของเดือนกันยายน เราจึงคาดเดาว่าราคาในแนวรับน่าจะเป็นครึ่งหนึ่งของราคาด้วย (นอกจากนี้ยังเป็นการส่งสัญญาณบอกจุดกลับตัวของราคาได้อีกด้วย)

ดังนั้นเมื่อตลาดหมีสิ้นสุดลงในช่วงระหว่างปี 1970 ถึง 1973 ดัชนีตลาดขยับขึ้นจาก 628 ถึง 1067 จุด เราก็ประมาณการได้ว่าจุดครึ่งทางขาขึ้นของดัชนีอยู่ที่ 848 ซึ่งเกือบเท่ากับระดับดัชนีที่เริ่มต้นของตลาดขาขึ้นขาแรกของปี 1973-1974

ในทำนองเดียวกันเมื่อพิจารณาจากตลาดที่เป็นขาขึ้น เรามักเจอแนวต้านหลังจากราคาพยายามไต่ระดับจากจุดต่ำสุดถึงสองครั้งเสมอ ดูได้จากตลาดขาขึ้นหรือตลาดกระทิง (bull market ) รอบแรกในปี 1932-1937ที่มีการไล่ระดับโดยเริ่มจาก 40 ไปจนถึง 81  แล้ววกกลับลงมาถึงสองรอบ

อย่างไรก็ตามการกำหนดระยะลงที่แนวรับ 50เปอร์เซ็นต์ในช่วงตรงกลางของสัดส่วน 1/3 และ 2/3 retracement  จะอธิบายไว้ในบทที่ 2หัวข้อ peak-and-trough progression เพราะนอกจากจะพบได้โดยทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดและยังทำหน้าที่เป็นแนวรับ/แนวต้านอีกด้วย

การใช้กราฟสเกลอัตราส่วน (ratio scale) มีประโยชน์ในการกำหนดจุดดังกล่าว เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่มีสัดส่วนเท่ากัน จะทำให้สามารถคาดการณ์ทิศทางขึ้น/ลงของราคาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การแกว่งตัวที่สอดคล้องกันเพียงพอที่นักลงทุนสามารถคาดเดาจุดกลับตัวได้ทั้งจุดยอดสูงสุดและจุดต่ำสุด (peak and trough) แต่ให้จำไว้ด้วยว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น ซึ่งหมายความว่าการคาดการณ์ไม่ควรทำโดยใช้วิธีเหล่านี้แบบเดี่ยวๆ

การคาดการณ์โดยใช้กฎสัดส่วนยังเหมาะที่จะมาดูว่า การตั้งราคาเป้าหมายสอดคล้องกับจุดแนวรับ/จุดแนวต้านก่อนหน้านี้หรือไม่ ซึ่งมันอาจกลายเป็นจุดกลับตัวได้ ถ้ามันทะลุแนวรับ/แนวต้านไปมากๆ หรืออย่างน้อยก็เป็นแนวกั้นชั่วคราวได้ เมื่อราคาหลักทรัพย์กำลังขึ้นถึงจุดสูงสุดใหม่เส้นแนวโน้มขาขึ้นก็ต้องขยายขึ้นไปอีก โดยจุดที่เส้นแนวโน้มตัดกับราคาที่คาดเอาไว้โดยใช้กฎสัดส่วนอาจเป็นตัวแทนเวลาและตำแหน่งของจุดกลับตัวที่สำคัญได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามหลักทรัพย์แต่ละประเภทต่างมีลักษณะเฉพาะของตัวเองซึ่งบางประเภทก็เหมาะที่จะใช้กับวิธีการนี้

Chart 3-5 เป็นกราฟราคาของ Dollar General ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ใช้สัดส่วน 1/3, 2/3, และ 50 เปอร์เซ็นต์ retracements ในกรณีนี้การลดลงของราคาจาก A ถึง B คิดเป็น 100% ของราคาที่เปลี่ยนแปลง ถ้าเราต้องการหาจุดต้านที่มีโอกาสทำให้เกิดการรีบาวด์ เราจะพบว่าตำแหน่งที่ดีที่สุดในการติดตามก็คือ สัดส่วน 1/3, 2/3 และ 50%retracements เมื่อดูที่กราฟการไล่ราคาจะจบลงที่จุด C ในระดับ 50% และ ที่ D ในระดับ 66% หรือคิดเป็นสัดส่วน 2/3 retracement นั่นเอง

Chart 3-5 ราคารายวันของ Dollar General ระหว่างปี 1999-2000

นักวิเคราะห์กราฟเชิงเทคนิคหลายคนใช้ลำดับตัวเลขFibonacci ที่ค้นพบโดย Leonardo Fibonacci ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 13 ลำดับตัวเลขมีคุณสมบัติหลายอย่าง แต่หนึ่งในนั้นคือจำนวนถัดไปของมันจะเท่ากับผลรวมของจำนวนสองจำนวนที่อยู่ก่อนหน้า อย่าง 5 และ 8 = 13, 8 และ 13 = 21 เป็นต้น ความสำคัญของลำดับตัวเลขในการหาแนวรับ/แนวต้านของเราคือ มันเป็นแนวทางสำหรับการหาเส้นอัตราส่วน proportionate moves  ตัวอย่างเช่นลำดับเลขถัดจาก 50%คือ 61.8%และลำดับเลขก่อนหน้านี้คือ 38.2% เป็นต้น 

ใน Charts 3-6 และ 3-7 เป็นกราฟแสดงราคาของ Palladium  ใน Chart 3-6 จะเห็นว่าระหว่างปี  1997-1998 มีการไล่ราคาครั้งใหญ่ถึงระดับ 100% ของราคา ส่วนตำแหน่ง BC และ BD เป็นระดับราคาในแนวรับที่ 61.8% และ 50%  retracements ตามลำดับ จะเห็นว่าระดับ 61.8% ในปี 1998 เป็นแนวรับที่กินเวลายาวนานช่วงหนึ่งทีเดียว นอกจากนี้ในปี 1998และ 1999ยังมีระดับ 23.6% (ตัวเลข Fibonacci จะได้มาจากการหารตัวเลขลำดับหลังด้วยตัวเลขลำดับหน้า) ที่เป็น pivotal point ซึ่งเริ่มลากจากจุด E เป็นเส้นสีดำหนา

Chart 3-6 ราคารายวันของ Palladium ระหว่างปี 1997-2000

เราใช้หลักการเดียวกันใน Chart 3-7 เพื่อคาดการณ์ราคาที่แกว่งตัว upsideขึ้นไปทางด้านข้าง โดยที่ AB เป็นสัดส่วน 100 % ของราคาที่ลดลง และเส้นจะถูกลากตาม Fibonacci proportions  ที่แกว่งตัวขึ้นไปทางด้านข้าง ในกรณีนี้จะใช้อัตราส่วนจากการหารตัวเลขที่สูงขึ้นถัดไปด้วยตัวเลขปัจจุบันคือ 1.61 จากนั้นก็จะเป็น 2.61 และอื่นๆ ต่อไป ซึ่งเห็นได้ชัดว่าราคาระดับ 161.8% และ 261.8% ได้กลายเป็น pivotal points ที่สำคัญของพฤติกรรมราคาในอนาคต อันที่จริง ถึงจะประกันไม่ได้ว่าระดับสัดส่วนเหล่านี้จะต้องเป็น pivotal points ที่สำคัญเสมอไปก็ตาม แต่มันก็ยังเป็นจุดที่ดีที่สุดในกราฟ สำหรับนักลงทุนที่กำลังหาราคาที่น่าจะเป็น

Chart 3-7 ราคารายวันของ Palladium ในระหว่างปี 1996-2000

[ตอนที่ 5] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

กฎการหาแนวรับ/แนวต้านที่มีสำคัญ

ณ จุดนี้คุณอาจจะสงสัยว่า "แล้วฉันรู้จะได้อย่างไรว่าระดับแนวรับ/แนวต้านแต่ละจุดมีความสำคัญขนาดไหน" ที่จริงคำตอบไม่มีอะไรตายตัวนักหรอก เพียงแต่มันมีกฎทั่วไปบางข้อที่คุณสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางได้

1. จำนวนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนมือในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง - ยิ่งมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคามากเท่าไหร่ ในพื้นที่นั้นก็ยิ่งมีโอกาสเป็นแนวรับ/แนวต้านที่สำคัญมากขึ้น

กฎนี้จะเห็นได้ชัดเจนในทุกครั้งที่นักลงทุนจำนวนมากที่อยู่ในตลาดเจาะจงซื้อ/ขายในราคาใดราคาหนึ่งโดยเฉพาะ ก็อย่างที่เคยพูดไปแล้ว ผู้ขายก็จะขอให้ได้ราคาที่ตัวเองคุ้มทุน ในขณะที่ผู้ซื้อก็อยากจะซื้อในราคาที่ต่ำกว่าเดิม และรอซื้อคืนที่ราคาบนแนวต้านที่ถูกตรึงไว้ก่อนหน้า เพราะพวกเขาต้องการทำกำไรเพื่อขายในครั้งต่อไป

2. ยิ่งการเคลื่อนไหวของราคาก่อนหน้านี้ความเร็วและขยายออกไปมากขึ้น ราคานั้นก็ยิ่งมีโอกาสเป็นแนวรับ/แนวต้านที่สำคัญมากขึ้นตาม

ในที่นี้ ความพยายามที่จะผ่านแนวต้านอาจเทียบได้กับคนที่พยายามพังประตู ถ้าเขาเริ่มพุ่งเข้าหาประตูที่ระยะห่างแค่ 10 หรือ 12 ฟุต เขาก็จะมีโมเมนตัมมากพอที่จะพังประตูได้ แต่ถ้าเขาอยู่ห่างออกไปตั้ง 100 ฟุต กว่าจะมาถึงประตูความเร็วก็ลดลงจนไม่สามารถพังประตูได้แล้ว ในที่นี้ประตูก็เปรียบเสมือนเป็นแนวต้าน และเราสามารถนำหลักการนี้ไปใช้กับพฤติกรรมตลาดได้ การไต่ระดับราคาที่มีระยะทางยาวและสูงชันก็คล้ายกับการวิ่ง 100 ฟุต โดยมีแนวต้านคือประตูนั่นเอง ยิ่งราคาก่อนหน้านี้มีการแกว่งตัวสูงขึ้นเกินจากฐานมากขึ้นเท่าไหร่กรอบแนวต้าน/แนวรับก็ยิ่งแคบลงเพื่อชะลอความร้อนแรงของมัน

Chart 3-8 เป็นดัชนีในภาคส่วนของธนาคารพาณิชย์ Bank Commercials Index (ค่าเฉลี่ยของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อิตาลี) ที่ปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในเดือนสิงหาคม จากนั้นจึงค่อยปรับระดับขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามราคาที่ลดลงในรอบต่อมามีลักษณะที่ชันมาก ดังนั้นเมื่อดัชนีทรุดตัวลงจนถึงแนวรับที่ระดับ 880 จุดมันก็จะหมดแรงเทขายและผู้ขายก็ไม่สามารถดันราคาให้ทะลุผ่านแนวรับนี้ได้

Chart 3-8 ดัชนีรายวันในภาคส่วนของธนาคารพาณิชย์ Bank Commercial

Chart 3-9 เป็นกราฟราคาทองคำ จะเห็นราคาทองจะพุ่งขึ้นในเดือนมกราคม 1986แล้วร่วงลงในเวลาต่อมา จากนั้นราคาก็ไล่ระดับขึ้นไปใหม่ในลักษณะที่ค่อนข้างชัน จนกระทั่งแรงซื้อหมดลงแล้วราคาก็ร่วงกลับลงมาอีกครั้ง จนถึงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงจะมีรูปแบบพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของราคาซึ่งคล้ายเดิม แต่มันกลับทำราคาสูงสุดกว่าเดิมก่อนที่จะร่วงลง ราคาที่สามารถทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไปได้อย่างง่ายดาย นี้เป็นเพราะผู้ซื้อยังไม่หมดแรงซื้อเหมือนที่เกิดขึ้นในรอบเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

Chart 3-9 ราคาทองคำ ระหว่างปี 1985-1986

3. ทดสอบจำนวนของ Time Elapsed

กฎข้อที่ 3 สำหรับการหาแนวรับ/แนวต้านที่เป็นไปได้เป็นการทดสอบจำนวนของเวลาที่ผ่านไประหว่างราคาที่เริ่มสะสมกำลังกับลักษณะการพัฒนาของตลาดในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งถ้ากำหนดช่วงเวลาไว้ที่ 6เดือนจะเห็นภาพได้ดีกว่า 10หรือ 20ปี ซึ่งมันก็น่าประหลาดเหมือนกันที่ระดับแนวรับ/แนวต้านยังคงมีอิทธิพลต่อเวลาซ้ำแล้วซ้ำเล่าแม้ว่าจะผ่านไปในแต่ละปีแล้วก็ตาม

สรุป

•แนวรับ/แนวต้านเป็นตัวบ่งชี้ระดับความเข้มข้นของอุปสงค์และอุปาทานที่เหมาะต่อการชะลอการเคลื่อนไหวของราคาอย่างน้อยก็ชั่วคราว

•แนวรับ/แนวต้านไม่ใช่สัญญาณซื้อหรือขาย แต่เป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในการคาดคะเนการกลับตัวของราคามากกว่า และควรนำไปใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้อื่นๆ เสมอ

•แนวรับ/แนวต้านที่เป็นไปได้ จะเกิดขึ้นที่จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดก่อนหน้า, ตัวเลขกลมๆ, เส้นแนวโน้มและเส้นค่าเฉลี่ย, Emotional Points บนกราฟ และจุด retracement เช่น Fibonacci proportions

•ความสำคัญของแนวรับ/แนวต้านขึ้นอยู่กับปริมาณหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนมือไปก่อนหน้านี้, ความเร็วและขอบเขตการเคลื่อนไหวของราคาก่อนหน้านี้ และระยะเวลาที่ผ่านไปตั้งแต่พบแนวรับ/แนวต้านครั้งสุดท้าย

[ตอนที่ 6] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

บทที่ 4 เส้นแนวโน้ม (Trendlines)

เส้นแนวโน้มเป็นเครื่องมือที่ง่ายใช้สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์เชิงเทคนิค เนื่องจากการสร้างรูปแบบราคาเกือบทั้งหมดต้องใช้เส้นแนวโน้ม ดังนั้นมันจึงเป็นพื้นฐานในการสร้างขอบเขตที่ใช้แจกแจงลักษณะและตีความรูปแบบของราคา ในบทนี้เราจะกล่าวถึงลักษณะของเส้นแนวโน้มและอธิบายถึงความสำคัญของเส้นแนวโน้มแต่ละเส้น

เส้นแนวโน้มคือเส้นตรงที่เชื่อมชุดของจุดต่ำสุดที่กำลังเอียงขึ้นในตลาดขาขึ้น หรือเชื่อมชุดของยอดสูงสุดที่กำลังเอียงลาดลงมา เส้นแนวโน้มที่ลากระหว่างจุดต่ำสุดจะเรียกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้น up trendlines และเส้นแนวโน้มที่ลากระหว่างจุดสูงสุดจะเรียกว่าเส้นแนวโน้มขาลง down trendlinesและโดยทั่วไป เส้นแนวโน้มขาลงจะเป็นการลากเส้นจุดสูงสุดอันสุดท้ายไปยังกับจุดสูงสุดอันแรกที่เริ่มมีการไล่ราคาลง ดังรูปที่ 4-1 ถ้าราคาทะลุขึ้นเหนือเส้นแนวโน้มได้ก็จะเกิดเป็นสัญญาณกลับตัวกลายเป็นเส้นแนวโน้มขาขึ้น (ดูรูปที่ 4-1)

 

 

รูปที่ 4-1เส้นแนวโน้มขาลง

วิธีการวาดเส้นแนวโน้ม

เพื่อให้ได้เส้นแนวโน้มที่แท้จริง เส้นที่วาดต้องเชื่อมยอดสูงสุดติดต่อกันตั้งแต่สองยอดขึ้นไป ไม่อย่างนั้นมันจะมีช่องว่างและไม่สามารถตีความได้ เราถือว่าเส้นแนวโน้มที่สัมผัสเพียงจุดเดียวอย่างในรูปที่ 4-2 หรือไม่มีการสัมผัสที่จุดใดเลยอย่างในรูปที่ 4-3 นั้นไม่มีความหมาย ดังนั้นการลากเส้นต้องมีจุดที่สัมผัสที่ติดต่อกันเท่านั้นจึงจะถือว่ามีความสำคัญและเป็นเส้นแนวโน้มที่แท้จริงเพราะมันเป็นตัวแทนของเส้นแนวโน้มพื้นฐาน

 

 

รูปที่ 4.2 เส้นแนวโน้มที่สัมผัสเพียงจุดเดียว

 

 

รูปที่ 4-3 เส้นแนวโน้มที่ไม่มีการสัมผัสที่จุดใดเลย

ตามหลักการแล้ว เส้นแนวโน้มขาขึ้นจะวาดโดยการเชื่อมจุดต่ำสุดอันแรกกับจุดต่ำสุดที่สูงกว่าถัดไป ในรูปที่ 4-4 เส้น AD จะถูกเรียกว่าเส้นแนวโน้มระยะยาวหรือแนวโน้มหลัก primary trend ในกรณีของแนวโน้มระยะยาวนี้จะเป็นจุดต่ำสุดของตลาดหมีและเป็นจุดต่ำสุดแรกของแนวโน้มระยะกลางหรือเส้นแนวโน้มรอง เส้นแนวโน้มจากตัวอย่างมีการทำมุมเอียงขึ้นที่ค่อนข้างตื้น จากนั้นราคาก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงว่ามันสามารถทะลุแนวต้านได้ค่อนข้างแข็งแกร่งหลังจากผ่านจุดสูงสุดสุดท้ายไปแล้ว

รูปที่ 4-4 เส้นแนวโน้มหลักและเส้นแนวโน้มรอง

ในสถานการณ์ที่ราคาดีดตัวขึ้นไปเช่นนี้จะต้องทำการตีเส้นแนวโน้มใหม่ รูปที่ 4-4 จะได้เส้น  BC เป็นเส้นแนวโน้มใหม่ที่สะท้อนแนวโน้มพื้นฐานได้ดีกว่าและเส้น BC นี้ถูกเรียกว่าเส้นแนวโน้มรอง  สำหรับกรณีที่ต้องวาดเส้นของแนวโน้มขาลงก็ใช้หลักการเดียวกันแต่ในทิศทางตรงกันข้ามเท่านั้น

[ตอนที่ 7] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

เนื่องจากแนวโน้มสามารถเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างแบบ sideway เส้นแนวโน้มที่ได้ก็จะเป็นเส้นที่ลากตามแนวขวาง รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นตอนที่เราสร้างเส้น neckline ของรูปแบบราคา head-and-shoulders ในแนวขนาน (H&S)  หรือตีเส้นกรอบบน/ล่างของทิศทางราคาแบบ rectangles (อธิบายไว้ในบทต่อไป) ในกรณีของรูปแบบราคา การแทรกเข้ามาของเส้นเหล่านี้มักเป็นสัญญาณเตือนการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม เช่นเดียวกับการละเมิดของเส้นแนวโน้มขาขึ้น/ขาลง

สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าการวาดเส้นแนวโน้มเป็นเรื่องสามัญสำนึกทั่วไปมากกว่าการยึดติดกับหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด

การเปรียบเทียบกราฟแท่งกับกราฟเส้นหรือกราฟราคาปิด

กราฟที่พล๊อตขึ้นมีหลายประเภท บ้างเป็นกราฟแท่ง  บ้างก็เป็นกราฟเส้น ทำให้เกิดคำถามว่า "แล้วเราควรจะเลือกใช้กราฟแบบไหนถึงจะเหมาะกับการวิเคราะห์แนวโน้ม?"  ส่วนใหญ่กราฟแท่งจะให้สัญญาณที่ทันต่อเวลามากกว่าไม่ว่าสัญญาณนั้นจะเป็น peak-and-trough progression, price pattern completion หรือ trendline violation ซึ่งเมื่อไหร่ที่ต้องวิเคราะห์เชิงเทคนิคแล้วจะต้องแสดงราคาให้ทันเวลาและราคา ในกรณีนี้จะมีความเป็น whipsaws มากกว่า  ส่วนกราฟแบบดั้งเดิมหรือกราฟรายสัปดาห์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับกราฟราคาปิด เนื่องจากเหมาะสำหรับให้นักลงทุนนำกลับไปวิเคราะห์ต่อหลังจากตลาดปิด แต่ความสำคัญของมันก็อาจลดลงบ้างเพราะมีบางตลาดที่มีการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันศุกร์ ดังนั้นกราฟราคาปิดส่วนใหญ่จะเป็นกราฟจุดมากกว่ากราฟสูงสุด/ต่ำสุด และการสร้างเส้นแนวโน้มโดยใช้ราคาปิดจะเหมาะกับช่วงที่มีข่าวที่ไม่คาดฝันเข้ามามากกว่า ผมไม่ได้จะบอกตายตัวว่าคุณต้องใช้กราฟแบบไหนเพราะกราฟแท่งบางประเภทก็มีความสำคัญมากกว่ากราฟราคาปิดเสียด้วยซ้ำ ทั้งหมดนี้มันขึ้นอยู่กับกฎความสำคัญที่จะอธิบายในภายหลัง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือคุณต้องใช้การตัดสินใจของตนเองให้มากที่สุด พอๆ กับการใช้กฎทางเทคนิคที่เข้มงวด คำถามที่คุณควรถามต่อก็คือ "เส้นแนวโน้มเส้นไหนที่จะสะท้อนแนวโน้มพื้นฐานได้ดีกว่ากัน?"

การทะลุแนวรับ/แนวต้านของเส้นแนวโน้มที่อาจเป็นสัญญาณกลับตัวหรือสัญญาณแนวโน้มเดิม

รูปแบบของราคาที่สมบูรณ์จะสามารถส่งสัญญาณแนวโน้มได้ทั้ง (1) สัญญาณกลับตัวซึ่งเรียกว่ารูปแบบการกลับตัว (reversal pattern) หรือ (2) คงแนวโน้มเดิมต่อไป ซึ่งเรียกว่ารูปแบบแนวโน้มเดิม (Consolidation pattern) หรือรูปแบบต่อเนื่อง (continuation pattern) ในทำนองเดียวกันการลากเส้นแนวโน้มจะทำให้แนวโน้มเป็นได้ทั้งการกลับตัวหรือต่อเนื่องจากแนวโน้มเดิมของมัน รูปที่ 4-5 เป็นกราฟที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น ในกรณีนี้ เส้นแนวโน้มที่ลากเชื่อมต่อเป็นลำดับได้ตัดกับเส้นราคาที่กำลังลดลงในตอนท้าย เมื่อจุดสูงสุดที่สี่เป็นจุดที่สูงที่สุดในแนวโน้มของตลาดกระทิง ดังนั้นการที่ราคาหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มเป็นการส่งสัญญาณว่าตลาดหมีกำลังมา

รูปที่ 4-5 รูปแบบการกลับตัวของราคาที่ทะลุแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น

แนวโน้มราคาที่สูงขึ้นและการแทรกของเส้นแนวโน้มในรูปที่ 4 - 6 มีรูปแบบเดียวกับรูปที่ 4-5 แต่สัญญาณเตือนที่ได้กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะถึงราคาที่หลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ความเร็วก็ลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน ส่วนสัญญาณแนวโน้มสุดท้าย (3) เป็นการสะสมราคาซื้อขาย (price consolidates) แบบ sideway ก่อนมีการกลับตัว ดังในรูปที่ 4-7 เมื่อใดก็ตามที่ราคาหลุดจากแนวรับของเส้นแนวโน้มก็ยิ่งมีโอกาสที่แนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเป็นการกลับตัวจริงๆ หรือเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงแบบ sideway ก่อนจะเกิดแนวโน้มขาขึ้น/ขาลงตามมา

รูปที่ 4-6 รูปแบบแนวโน้มเดิมหรือแนวโน้มแบบต่อเนื่องของราคาที่ทะลุแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น

รูปที่ 4-7 รูปแบบแนวโน้มที่มีการสะสมราคาก่อนมีการกลับตัว

ในความเป็นจริงเราไม่สามารถรับรู้สัญญาณของราคาที่หลุดแนวรับ/แนวต้านของเส้นแนวโน้มได้ทันเวลา แต่เราอาจจะเห็นแนวโน้มจากการทำมุมเอียงขึ้นหรือมุมลาดลงของเส้นแนวโน้ม และเนื่องจากแนวโน้มที่มีมุมชันจะไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่นัก ดังนั้นเส้นแนวโน้มจึงมีโอกาสที่จะเป็นแนวโน้มเดิมมากกว่าการกลับตัว

เราอาจคาดคะเนแนวโน้มด้วยการประเมินสุขภาพโครงสร้างทางเทคนิคในภาพรวมของตลาด นอกจากนี้การแทรกเส้นแนวโน้มอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาหรือก่อนการกลับตัวของรูปแบบราคาจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์

ถ้ารูปแบบราคา  peaks and troughs กำลังเอียงขึ้นพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รูปแบบนี้จะเป็นสัญญาณล่วงหน้าว่าราคากำลังจะหมดแรงวิ่ง  (เนื่องจากปริมาณซื้อขายไม่สอดคล้องกับแนวโน้ม) ในสถานการณ์เช่นนี้ ราคาที่หลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มอาจมีความสำคัญมากกว่าจะสนใจว่าปริมาณการซื้อขายที่ยังคงเพิ่มขึ้นตามราคาอย่างต่อเนื่องหรือไม่และไม่จำเป็นที่แนวโน้มขาลงต้องมีปริมาณการซื้อขายสูง แต่ราคาที่หลุดแนวรับเป็นการเพิ่มสัญญาณการปรับตัวลงของตลาดเพราะมีการเปลี่ยนอุปสงค์/อุปทานของผู้ขายอย่างชัดเจน

[ตอนที่ 8] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

การนำหลักการของปริมาณการซื้อขายไปใช้กับรูปแบบราคา

(Volume Principles as They Apply to Price)

รูปแบบราคา (Patterns)

นักวิเคราะห์กราฟเชิงเทคนิคต่างใช้การพล๊อตกราฟของหลักทรัพย์แต่ละตัว โดยใช้ราคาหรือไม่ก็ค่าความแปรปรวนทางสถิติ   แต่ในบทนี้เราจะใช้ปริมาณการซื้อขายซึ่งเป็นไดนามิกใหม่สำหรับการตีความในเรื่องของจิตวิทยาฝูงชน ดังนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มของปริมาณการซื้อขาย (Volume Analysis) จะช่วยให้เราเข้าใจถึงวิธีการและเหตุผลในการทำงานของรูปแบบราคาได้ดียิ่งขึ้น   จากผลการศึกษาลักษณะของปริมาณการซื้อขาย ได้ให้ละเอียดเชิงลึกแก่เรามากขึ้นเกี่ยวกับการใช้น้ำหนักของพยานหลักฐานที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ปริมาณการซื้อขายไม่เพียงเป็นตัววัดความกระตือรือร้นของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเท่านั้น แต่มันเป็นตัวแปรที่ไม่ขึ้นอยู่กับราคาแม้แต่น้อย ในบทนี้เราจะกล่าวถึงหลักการทั่วไปบางอย่างในการตีความเกี่ยวกับปริมาณการซื้อขาย แต่นี่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะผมยังมีรายละเอียดของรูปแบบราคาแต่ละแบบที่จะพูดถึงมากกว่านั้น

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาปริมาณการซื้อขาย

การศึกษาในเรื่องของปริมาณการซื้อขายจะทำให้ได้รับประโยชน์หลักๆ อยู่ 3 ประการ :

1. ในเวลาที่มีการเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบราคาและรูปแบบปริมาณการซื้อขาย สิ่งสำคัญคือการดูว่ามันมีความสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้ามีก็แสดงว่ามันมีอาจช่วยสนับสนุนทิศทางการขยายตัวของแนวโน้ม

2. ถ้าราคาและปริมาณการซื้อขายไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่าเส้นแนวโน้มพื้นฐานยังไม่แข็งแกร่งเหมือนอย่างที่เห็น และถ้ามีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของรูปแบบราคาที่ไม่สอดสอดคล้องกันแล้ว ก็ยิ่งเป็นการเตือนว่าสัญญาณที่ได้มานั้นไม่ถูกต้อง

3. ในบางครั้ง พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาอาจเป็นการส่งสัญญาณอ่อนๆ ว่าแนวโน้มใกล้จะมีการกลับตัวแล้ว แต่ปริมาณการซื้อขายนั้นกลับมีลักษณะยืดตัวสูงขึ้น ในกรณีเช่นนี้เราจะไม่สามารถใช้การศึกษาปริมาณการซื้อขายที่ถูกผูกไว้กับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคามาเป็นสัญญาณเตือนหรือบ่งบอกถึงโอกาสได้อย่างชัดเจน  

หลักการตีความเกี่ยวกับปริมาณการซื้อขาย (Principles of Volume Interpretation)

1. หลักการแรกและสำคัญที่สุดคือปริมาณการซื้อขายมักจะมีทิศทางเดียวกับแนวโน้ม และโดยปกติจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดขาขึ้นและหดตัวลงในตลาดขาลง (ดูรูปที่ 5.1) ในแง่นี้ ปริมาณการซื้อขายมักถูกตีความให้มีความสัมพันธ์กับอดีตที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน เท่านั้นเพราะมันไม่ให้ประโยชน์อะไร ถ้าเราจะเปรียบเทียบตลาด NYSE ในช่วงศตวรรษที่ 21 ที่มีหุ้นในตลาดมากกว่า 1 พันล้านหุ้น/วัน กับช่วงต้นของศตวรรษที่ยี่สิบที่มีหุ้นในตลาดเพียง 5 หรือ 6 ล้านหุ้น/วันและการเปรียบเทียบที่ว่านี่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของสถาบัน ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตวิทยา  เพราะปัจจุบันเรามีปริมาณการซื้อขายที่สูงกว่าจากการมีบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น, การออกอนุพันธ์, ค่าคอมมิชชั่นที่ถูกลง และอื่นๆ ดังนั้นมันจะดูจะสมเหตุสมผลขึ้นถ้าจะเปรียบเทียบตลาดหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขาย 3 พันล้านหุ้น/วันในสัปดาห์นี้ เมื่อเทียบกับ 1.5 พันล้านหุ้น/วันของเมื่อเดือนก่อน เพราะมันพูดถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สำคัญในช่วงเวลาที่สถาบันไม่มีการเปลี่ยนแปลง

รูปที่ 5-1 ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นพร้อมกับแนวโน้มราคา

เราทราบว่าเมื่อราคาที่เคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มไม่ได้เป็นเส้นตรงโดยตลอด แต่มันจะเป็นเส้นซิกแซกขึ้นลง ซึ่งเหมือนกันกับแนวโน้มปริมาณการซื้อขาย ในตัวอย่าง  รูปที่ 5.2 ทางด้านซ้ายลูกศรบอกทิศทางการเคลื่อนไหวของของแนวโน้มปริมาณการซื้อขายที่กำลังเพิ่มขึ้น และเห็นได้ชัดว่าระดับของปริมาณการซื้อขายไม่ได้เพิ่มอยู่ตลอดเวลา  แต่มีทั้งช่วงที่ปริมาณซื้อขายหดหายและที่ปริมาณซื้อขายคึกคักโดยที่ส่วนใหญ่จะเป็นการดีดตัวขึ้น ส่วนด้านขวามือของภาพจะเห็นแนวโน้มที่ลดลงในปริมาณการซื้อขาย ซึ่งจะเห็นว่ามันเคลื่อนไหวอย่างไม่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามเมื่อเราพูดถึงปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเราก็มักจะหมายถึงแนวโน้มของมัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่แนวโน้มดังกล่าวจะถูกรบกวนจากความคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่มีอยู่ ทั้งนี้ แนวโน้มปริมาณการซื้อขายก็เหมือนแนวโน้มราคาที่สามารถแสดงเป็นปริมาณระหว่างวัน, ช่วงเวลาระยะสั้น, ช่วงเวลาปานกลาง และช่วงเวลาระยะยาว ขึ้นอยู่กับลักษณะของกราฟ

รูปที่ 5-2 การเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อขายในแนวโน้ม

2. ความเป็นจริงที่เกี่ยวระดับของปริมาณการซื้อขายคือ จำนวนเงินที่ไหลเข้าไปในหลักทรัพย์จะเท่ากับจำนวนเงินที่ไหลออก  ดังนั้น จึงเป็นระดับความกระตือรือร้นของผู้ซื้อหรือผู้ขายที่เป็นผู้กำหนดแนวทางของราคา  หากผู้ซื้ออยู่ในแนวโน้มขาขึ้น พวกเขาตะลุยเพิ่มราคาเสนอซื้อของพวกเขาจนกว่าจะได้หลักทรัพย์ครบตามที่ต้องการ ในขณะที่ถ้าหากผู้ขายมีการตอบสนองต่อข่าวร้าย ก็จะเกิดการตื่นตระหนกและเทขายหลักทรัพย์ในที่ราคาต่ำลงอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามปริมาณการซื้อจะเท่ากับปริมาณการขายทุกครั้ง

3. ปริมาณการซื้อขายและราคาที่เพิ่มขึ้นไปพร้อมกันถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นบ่งชี้ว่าตลาดกำลังขับเคลื่อนตามปกติ  สถานการณ์ทั่วไปจะไม่มีค่าพยากรณ์ใดๆ ยกเว้นว่ามันมีแนวโน้มจะเกิดสัญญาณขัดแย้งแบบ negative divergence  ระหว่างราคาและปริมาณการซื้อขายที่กำลังจะมาถึง

4. โดยปกติแล้วในตลาดกระทิง (bull market) จะมีปริมาณการซื้อขายเป็นตัวผลักดันราคาให้สูงขึ้น ถ้าราคา new high ไม่มีปริมาณการซื้อขายมารองรับ จะถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนว่าอาจมีการกลับตัวของแนวโน้ม ในรูปที่ 5.3 จุดราคาสูงสุดอยู่ที่จุด C แต่ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยสูงสุด อยู่ที่จุด  A พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องปกติและยอดสูงสุดของปริมาณซื้อขายที่ลดลงเป็นการเตือนว่า พื้นฐานราคามีความอ่อนแอในเชิงเทคนิค

น่าเสียดาย ที่ไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องมีจำนวน divergences เท่าไหร่ก่อนถึงจุดสูงสุด แต่โดยทั่วไปยิ่งมี negative divergences จำนวนมาก พื้นฐานเชิงเทคนิคก็ยิ่งอ่อนแอ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อแรงซื้อหดหาย หรือมีแรงเทขายหนาแน่น จุดสูงสุดแต่ละยอดจะลดต่ำลง ความกระตือรือร้นยิ่งมีน้อยลง และจุดซื้อขายทางเทคนิคจะยิ่งเปราะบาง ( vulnerable) มากขึ้น ราคา New high ที่ไม่มีปริมาณซื้อขายมารองรับเป็นลักษณะของตลาดขาลง เนื่องจากราคา new high ไม่มีโมเมนตัมขาขึ้นที่แท้จริง

รูปที่ 5-3 ปริมาณการซื้อขายที่นำราคาในแนวโน้มขาขึ้น

[ตอนที่ 9] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

จากตัวอย่างใน Chart 5-1 ของ Mexico Fund คุณจะเห็นว่าปริมาณการซื้อขายค่อยๆ หดตัวลง เมื่อราคาไต่ระดับขึ้นไปจนในที่สุดลักษณะลบทางเทคนิคนี้ก็ถูกยืนยัน เมื่อราคาหลุดจากแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้น ในช่วงมีนาคม/พฤษภาคม

Chart 5-1 ราคารายวันของ Mexico Fund ระหว่างปี 1995-1996

5. ราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในขณะที่ปริมาณการซื้อขายมีแนวโน้มลดลง (รูปที่ 5-4) เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะมันแสดงถึงแนวโน้มที่อ่อนแรงและไม่น่าไว้ใจอันเป็นลักษณะของตลาดหมี ถ้าพบกราฟที่มีลักษณะเช่นนี้ ก็แสดงว่าเราพบหลักฐานชิ้นหนึ่งที่บ่งชี้ว่านี่เป็นตลาดขาลงหรือตลาดหมีแล้วแน่นอน นอกจานี้ปริมาณการซื้อขายยังช่วยชี้วัดความกระตือรือร้นของผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อปริมาณการซื้อขายหดตัวแต่ราคากลับเพิ่มขึ้น ลักษณะแบบนี้ย่อมมาจากผู้ขายยังไม่อยากขาย แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ในที่สุดแนวโน้มก็จะไปถึงราคาที่ผู้ขายอยากจะขาย หลังจากนั้นราคาจะถูกลากขึ้นไปในขณะที่อยู่ในเส้นแนวโน้มขาลง เห็นได้จากปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่ราคาเริ่มลดลง

รูปแบบนี้จะแสดงในรูปที่ 5-5 ซึ่งคุณจะเห็นว่าปริมาณการซื้อขายเริ่มสูงขึ้นในขณะที่ราคาเริ่มลดลง  ในสถานการณ์เช่นนี้มันไม่จำเป็นต้องมีปริมาณซื้อขายสูงตลอดเส้นที่เป็นขาลงอย่างในกราฟ แค่กราฟแท่งของปริมาณซื้อขายสูงขึ้นอีกสักสองสามแท่งหลังจากราคาผ่านจุดสูงสุดก็พอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนี่ยังถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ปกติมาก

รูปที่ 5-4 ราคาที่สูงขึ้นในขณะที่ปริมาณซื้อขายลดลงในภาวะตลาดขาลง

รูปที่ 5-5 ราคาที่ลดลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นในภาวะตลาดขาลง

รูปที่ 5-6 เราจะเห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อขายระหว่างตลาดกระทิงและตลาดหมี ส่วน Chart 5-2 เป็นกราฟของ Coors ที่แสดงการไล่ราคารอบสุดท้ายพร้อมกับแนวโน้มการลดลงของปริมาณการซื้อขาย เมื่อราคาหลุดแนวรับด้านล่างของเส้นแนวโน้ม ปริมาณซื้อขายก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในกรณีนี้เราได้กำหนดปริมาณการซื้อขายของตลาดหมีอยู่ค่าหนึ่งที่จะมีค่าอื่นๆ ตามมาในทันที  Chart  5-3 สำหรับ Radio Shack แสดงการไล่ราคาหลายครั้งในตลาดหมีที่ราคามีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในขณะที่ปริมาณการซื้อขายลดลง

รูปที่ 5-6 ลักษณะปริมาณการซื้อขายที่มีการเปลี่ยนแปลงในตลาดกระทิงและตลาดหมี

Chart 5-2 ราคารายวันของ Coors ในระหว่างปี 2000-2001

Chart 5-3 ราคารายวันของ Radio Shack ในระหว่างปี 2000-2001

6. บางครั้งทั้งราคาและปริมาณการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และเป็นการเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ที่จะมีระยะการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตอนท้ายแบบเอ็กโพเนนเชียลหลังจากการแนวโน้มนี้จบลงทั้งปริมาณการซื้อขายและราคาก็จะปรับตัวลงอย่างแรงพร้อมกัน การเคลื่อนไหวแบบนี้เรียกว่า  exhaustion  move  และเป็นลักษณะของการกลับตัวของแนวโน้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีแรงหนุนจากรูปแบบราคาสักหนึ่งหรือสองแท่ง (จะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป) ความสำคัญของการกลับตัวของแนวโน้มขึ้นอยู่กับขนาดการเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้และระดับการเพิ่มปริมาณการซื้อขาย เห็นได้ชัดว่า  exhaustion  move  ที่ใช้เวลา 4-6 วันในการพัฒนาจะไม่มีความสำคัญเท่ากับ exhaustion  move  ที่ใช้เวลาเป็นสัปดาห์  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า parabolic blow-off และมีลักษณะดังในรูปที่ 5-7 แต่น่าเสียดายที่ exhaustion  move  หรือ blow-off ทั่วไปไม่ได้แยกแยะออกได้ง่ายและชัดเจนอย่างนี้ (ใช่เรื่องง่ายที่จะกำหนดเส้นแนวโน้มหรือรูปแบบราคาให้ชัดเจน)  ดังนั้นเราถึงไม่สามารถระบุระยุสิ้นสุดแนวโน้มได้จนกว่าจะถึงช่วงเวลาหรือหลังจากที่ปริมาณการซื้อขายและราคาได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุดแล้ว

รูปที่ 5-7 Volume and a parabolic blow-off

[ตอนที่ 10] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

ราคาหุ้นรายวันของ Newmont Mining ใน Chart 5-4 เป็นตัวอย่างคลาสสิกของการเพิ่มขึ้นแบบเอ็กโพเนนเชียลของทั้งปริมาณการซื้อขายและราคา ในช่วงปลายเดือนกันยายน 1987 ที่ตรงปลายสุดจะร่วงลงอย่างรวดเร็ว เป็นการกลับตัวของแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด

7. Selling climax จะตรงกันข้ามกับ parabolic blow-off  โดยที่มันจะเกิดขึ้นเมื่อราคาร่วงลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะเวลายาวนานพร้อมกับมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น  และเมื่อผ่านจุดวิกฤติการขาย selling climax ไปแล้ว ราคาก็จะเพิ่มขึ้นแต่จะมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง  โดยที่ราคาต่ำสุด ณ เวลาที่เกิด selling climax นั้นจะไม่เหมือนกับราคาที่หลุดแนวรับที่มีระยะเวลานานกว่า ดังนั้น สิ่งที่สำคัญมากคือคุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมื่อปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดแล้วมันจะต้องมีการไต่ระดับของราคาตามมาทันที ดังที่แสดงไว้รูปที่ 5-8  บ่อยครั้งที่จุดสิ้นสุดของตลาดหมีมักเกิดขึ้นพร้อมกับ selling climax แต่ก็ไม่ถึงกับต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป และพึงทราบว่า  selling climax ในหลายกรณี จะพบว่าหลังจากที่ราคาไต่ระดับขึ้นไปแล้วมันก็จะร่วงลงสู่จุดต่ำสุดใหม่ new low

ใน Chart 5-5 เป็นราคาของ Dresser Industries ที่เราจะเห็นว่าในช่วงปลายฤดูร้อน  selling climax  จะมีการไล่ราคาขึ้นในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม selling climax  ในตัวอย่างนี้ยังไม่ใช่จุดต่ำสุดสุดท้าย และเมื่อไล่ราคาไปจนถึงจุดสูงสุด จะเห็นว่าราคาเพิ่มแต่ปริมาณการซื้อขายลดลงซึ่งเป็นลักษณะปกติของตลาดหมี

8. เมื่อราคาพุ่งขึ้นหลังจากที่เป็นขาลงมาเป็นเวลานานแล้วค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นทีละน้อยจากนั้นก็กลับตัวลงมาอีกครั้งโดยมีจุดต่ำสุดครั้งที่สองเท่ากับหรือต่ำกว่าระดับต่ำสุดก่อนหน้าเล็กน้อยจะถือว่าเป็นสัญญาณชองตลาดกระทิงหรือขาขึ้น และถ้าปริมาณซื้อขายของจุดต่ำสุดครั้งที่สองต่ำกว่าปริมาณซื้อขายเดิมมาก  ก็จะมีคำพูดเก่าๆ ของ Wall Street  ว่า "Never short a dull market" ที่นิยมใช้กันมากกับสถานการณ์นี้ เพราะระดับต่ำสุดก่อนหน้านี้จะถูกทดสอบด้วยปริมาณการซื้อขายที่ต่ำมาก บ่งบอกว่าไม่มีอุปทานของหุ้นโดยสมบูรณ์ (ดูรูปที่ 5-9)

9. การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside จากรูปแบบราคา, เส้นแนวโน้ม หรือค่าเฉลี่ย (MA) ที่มีปริมาณการซื้อขายหนาแน่นเป็นลักษณะที่ผิดปกติและเป็นสัญญาณตลาดขาลงที่ยืนยันการกลับตัวของแนวโน้ม (รูปที่ 5-10) เมื่อราคาลดลงมันก็มักมาจากไม่มีแรงซื้อ ดังนั้นปริมาณการซื้อขายก็จะหดตัวลงตามปกติและไม่ได้ให้ข้อมูลแก่เรามากนัก อย่างไรก็ตามกรณีที่ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นที่แนวโน้มราคาขาลง ก็เป็นเพราะผู้ขายมีแรงจูงใจในการขายมากขึ้น และถ้าปัจจัยอื่นๆ คงที่มันก็มีโอกาสที่เส้นแนวโน้มจะมีการกลับตัว

10. เมื่อราคาเพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายเดือน การไล่ราคาขึ้นอ่อนแรงลง (รูปที่ 5-11) ร่วมกับก็มีปริมาณซื้อขายสูง บ่งชี้ว่านักลงทุนมีพฤติกรรมซื้อๆ ขายๆ บ่อยครั้งที่เรียกว่า churning และเป็นปัจจัยของตลาดขาลง

11. หลังจากที่ราคาลดลงแล้ว ตามมาด้วยปริมาณการซื้อขายหนาแน่นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงราคาเล็กน้อยบ่งชี้ว่านี่เป็นระยะการสะสมหุ้น (accumulation phase) และเป็นสัญญาณปกติของการกลับตัวของแนวโน้มเพื่อเป็นตลาดขาขึ้น (รูปที่ 5-12)

[ตอนที่ 11] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

12. จากสถิติที่ผ่านมา ปริมาณการซื้อขายต่ำสุดส่วนใหญ่มักเป็นสัญญาณที่น่าเชื่อถือว่าตลาดถึงจุดต่ำสุดแล้ว เพราะมันบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงจิตวิทยาพื้นฐาน  การกลับตัวที่เกิดจากความรู้สึกมักเป็นแนวโน้มหลักที่สำคัญเสมอ  โดยตัวอย่างจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนาขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 1978, สิงหาคม ปี 1982 และ 1984 และตุลาคม ปี 1998 แล้วยังปี 1987 ที่ตลาดพันธบัตรและยูโรดอลลาร์ที่ร่วงถึงจุดต่ำสุด แต่นี่ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ถูกต้องเสมอไป (Infallible Indicator) อย่างสถิติที่เกิดขึ้นกับปริมาณการซื้อขายทั้งในตลาด NYSE และ Nasdaq ในเดือนมกราคม ปี 2011 และไม่ใช่ระดับต่ำสุดครั้งสุดท้ายจริงๆ

13. เมื่อปริมาณการซื้อขายและราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มี parabolic blow-off สั้นๆ จากนั้นก็ค่อยๆ หดตัวลดลง มักบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม ซึ่งในบางครั้งมันจะเป็นจุดกลับตัวที่แท้จริง หรือระยะรวบรวมกําลัง (Consolidation phase) ปรากฏการณ์นี้เป็นลักษณะดังรูปที่ 5-13 ซึ่งแสดงถึงการกระโดดขึ้นชั่วคราว (exhaustion move)ของกำลังซื้อ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นกราฟแท่งของราคาหนึ่งหรือสองแท่งซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป

14. เมื่อกราฟราคามีลักษณะเป็นรูปจานคว่ำและกราฟปริมาณเป็นรูปจานหงายขนาดเล็กถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ไม่ผิดปกติแบบทวีคูณ เนื่องจากราคาเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายลดลงจนถึงคงจุดสูงสุดของราคา  จากนั้นปริมาณการซื้อขายจะกลับมาเพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่ผิดปกติและเป็นตลาดขาลง ตัวอย่างสถานการณ์นี้แสดงไว้ในรูปที่ 5 -14 นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Microsoft  ใน Chart 5-6 โปรดสังเกตว่า n   เป็นลักษณะพฤติกรรมของราคาในขณะที่  V ที่ถูกวงเอาไว้เป็นปริมาณการซื้อขาย 

 

ในความเป็นจริง ลักษณะของปริมาณการซื้อขายไม่มีตัวชี้วัดทางเทคนิคใดที่รับประกันว่ามันจะใช้งานได้เสมอไป  อย่างไรก็ตามเมื่อปริมาณการซื้อขายถูกนำมาใช้ร่วมกับลักษณะของราคาเพื่อหาความหมายหรือสัญญาณ ก็ถือว่ามันได้ช่วยสนับสนุนความน่าเป็นในรูปแบบราคาที่เจาะจงได้ และเมื่อเราพูดถึงรูปแบบราคาที่เจาะจงแล้ว หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับปริมาณการซื้อขายที่อธิบายไว้ในที่นี้จะถูกนำไปขยายต่อเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละกรณี

สรุป

• ประมาณการซื้อขายเป็นอิสระจากตัวแปรราคาอย่างสิ้นเชิง

• ปริมาณการซื้อขายที่มีลักษณะไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งถ้ามีลักษณะนี้ปรากฏ พวกเขาก็จะมีค่าพยากรณ์เพียงเล็กน้อย

• เมื่อไหร่ก็ตามที่แนวโน้มของปริมาณการซื้อขายมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาแล้ว ถือว่าเป็นกรณีผิดปกติและเป็นสัญญาณเตือนการกลับตัวของแนวโน้มหรือบ่งบอกความสำคัญของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มใดๆ

• ปรากฏการณ์ที่แนวโน้มของปริมาณการซื้อขายมีลักษณะของการกระโดดขึ้นชั่วคราวหรือ exhaustionจะถูกเรียกว่า parabolic blow-offs ณ ที่ราคาสูงสุด และเรียกว่า selling climaxes ณ ที่ราคาต่ำสุด

[ตอนที่ 12] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

6. การใช้รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนกราฟ, กรณีศึกษาสำหรับรูปแบบราคาทุกประเภท (Using Rectangles, a Case Study for All Patterns)

ในบทนี้จะอธิบายถึงหลักการพื้นฐานของการตีความรูปแบบราคา (price pattern) ที่สามารถนำไปใช้ร่วมกับการฟอร์มตัวของรูปแบบราคาอื่นได้เป็นส่วนใหญ่ โดยในบทนี้เราได้เลือกรูปแบบราคาประเภทรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า rectangle มาใช้เป็นตัวอย่าง ส่วนรูปแบบอื่นเราค่อยไปดูรายละเอียดในบทต่อไป เอาล่ะ ที่นี่เราจะมาดูในรายละเอียดกัน

แนวคิดพื้นฐาน

แนวโน้มราคาไม่ได้มีลักษณะการกลับตัวแบบระยะสั้นๆ ใช้พื้นที่ขนาดเล็กหรือ reverse on a dime เสมอไป แต่จะมีลักษณะเป็นการขึ้นแล้วก็ลง หรือเป็นแนวโน้มขาขึ้นแล้วกลับเป็นแนวโน้มขาลงซึ่งมักแยกออกได้ด้วย  transition period หรือ trading range ที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะได้รับการจับคู่กันอย่างเท่าเทียม

จากแนวโน้มราคาทั้ง 2 แบบ ตามรูปที่ 6-1 และ 6-2 โดยรูปที่ 6-1 เป็นวัฏจักรแนวโน้มทั่วๆ ไปซึ่งประกอบด้วยแนวโน้มหลักอยู่สามแบบ คือแนวโน้มขาขึ้น uptrend, แนวโน้มไปทางด้านข้าง sideway และแนวโน้มขาลง downtrend แล้วยังมีแนวโน้มที่พัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 2 แบบ คือ horizontal trading range และ renewed uptrend  ส่วนรูปที่ 6-2 เป็นแนวโน้มที่มีอารมณ์ของตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องในระดับสูงซึ่งจะไม่มีการส่งสัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนแปลงใดล่วงหน้า นี่เป็นข้อยกเว้น เนื่องจากแนวโน้มส่วนใหญ่จะถูกแยกด้วยรูปแบบของ trading range และการกลับตัวของแนวโน้มในตลาดการเงินก็เหมือนกับเรือบรรทุกน้ำมันที่ต้องใช้เวลานานในการชะลอตัวก่อนจะหันเรือกลับได้ ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งเป็นแนวโน้มในระยะยาวขึ้นก็ยิ่งใช้เวลาในการกลับตัวมากขึ้น (วกกลับ)  

รูปที่ 6-1 การกลับตัวแบบ Top-and-bottom

รูปที่ 6-2 การกลับตัวแบบ Reversal on a dime.

ช่วงระยะ transitional หรือ horizontal มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นการแยกระหว่างแนวโน้มที่กำลังขึ้น/ลง (หรือในทางกลับกัน) หากราคาสูงขึ้น ความกระตือรือร้นของผู้ซื้อจะให้น้ำหนักมากกว่ากับการมองโลกในแง่ร้ายของผู้ขายที่ขึ้นราคามาจนถึงจุดนี้และผู้ซื้อก็จะเสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้น  ในระหว่าง ช่วงระยะ transitional จะมีการต่อสู้ระหว่างการมองโลกในแง่ดีกับแง่ร้ายพอประมาณ จนกระทั่งในตอนสุดท้าย แนวโน้มก็จะเอียงไปในทิศทางใหม่เมื่อมีน้ำหนักจากแรงเทขายกดให้แนวโน้ม (ราคา) ลดลงจนทะลุแนวรับไปยัง  new low  ของพื้นฐาน transitional ใหม่ เป็นการเตือนนักลงทุนว่าการกลับตัวของแนวโน้มได้เกิดขึ้นแล้ว หรือกล่าวได้ว่า เมื่อราคาตกลงมาต่ำกว่ากรอบด้านล่างของ trading range ก็จะเกิดสัญญาณขาย และกระบวนการกลับตัวก็จะเกิดขึ้น ณ จุดสิ้นสุดแนวโน้มของตลาดหมี 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์เชิงเทคนิคสังเกตว่าพฤติกรรมของ trading range ที่ทั้งจุดสูงสุดและต่ำสุดเกิดขึ้นในรูปแบบราคาหรือการฟอร์มตัวของราคาที่แน่นอนได้อย่างชัดเจน

 Transitional  ของจุดกลับตัว (Turning Point)

รูปที่ 6-3 แสดงพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาที่ปลายแนวโน้มขาขึ้นอันยาวนาน  แม้ว่าจะปรากฏขึ้นเฉพาะหลังจากที่ราคาเริ่มผันผวนไปทาง sideway ก็ตาม แต่ทันทีที่ราคาขึ้นไปอยู่เหนือเส้น B ก็จะถือว่ามันอยู่ในเขต transitional แล้ว

รูปที่ 6-3 การกลับตัวใน Trading range

เมื่อเส้นราคาตกไปอยู่ใน trading range  มันก็จะไต่ระดับขึ้นไปจนถึงเส้น A (เรายังบอกไม่ได้ว่ามันเป็นแนวต้านในตอนแรก) เมื่อเส้นราคาได้ตกลงมาแล้วกลับขึ้นไปใหม่จนถึงระดับที่ A ซึ่งเป็นระดับสูงสุดก่อนหน้านั้นอีกครั้ง นี่ถือว่าเป็นหลักฐานยืนยันว่าระดับของเส้น  A นี้แหละเป็นแนวต้าน จากนั้นเราก็สามารถลากเส้นแนวโน้มตามขวางให้เป็นแนวต้านได้ และเช่นเดียวกันเราก็สามารถลากเส้นแนวรับด้วยวิธีการเดียวกันนี้ที่ระดับของ B  ถ้าเราพบว่าเส้นราคาตกลงมาสู่ระดับ B เป็นครั้งที่สองก่อนที่จะไต่ขึ้นไปใหม่ ซึ่งเราจะได้เส้นแนวโน้มตามขวางที่เป็นแนวรับ ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ / อุปทานจะเข้าสู่ความสมดุลที่ผู้ขายได้ประโยชน์ในทุกครั้งที่ราคาแตะที่เส้น A  และการกลับตัวของราคาชั่วคราวนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากทั้งผู้ซื้อไม่อยากซื้อที่ราคานี้ หรือผู้ขายไม่อยากขายที่ราคานี้เพราะอยากขายที่ราคาสูงกว่า หรือจะเพราะเหตุผลทั้งสองอย่างก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

[ตอนที่ 13] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

เช่นเดียวกับระดับราคาที่ A ราคาที่แนวรับ B ก็ทำการกลับสมดุลที่ผู้ซื้อได้ประโยชน์อีกครั้ง สำหรับที่เส้น B แนวโน้มก็จะมีทิศทางเป็นขาขึ้น ราคาจะค่อนข้างดึงดูดใจผู้ซื้อที่ตกรถเมื่อตอนขาขึ้นรอบก่อน ในขณะเดียวกันผู้ขายก็รู้สึกว่าราคาจะกลับมาขึ้นไปที่เส้น A ได้อีกครั้ง ในชั่วขณะที่มีการวัดใจกันระหว่างทั้งสองฝ่ายภายในกรอบราคาระหว่างเส้น A และ B  และในที่สุดราคาร่วงลงต่ำกว่าเส้น B แล้วสัญญาณแนวโน้มใหม่ (ขาลง) ก็ปรากฏขึ้น

การต่อสู้กันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเหมือนทำสงครามสนามเพลาะที่มีการประจันหน้ากันในพื้นที่เปิดโล่ง (Trench Warfare) ตัวอย่างในรูปที่ 6-4 กองทัพ A และ B จะเผชิญหน้าต่อสู้กัน เส้น  AA เป็นเส้นแนวป้องกันของ A  เหมือนกับที่เส้น BB ก็เป็นเส้นแนวป้องกันของ B สำหรับลูกศรระหว่างเส้นทั้งสอง แสดงให้เห็นการผลัดกันจู่โจมฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ยังไม่สามารถฝ่าแนวเส้นป้องกันของอีกฝ่ายได้สักที  ในตัวอย่าง B ที่ตอนสุดท้ายกองทัพ B ก็สามารถฝ่าแนวป้องกันของ A ได้ กองทัพ A จึงถูกบังคับให้ถอยร่นและไปยันอยู่ที่เส้นป้องกันที่สอง  (เส้น A2) ซึ่งในโลกของตลาดหุ้น เส้น A1 ถือว่าเป็นแนวต้านแรก เมื่อมันไม่สามารถต้านได้แล้ว จึงต้องมีการปรับสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ซื้อโดยราคาจะเพิ่มขี้นอย่างรวดเร็วจนกว่าจะเจอแนวต้านใหม่ ดังนั้น แนวป้องกันเส้นที่สองหรือเส้น A 2 ก็คือแนวต้านของราคาที่อยู่สูงขึ้นไปนั่นเอง

รูปที่ 6-4 สงครามสนามเพลาะ   

กองทัพ B อาจฝ่าแนวต้าน A2 ได้โดยง่าย แต่แนวต้านถัดไปนั้นยิ่งไกลออกไปอีกจนไม่มีเวลารวบรวมกำลังพล ยิ่งห่างก็ยิ่งยืดเยื้อและมีโอกาสถูกตีโต้กลับมาอย่างรุนแรงเมื่อไปถึงแนวป้องกันนั้น  ดังนั้นในบางครั้งมันจึงดูเข้าท่ากว่าถ้าจะรอและรวบรวมกำลังพลก่อน

ในกรณีที่ราคาในตลาดการเงินเพิ่มขึ้นมากเกินไปโดยไม่มีเวลาไตร่ตรองว่าใครได้ผลประโยชน์ คุณก็มีโอกาสที่จะเจอกับการกลับตัวของราคาอย่างรุนแรงอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว  นี่เป็นคือการประยุกต์ใช้กฎข้อที่สองที่ว่าด้วยการระบุความสำคัญของระดับแนวรับ/แนวต้านที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ 3

แนะนำ Reversal Rectangle และเงื่อนไขทางจิตวิทยาที่สนับสนุนการฟอร์มรูปแบบราคาของมัน

Trading range ที่แยกแนวโน้มราคาขาขึ้นและขาลงออกจากกัน ซึ่งเราจะพูดถึงในบทนี้เป็นรูปแบบราคาที่เรียกว่ารูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า Rectangle  ซึ่ง ในรูปที่ 6-5 เป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ระบุจุดกลับตัว (turning point) ระหว่างระยะตลาดกระทิงและตลาดหมี ที่เรียกว่ารูปแบบการกลับตัวซึ่งสัญญาณกลับตัวจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้มตามขวางที่เป็นแนวรับไปได้อย่างสมบูรณ์

รูปแบบการกลับตัวที่จุดสูงสุดของตลาดเรียกว่ารูปแบบการแจกจ่าย ( Distribution) เพราะเป็น “การแจกจ่ายหุ้น” จากนักลงทุนที่แข็งแกร่งและมีข้อมูลของหลักทรัพย์ไปสู่นักลงทุนที่อ่อนแอและไม่มีข้อมูลดังกล่าว ในเชิงจิตวิทยาก็คือในระหว่างการฟอร์มตัวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข่าวสารต่างๆ ที่ปล่อยออกมาจะมีแต่ข่าวดี พอนักลงทุนที่ไม่มีข้อมูลได้ยินข่าวเป็นครั้งแรกก็จะแห่กันเข้าซื้อ ในช่วงเวลานี้ การคาดการณ์ต่างจะดูสวยงามไปหมดและมีการรับรู้ความเสี่ยงจากด้านซื้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  แต่ถึงอย่างไรทุกธุรกรรมต้องมีครบทั้งสองฝ่ายคือผู้ซื้อและผู้ขาย สำหรับส่วนของผู้ขายหรือผู้จัดจำหน่ายนั้นมีการซื้ออย่างระมัดระวังบนแนวโน้มขาขึ้นตามที่คาดการณ์ว่าจะมีข่าวดีเอาไว้ก่อนแล้ว จนกระทั่งถึงเวลาขายเมื่อข่าวดีเริ่มมีความชัดเจน แน่นอน คงไม่มีใครที่จะเป็นผู้ซื้อได้ดีไปกว่านักลงทุนที่ไม่มีข้อมูลและได้ยินข่าวดีพวกนี้เป็นครั้งแรกหรอก!  พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการแสดงออกที่รู้จักกันดีว่าเป็นการ "ซื้อหุ้นตามข่าวลือ  ขายหุ้นเมือมีข่าวจริงปรากฏ" หรือ buy on the rumor,  sell on the fact นั่นเอง

[ตอนที่ 14] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

รูปที่ 6-5 สัญญาณการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ  Downside

รูปแบบราคา จะรวมถึงรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่พัฒนาขึ้นที่จุดต่ำสุดของตลาดเรียกว่าเป็นรูปแบบการสะสม accumulation pattern (ที่ซึ่งหุ้นจะเปลี่ยนมือจากนักลงทุนที่ไม่มีข้อมูลวงใน (อ่อนแอ) ไปอยู่ที่นักลงทุนที่มีข้อมูล (แข็งแกร่ง) ดูรูปที่ 6-6) ในเชิงจิตวิทยาพื้นฐาน สถานการณ์นี้จะสลับกับกับอธิบายเอาไว้ก่อนหน้านี้ นั่นคือ เมื่อผู้ขายเห็นราคาหลักทรัพย์ของตัวเองร่วงลงเรื่อยๆ ก็จะตัดสินใจขายเมื่อมีข่าวร้ายและการคาดเดาว่าจะมีข่าวร้ายตามมาอีกมากมาย ในทำนองเดียวกันผู้ที่จะซื้อก็อยากรอให้ข่าวร้ายพ้นไปก่อน การเกิดขึ้นของรายงานที่มีแต่ข่าวร้ายเป็นสัญญาณหนึ่งที่ทำให้ผู้ซื้อที่แข็งแกร่ง (มีข้อมูลครบถ้วน) รออยู่ นอกจากนี้มัน ยังเป็นสัญญาณว่าราคาอาจกำลังจะดีขึ้นในอนาคต   กระบวนการนี้เรียกว่าระยะการสะสมหุ้น (accumulation)   เพราะผู้ซื้อที่มีข้อมูลวงในกำลังสะสมหุ้นจากการคาดการณ์ว่าจะดีขึ้นล่วงหน้า พูดได้ว่าเป็นพวกเขาเป็นผู้ซื้อที่แข็งแกร่งเนื่องจากจะไม่ยอมถอดใจง่ายๆ ทั้งๆ ที่ได้รับรายงานที่มีแต่ข่าวร้าย และพวกเขาจะให้ความสนใจกับอนาคตและจะขายหุ้นทิ้งก็ต่อเมื่อพวกเขาเห็นสัญญาณที่แย่กว่าที่คาดเอาไว้เกิดขึ้นเท่านั้น

 

 

รูปที่ 6-6 สัญญาณการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ Upside  

ถ้าคิดแบบง่ายๆ การกลับตัวที่จุดสูงสุดของรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็คือการกลับตัวของสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ แบบ peak-and-through ที่เพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งการกลับตัวที่จุดต่ำสุดก็มีรูปแบบเดียวกันแต่อยู่ในทางตรงกันข้ามเท่านั้น

นอกจากนี้เรายังเห็นว่ารูปแบบเหล่านี้ได้รวมองค์ประกอบพื้นฐานทั้งหมดไว้ครบถ้วนแล้ว ทั้งการวิเคราะห์จุดยอดกราฟและจุดต่ำสุดของกราฟ (peak-and-trough analysis), การวิเคราะห์แนวรับ/แนวต้าน และการวิเคราะห์เส้นแนวโน้ม เรื่องสำคัญอีกเรื่องก็คือคุณต้องทำความเข้าใจว่ารูปแบบการกลับตัวต้องมีสัญญาณบางอย่างว่ามันจะพลิกกลับ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือรูปแบบการกลับตัวทั้งหมดต้องมีแนวโน้มบางอย่างแสดงขึ้นในทิศทางตรงกันข้ามกับสัญญาณการกลับตัวเสียก่อน ตัวอย่างเช่นแนวโน้มขาขึ้นจะเกิดขึ้นก่อนจุดสูงสุด และแนวโน้มขาลงก็จะมาก่อนจุดต่ำสุด

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบการรวบรวมกำลัง

ในกรณีที่รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ขยายมาตามแนวโน้มขาขึ้นถูกทำให้สมบูรณ์ด้วยชัยชนะของผู้ซื้อเนื่องจากราคาถูกดันผ่านแนวต้านของเส้นบน AA (ดูรูปที่ 6-7) มันจะยังไม่มีการกลับตัวเกิดขึ้นเนื่องจากการทะลุแนวต้านขึ้นไปเหนือ AA ต้องมีการ ยืนยันแนวโน้มพื้นฐานอีกครั้ง ในกรณีนี้จะมีรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเข้าแทรกตลาดกระทิงไว้ชั่วคราว และกลายเป็นรูปแบบการรวบรวมกำลัง  consolidation pattern หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นรูปแบบต่อเนื่อง continuation patterns ซึ่งรูปแบบราคาบางรูปแบบจะแสดงเฉพาะในรูปแบบการต่อเนื่อง ซึ่งนั่นเราจะพูดถึงต่อไปในบทที่ 12

รูปที่ 6-7 สัญญาณการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบต่อเนื่อง

ในช่วงเวลาที่รูปแบบราคามีการฟอร์มตัว เราไม่มีวันรู้ล่วงหน้าว่าราคาสุดท้ายที่จะไปทะลุแนวรับ/แนวต้านสุดท้ายอยู่ตรงไหน นอกจากจะเดาว่าแนวโน้มทั่วไปจะยังอยู่จนกว่าจะได้รับการยืนยันว่ามันได้มีการกลับตัวแล้ว ดังนั้น ถ้าเราใช้วิธีการให้น้ำหนักกับหลักฐานและมีตัวชี้วัดอื่นสนับสนุนทิศทางของมัน เราก็มีโอกาสที่จะคาดการณ์การกลับตัวได้ อย่างไรก็ตามตัวรูปแบบราคาเองไม่สามารถบอกทิศทางการกลับตัวได้จนกว่าจะมีสัญญาณกลับตัวเกิดขึ้นจริงๆ

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบต่อเนื่อง (continuation) หรือ รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าของการรวบรวมกำลัง (consolidation) ในแนวโน้มขาลงได้แสดงไว้ในรูปที่ 6-8 และ Chart 6-1 ซึ่งเป็นตัวอย่างของราคาทองแดง

รูปที่ 6-8 สัญญาณการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบต่อเนื่อง

Chart  6-1 ราคารายวันของทองแดง

 

 

[ตอนที่ 15] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

องค์ประกอบของรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ตัวอย่างในรูปที่ 6-5 ขอบด้านบนและด้านล่างแต่ละเส้นของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าถูกเส้นราคาแตะไปตามแนวขวางอย่างน้อยสามครั้ง (ซึ่งที่จริงแล้วเราสามารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมนี้ได้ตั้งแต่สองจุดแรก) อาจมีคำถามว่านี่จะเป็นการสร้างรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ถูกต้องแล้วจริงๆ หรือ? คำตอบก็คือ "ใช่"  และเพื่อให้มีเหตุผลมารองรับเราต้องทดสอบพื้นฐานทางจิตวิทยาในการฟอร์มตัวของรูปแบบราคา ทั้งนี่ ให้จำไว้ว่า transition period นั้นไม่ต่างอะไรกับการรบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ถ้าการรบยืดเยื้อจากการที่ต่างฝ่ายต่างมีการแตะหรือเข้าใกล้เส้นเขตแดนของอีกฝ่ายได้มากกว่าสองครั้งนั่นหมายความว่าความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายมีความสำคัญมากนอกจากนี้ยังบอกเป็นนัยได้ด้วยว่าแนวโน้มขาลงของรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะแข็งแกร่งขึ้น เราสามารถพูดได้ว่ายิ่งขอบเขตของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าถูกเส้นราคาแตะบ่อยครั้งมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เมื่อกลับไปที่กฎข้อที่สองที่อธิบายไว้ในบทที่ 4 เกี่ยวกับความสำคัญของเส้นแนวโน้ม มันก็เหมือนกับแนวโน้มที่เป็นเส้นแนวขวางซึ่งก่อรูปขึ้นเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ที่นี้ลองกลับไปที่การรบทางทหารของเราอีกครั้ง ยิ่งการสู้รบระหว่างสองฝ่ายนานขึ้นเท่าไรนักรบก็จะใช้กำลังเฮือกสุดท้ายไปจนหมดแรง และชัยชนะก็จะยิ่งต้องเป็นชัยชนะที่เด็ดขาดสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น  

คุณอาจสังเกตเห็นว่าผมใช้คำว่า “เข้าใกล้” และคำว่า “แตะ”  ซึ่งผมให้ความสำคัญมาก เพราะในชีวิตจริงคุณมักจะพบว่าการสร้างขอบเขตบนและล่างของสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ได้เท่ากันเป๊ะเหมือนกับในรูปที่ 6-5 ดังนั้นผมจึงยึดว่าการที่ราคาเข้าใกล้เส้นแนวโน้มหรือขอบเขตของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใดๆ แล้วก็จะถือว่ามันได้แตะถึงกันแล้วจริงๆ  ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว หากเส้นราคาเข้าใกล้เส้นขอบเขตที่ว่านี้แล้วมีการกลับตัว มันก็เป็นการตอกย้ำว่าระดับราคานี้แหละที่เป็นแนวรับ/แนวต้าน

ความสำคัญของรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หลักการของการสร้างรูปแบบราคาและการตีความหมายสามารถนำไปใช้กับกรอบเวลาใดก็ได้ จะเป็นกราฟแท่งรายนาทีไปจนถึงรายเดือนหรือรายปีก็ได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามความสำคัญของการฟอร์มรูปแบบราคาในแต่ละกรอบเวลาจะอยู่ที่ขนาดและความลึกต่างหาก

เราได้กำหนดไว้แล้วว่ารูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ขอบเขตบนล่างถูกเส้นราคาแตะอยู่หลายครั้งจะมีความสำคัญมากกว่าที่มีการแตะแค่ครั้งสองครั้ง นอกจากนี้ยิ่งรูปแบบราคาใช้เวลาในการฟอร์มรูปให้สมบูรณ์มากขึ้นเท่าไหร่ จำนวนของความผันผวนภายในของมันจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และยิ่ง trading range มีความลึกมากขึ้นเท่าไหร่ การเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นตามมาก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย

เราลองมาพิจารณาปัจจัย 3 ประการของรูปแบบราคา

1. กรอบเวลา (Time Frames)

ยิ่งกรอบเวลามีความยาวมากขึ้นก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น  ดังนั้นรูปแบบราคาที่แสดงบนกราฟรายเดือนก็น่าจะมีความสำคัญมากกว่ากราฟระหว่างวัน นอกจากนี้ยิ่งใช้เวลาการพัฒนารูปแบบในกรอบเวลาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นเท่าไหร่ ความสำคัญของมันในกรอบเวลานั้นก็จะยิ่งมากขึ้น ดูได้จากเมื่อเราอ่านกราฟรายวันแล้วสังเกตเห็นการฟอร์มรูปแบบราคาเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกใช้เวลาสิบวันในขณะที่ครั้งที่สองใช้เวลาสี่สัปดาห์ถึงจะมีรูปแบบราคาที่สมบูรณ์ เราจะเห็นชัดเจนเลยว่าการต่อสู้ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่กรอบราคาสี่สัปดาห์มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกันมากกว่า  ดังนั้นเมื่อเห็นรูปแบบที่แสดงออกมา ความมั่นใจในการเคลื่อนไหวของราคาก็น่าจะยิ่งมีมากขึ้น ที่ผมใช้คำว่า “น่าจะ”ก็เพราะว่ามันเป็นแนวคิดทั่วๆ ไป เพราะโดยส่วนใหญ่รูปแบบขนาดใหญ่ก็จะมีความสำคัญมากกว่าอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ใช่ทุกครั้งเท่านั้นเอง และการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น ที่ไม่เคยมีอะไรแน่นอน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าในบางครั้งรูปแบบขนาดเล็กอาจจะตามมาด้วยการเคลื่อนไหวของราคาขนานใหญ่ก็เป็นได้

ลองเปรียบเทียบรูปแบบการสะสมหุ้นที่ราคาต่ำสุดกับองค์ประกอบของมัน สิ่งสำคัญคือการสร้างฐานราคาที่แข็งแกร่งพอที่ไต่ระดับขึ้นไปได้ก็เหมือนกับการสร้างฐานรากที่มีขนาดใหญ่ ,แข็งแกร่ง และลึกยิ่งกว่าการสร้างตึกระฟ้า  ในกรณีของราคาหลักทรัพย์ ฐานรากที่ว่านั้นก็คือรูปแบบการสะสมหุ้นซึ่งแสดงถึงการหยั่งเชิงกันระหว่างฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย  ในระยะการสะสมหุ้นนี้ นักลงทุนที่มากประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญต่างพากันเปิดสถานะหรือสะสมหลักทรัพย์ที่คาดว่าราคาจะดีขึ้นภายในหกถึงเก้าเดือนข้างหน้า   และการเป็นเจ้าของจะเปลี่ยนมือจากผู้ค้าหรือนักลงทุนที่ไม่มีข้อมูลไปยังนักลงทุนที่แข็งแกร่งและมีข้อมูล  ดังนั้นยิ่งรูปแบบการสะสมที่ใช้เวลายาวนานก่อนสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์และยิ่งระดับของกิจกรรมภายในรูปแบบมากขึ้น กระบวนการสะสมหลักทรัพย์ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นตำแหน่งราคาทางเทคนิคก็จะแข็งแกร่งขึ้นด้วย

การกลับตัวจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงที่จุดสูงสุดของตลาด ในที่ซึ่งมีจำนวนของการแจกจ่ายหลักทรัพย์จำนวนมากส่งผลให้ช่วงเวลาของ price erosionยืดเยื้อออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2.  ความสำคัญของความผันผวนภายในรูปแบบราคา

รูปแบบราคานั้นจะมีความสำคัญมากขึ้นถ้ามีความผันผวนอยู่ภายในจำนวนมาก  เมื่อราคาวิ่งขึ้นลงอยู่ในกรอบเป็นเวลานานโดยไม่สามารถทะลุแนวต้าน/แนวรับได้และนักลงทุนหรือนักค้าหุ้นใช้ราคาซื้อที่ราคาหนึ่งและขายที่อีกราคาหนึ่ง การเคลื่อนไหวของราคาจะอยู่นอกเหนือทั้งขีดจำกัดที่เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานและที่มีความสำคัญในเชิงจิตวิทยาอย่างมาก

ในปี 1972 และ 1973 ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มีการขยับขึ้นขนานใหญ่ ตาม Chart 6-2  ที่แสดงราคาของ CRB Composite คุณจะเห็นว่าราคาที่ไล่ระดับขึ้นและมี trading range ที่มีช่วงเวลาหลายปี ซึ่งเราไม่มีทางทราบล่วงหน้าได้เลยว่าการทะลุกรอบแนวต้านจะเกิดขึ้นได้อย่างน่าตื่นเต้นขนาดนี้ อย่างไรก็ตามจากของการต่อสู้กันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้บ่งบอกว่าผลสุดท้ายปรากฏ มันก็มีสัญญาณราคาที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเส้นแนวโน้ม

 

 

Chart 6-2 ราคารายวันของ CRB Composite ในระหว่างปี 1957-1983

[ตอนที่ 16] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

3.  ความสำคัญของความลึกของรูปแบบราคา

รูปแบบที่มีความลึกมากขึ้นจะมีความสำคัญมากกว่า ถือว่าความลึกของรูปแบบราคาเป็นการกำหนดความสำคัญของมัน เมื่อเราเปรียบเทียบกับเรื่องของสนามรบอีกครั้ง ถ้าฝ่ายตรงข้ามกันมีแนวรบอยู่ใกล้กันมาก ตีเสียว่าประมาณ 100 หลา นั่นก็หมายความว่าการจู่โจมให้ได้ชัยชนะจะมีความสำคัญน้อยกว่าอยู่ห่างกันหลายไมล์ ในกรณีดังกล่าว ยิ่งการสู้รบมีความเข้มข้นมากขึ้นชัยชนะก็จะยิ่งใหญ่มากขึ้น เช่นเดียวกับในตลาดการเงิน การฝ่า trading range ที่มีความกว้างจะมีความสำคัญทางจิตวิทยามากกว่าการฝ่า trading range ที่แคบ ในทางจิตวิทยา ราคาตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามสัดส่วนยิ่งมีการแกว่ง (เป็นสัดส่วน) ภายในรูปแบบมากขึ้น การเคลื่อนไหวของราคาที่ตามมาก็จะมีความสำคัญมากขึ้น หากคุณได้ราคาที่มีการแกว่งตัวแบบกว้างๆ ระหว่างการฟอร์มตัวของรูปแบบ คุณก็อาจจะเห็นการแกว่งแบบกว้างๆ หลังมันจบการแกว่งตัวแล้วเช่นกัน

จากที่กล่าวเอาไว้ คือต้องระลึกเสมอว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเห็น trading range แคบและถูกจำกัด การต่อสู้กันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายจะสมดุลกันมาก ซึ่งเป็นความจริงโดยเฉพาะเมื่อระดับของกิจกรรมการซื้อขายลดลงจนแทบไม่มีเลย เมื่อความสมดุลดังกล่าวเอียงไปทางใดทางหนึ่งคุณมักจะพบว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปค่อนข้างเร็วและขึ้นไปสู่ระดับที่สูงกว่าที่ได้จากการวัด เราเห็นตัวอย่างในรูปที่ 6-24 ซึ่งราคาลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากเกิดรูปสี่เหลี่ยมแคบๆ ซึ่งตัวชี้วัดของการลดลงนี้อาจมาจากจำนวนครั้งที่เส้นราคาแตะหรือเข้าใกล้กรอบแนวรับ/แนวต้านของสี่เหลี่ยม  ยิ่งมีจำนวนครั้งมากขึ้นเท่าใดมันก็ยิ่งเป็นเส้นแนวรับ/แนวต้านที่สำคัญมากขึ้น  และการทะลุกรอบก็จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้น

ความหมายของการวัด(Measuring  Implications)

การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบอกถึงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มในระยะแรกแต่มันไม่สามารถนำมาใช้คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะขยายตัวได้ไกลขนาดไหน การตีความรูปแบบราคาก็เป็นหนึ่งในข้อยกเว้นนั้นเนื่องจากการสร้างรูปแบบราคานั้นมีข้อจำกัดในการคาดการณ์ความเป็นไปได้อยู่บ้าง

รูปแบบราคาแทบทั้งหมดต่างสามารถหาราคาเป้าหมาย measuring  objectives ได้จากความลึกของพวกเขา ซึ่งรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็เป็นเช่นเดียวกัน ในรูปที่ 6-9 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ก่อตัวขึ้นแล้วสิ้นสุดที่จุดสูงสุด (ระยะการแจกจ่ายหุ้น) ซึ่งความหมายของการวัด measuring  implication ก็คือระยะทางแนวตั้งระหว่างกรอบของมัน นั่นคือระยะห่างระหว่างเส้น AA และ BB ที่ลากลงมาจากเส้น BB

 

 

รูปที่ 6-9 การวัดราคาเป้าหมายจากจุดสูงสุดของรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ในหลายกรณีแนวโน้มราคาจะขยายออกไปไกลกว่าราคาเป้าหมาย  ซึ่งในการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ไต่ระดับขึ้นไปได้อย่างแข็งแกร่งจริงๆ เท่านั้น ถึงจะเอาชนะแนวโน้มเหล่านี้ได้หลายๆ ครั้ง เราสามารถบอกได้ว่า ราคาเป้าหมายที่มีหลาย ระดับราคานั้นอาจกลายเป็นแนวรับ/แนวต้านที่สำคัญได้ทั้งนั้น  โดยมันจะหมุนเวียนสลับกันเป็น แนวรับ/แนวต้าน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่แย่หน่อย ที่เราไม่มีทางหาตำแหน่งจุดเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจริงสำหรับการไล่ราคาหรือการย่อตัวของราคาใดๆ ได้ นี่เป็นการตอกย้ำหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ว่า ไม่มีทางที่จะกำหนดระยะเวลาของการเคลื่อนไหวราคาแต่ละครั้งได้ตลอด เท่าที่ทำได้ก็เพียงแต่การคาดเดาความเป็นไปได้ที่บริเวณเหล่านั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเขตแนวรับหรือแนวต้านหรือไม่เท่านั้น

ดังนั้น สูตรการวัดจึงมีแนวทางแบบคร่าวๆ และมักเป็นค่าต่ำสุด ตัวอย่าง ของเส้นราคาที่ทะลุแนวรับเป็นขาลงและมีราคาเป้าหมายอยู่หลายระดับ ( multiple objective) ได้แสดงไว้ในรูปที่ 6-10 ซึ่งเราจะเห็นว่าราคาดิ่งลงจากเป้าหมายแรกถึงสามครั้ง ทั้งนี้ราคาเป้าหมายที่มีหลายระดับอาจนำมาใช้คาดเดา pivotal point สำหรับการกลับตัวก็เป็นได้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากด้านขวาสุดของกราฟ

 

 

รูปที่ 6-10 ราคาเป้าหมายที่มีหลายระดับ วัดจากจุดสูงสุดของรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

[ตอนที่ 17] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

สเกลลอกาลิทึม (อัตราส่วน) เปรียบเทียบกับสเกลเลขคณิต  (Arithmetic versus Logarithmic Scaling)

ในการนำความหมายของการวัดมาพิจารณาจะให้ความสำคัญกับการเลือกว่าจะใช้สเกลเลขคณิตหรือสเกลลอการิทึมเป็นอย่างมาก เนื่องเพราะมันเป็นวิธีการกำหนดระดับราคาเป้าหมายตามที่เป็นจริง ลักษณะของกราฟที่ใช้สเกลเลขคณิตจะมีแกนตั้งที่มีระยะห่างของจุดหรือเงินเท่าๆ กัน เช่น ทุกๆ 1 นิ้วจะเท่ากับ $2  ทั้งกราฟที่มีช่วง $ 2 ถึง $ 5 และในกราฟที่มีช่วง $ 100 ถึง $ 110

ทุกหน่วยวัดทั้งหมดจะถูกพล๊อตโดยใช้ระยะแนวตั้งเท่ากัน และราคาที่พล๊อตไว้บนสเกลอัตราส่วนหรือสเกลลอการิทึมจะแสดงเป็นระยะทางการเคลื่อนไหวของราคาเป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน ดังนั้น ระยะ 1 นิ้ว อาจแทนการเคลื่อนไหวของราคา 20 % ที่ใดก็ได้ในกราฟ และโชคดีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เกือบทุกประเภทต่างมีสเกลทั้งสองแบบนี้ให้ผู้ใช้เลือกได้

ความสำคัญของการใช้สเกลลอการิทึมมีแสดงไว้ในรูปที่ 6-11 a และ b ซึ่งใน a เส้นราคาจะลากทะลุลงมาจากกรอบแนวรับของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  การกำหนดระยะห่างของแนวตั้งระหว่าง 200 ถึง 100 ลงมาทำให้ราคาเป้าหมายเท่ากับ 0 ซึ่งแทบไม่มีโอกาสเลย แต่ในรูปที่ 6-11 b เป็นการลากเส้นแบบเดียวกันแต่เปลี่ยนมาใช้สเกลลอกาลิทึม ในกรณีนี้เราจะได้ราคาเป้าหมายที่  50 ซึ่งดูสมเหตุสมผลมากกว่า

 

 

รูปที่ 6-11 ความหมายของการวัด  (a) สเกลเลขคณิต  (b) สเกลอัตราส่วน

หากรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ปรากฏเป็นรูปแบบการกลับตัวที่จุดต่ำสุด กฎการวัดก็ยังคงเหมือนกับรูปแบบของระยะการแจกจ่ายหุ้น (distribution)  เพียงแต่การกำหนดราคาเป้าหมายทั้งแบบเดี่ยวและแบบหลายระดับ จะมีทิศทางเป็นขาขึ้น นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้หลักการนี้กับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบต่อเนื่องได้เช่นกัน  รูปที่ 6-12 แสดงเส้นราคามีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สร้างขึ้นระหว่างแนวโน้มขาขึ้น ในกรณีนี้ราคาสูงสุดจะยังไม่ถึงราคาเป้าหมายขาขึ้นของมันในทันที แต่จะทำการไต่ราคาขึ้นไประดับหนึ่งก่อนเล็กน้อย  แล้วกลับลงมาพักตัวนี่คือเหตุผลที่ ราคาเป้าหมายใช้คำว่า “ท้ายสุด” ทั้งนี้  คนส่วนใหญ่จะเข้าซื้อตอนราคาทะลุกรอบแนวโน้มไปแล้วเพราะคาดการณ์ว่าพวกเขาจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นหรือในทันทีเมื่อราคาเคลื่อนไปสู่ราคาเป้าหมาย (แต่มันไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไปหรอก)

 

 

รูปที่ 6-12 การวัดราคาเป้าหมาย upside ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบต่อเนื่อง

[ตอนที่ 18] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

การเคลื่อนไหวของราคาแบบย่อตัว

ในข่วงเวลาที่ยาวนาน ในขณะที่เส้นราคาทะลุออกมาจากกรอบของรูปแบบ ในตอนต้นราคาจะกลับสู่กรอบบน/ล่าง ตามทิศทางเดิม การเคลื่อนไหวนี้รู้จักกันว่าเป็นการเคลื่อนไหวของราคาแบบย่อตัว ( retracement move) และเป็นจุดเข้าซื้อเพิ่มที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขทางอารมณ์น้อยลง การย่อตัวของราคาจะทำหน้าที่อยู่ 2 ประการ

ประการแรก คือช่วยปรับอารมณ์ที่คึกคักเกินไปของนักลงทุนที่จากการที่เห็นราคาสามารถทะลุกรอบออกไปได้และดึงสติของพวกเขาให้กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งต่อจากจุดนี้จะมีโอกาสได้เส้นแนวโน้มใหม่ที่สมเหตุสมผลกว่า 

ประการที่สอง มันจะทำหน้าที่เป็นตัวการทดสอบการทะลุกรอบแนวโน้ม  โดยการย่อตัวลงมาแบบ downside จะมีแนวรับอยู่ที่จุดทะลุแนวโน้มและการย่อตัวขึ้นไปแบบ upside จะมีแนวต้านอยู่ที่จุดทะลุแนวรับที่กรอบด้านล่างของรูปแบบราคา เสมือนทั้งสองขอบเขตทำหน้าที่สลับกัน

ดังนั้นการย่อตัวจึงถือเป็นพฤติกรรมปกติของราคาและถึงแม้จะเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดใจแต่ก็ไม่มีอะไรที่น่ากังวล เพราะจริงๆ แล้วการทะลุกรอบแนวโน้มของตัวมันเองมักมีความผันผวนขึ้นอยู่กับทิศทางที่มันทะลุผ่านกรอบอยู่แล้ว  ดังนั้นคำสั่งซื้อขายมักมีการดำเนินการอย่างหนาแน่น  ในทางกลับกัน พฤติกรรมของราคาในระหว่างกระบวนการย่อตัวค่อนข้างเงียบเชียบกว่าซึ่งหมายความว่าการซื้อหรือขายสามารถทำได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมมากขึ้น รูปที่ 6-13 แสดงให้เห็นว่ามันเป็นความคิดที่ดีเสมอในการรอให้ราคามีการย่อตัวลงมาก่อนและเข้าซื้อเมื่อสัญญาณว่าการย่อตัวของราคาได้สิ้นสุดแล้ว

 

 

รูปที่ 6-13 เข้าซื้อเมื่อราคาย่อตัวทะลุแนวโน้ม

ปรากฏการณ์ Cancellations

ในกรณีที่ราคาเป้าหมายต่ำสุดได้รับการยืนยันว่าเป็นแนวโน้มใหม่ที่มีการขยายตัวไปจนถึงขั้นสุดท้ายแล้ว  มันจะต้องมีการสะสมหุ้นหรือการแจกจ่ายหุ้นจำนวนมากก่อนที่ราคาจะกลับไปยังทิศทางก่อนหน้านี้ ดังนั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีช่วงเวลาสองปีอาจสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์และมีราคาเป้าหมายเป็นขาขึ้นก็ได้  และก่อนที่แนวโน้มขาลงที่ถูกต้องสมบูรณ์จะเกิดขึ้น ถึงแม้มันไม่มีการปรับราคาขึ้นไปอีกก็ตาม แต่ช่วงเวลาในการสร้างรูปแบบการแจกจ่ายหุ้น (บนสุด)จะต้องใกล้เคียงกับการสร้างรูปแบบการสะสมที่เกิดขึ้น   (ในกรณีนี้คือสองปี) ดังตัวอย่างแสดงในรูปที่ 6-14

 

 

รูปที่ 6-14 ปรากฏการณ์  cancellation

[ตอนที่ 19] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

การยืนยันการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่ถูกต้องสมบูรณ์

จนถึงตอนนี้ ได้มีสันนิษฐานว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ของราคาออกจากกรอบของรูปแบบราคาที่ถึงจะมีขนาดเล็ก แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มที่สมบูรณ์ได้ (หรือกลับเข้าสู่แนวโน้มเดิม กรณีที่เป็นรูปแบบการรวบรวมกำลัง) และบ่อยครั้งที่พฤติกรรมของราคาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่เรียกว่า whipsaws ดังนั้นในการกำหนดเกณฑ์เพื่อลดโอกาสการตีความผิดจึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในแนวคิดแบบดั้งเดิมถือได้ว่าคุณควรรอให้เส้นราคาเข้ามาในกรอบราคาสัก 3 % ก่อนที่จะสรุปว่ามันเป็นการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่สมบูรณ์แล้ว กฎนี้จะช่วยกรองการเคลื่อนไหวของราคาที่ชวนให้เข้าใจผิดออกไปได้เป็นจำนวนมากถึงแม้ว่าตัวสัญญาณที่แท้จริงจะยังไม่มาก็ตาม

กฎ 3 % ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เมื่อช่วงเวลาการถือครองหุ้นของนักลงทุนยาวนานมากและกราฟรายเดือน/รายสัปดาห์ได้รับความนิยมมากกว่ากราฟรายวัน แต่ทุกวันนี้นิยมใช้กราฟระหว่างวันมากกว่า กฎ 3 % จะยังใช้ได้อยู่หรือไม่! ผมไม่ปฏิเสธการใช้กฎ 3 % สำหรับการเคลื่อนไหวของราคาในระยะยาวซึ่งมีความผันผวนมากกว่า แต่แนวทางที่ดีที่สุดคือการใช้วิจารณญาณของตัวเองที่มาจากประสบการณ์ในการตัดสินใจเป็นกรณีไป  ที่จริงมันจะง่ายมากถ้ากำหนด  % ให้มากกว่าเดิมเพื่อหาการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่ถูกต้อง แต่น่าเสียดายที่มันยังต้องอาศัยกรอบเวลาเป็นอย่างมากและความผันผวนของราคาหุ้นแต่ละตัวก็ยังไม่มีความแน่นอน

ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมราคาหุ้นของบริษัทผลิตไฟฟ้าจะมีเสถียรภาพมากกว่าถ้าเทียบกับราคาหุ้นของบริษัทที่ทำเหมือง ดังนั้นการตั้งกฎการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มด้วยเปอร์เซ็นต์เท่ากันก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลนัก  สิ่งที่ทำให้ได้การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่เด็ดขาดและสมบูรณ์และให้ whipsaw ลดลงอย่างมากต้องใช้การตัดสินใจส่วนบุคคลที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์และการลองผิดลองถูกเป็นอย่างมาก  ดังนั้นจึงถือว่าการตัดสินใจเป็นปัจจัยหนึ่งเช่นเดียวกับประเภทของแนวโน้มที่จะต้องตรวจติดตาม, ความผันผวนของราคาหุ้น, ปริมาณการซื้อขาย และลักษณะของโมเมนตัม

ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบหลอกๆ ที่ตรงนั้น ที่ตรงนี้ จะช่วยสนับสนุนความถูกต้องของแนวรับ/แนวต้าน ได้จริงๆ ตัวอย่างก็เหมือนกับที่พูดว่าจากที่ผมได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่จนสามารถกระโดดจากชั้นใต้ดินจนทะลุผ่านเพดานขึ้นไปถึงชั้นที่หนึ่งได้แล้ว  แต่ก็ผ่านไปได้แค่ศีรษะเท่านั้น ส่วนแขนกับมือยังอยู่ที่พื้น  โดยทางเทคนิคแล้ว ถือว่าผมขึ้นมาอยู่ที่ชั้นที่หนึ่งได้แล้วแต่ก็ต้องใช้ความพยายามอีกมากที่จะรักษาตำแหน่งนี้ให้ตลอด เว้นแต่ว่าผมจะสามารถขึ้นไปได้ทั้งตัวและได้ยืนอยู่ที่พื้นชั้นที่หนึ่งของอาคารได้จริงๆ แต่โชคร้ายที่ผมกลับลื่นไถลตกกลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่ ในสถานการณ์เช่นนี้ "การทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม " เหนือแนวต้าน (เพดาน) แบบหลอกๆ ของผมได้ตอกย้ำความสำคัญของแนวต้านนั่น แล้วยังหมายความว่าผมใช้แรงมากมายในการพยายามที่จะขึ้นไปถึงชั้นที่หนึ่งไปจนหมดแล้ว และตอนนี้ผมก็เลยต้องการเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อสะสมกำลังพอที่จะกลับขึ้นไปใหม่ ในรูปที่ 6-15 แสดงตัวอย่างการทะลุแนวต้านของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ให้สัญญาณการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ whipsaw 

 

 

รูปที่ 6-15 ลักษณะการทะลุเส้นแนวโน้มของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ให้สัญญาณแบบ whipsaw 

อีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้นว่าการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนั้นถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ ก็คือการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนั้นควรมีหลายช่วงเวลา ตัวอย่างเช่น คุณอาจสังเกตดูการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่เด็ดขาดสมบูรณ์จากรูปสี่เหลี่ยมของกราฟรายวันที่ขึ้นไปอย่างมั่นคง แต่ถ้าราคานั้นไม่อาจยืนอยู่เหนือระดับการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มได้นานกว่าหนึ่งวันก็แปลว่าสัญญาณนั้นอาจไม่เกิดขึ้นจริง  บ่อยครั้งที่เส้นราคาอยู่ในตำแหน่งทางเทคนิคที่ไม่ดีนักหลังจากที่ทะลุแนวโน้มดังกล่าวขึ้นมาได้ เป็นการบ่งชี้ถึง อาการหมดแรงของราคา และ exhaustion  moves ก็มักจะตามด้วยแนวโน้มราคาที่แข็งแกร่งในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับที่การทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม(แบบหลอกๆ ) แสดงเอาไว้ แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็คาดได้ว่าการทะลุแนวต้านแบบ exhaustion จะทำให้ตัวของรูปแบบมีการขยายระยะเวลาการซื้อขายต่อไปอีกจนกว่าโครงสร้างทางเทคนิคจะสามารถจัดกลุ่มใหม่ได้

เมื่อเส้นราคาเคลื่อนหนีห่างจากรูปแบบแสดงว่าเป็นการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่สมบูรณ์  แต่อะไรจะเกิดขึ้นถ้าราคาย่อตัวกลับเข้าหารูปแบบราคาอีกครั้ง?  การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ยังคงถูกต้องหรือไม่? ถ้าไม่ใช่ แล้วจุดไหนที่คุณหยุดเพื่อรอดู

[ตอนที่ 20] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

การคาดการณ์เมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น

หนึ่งในสิ่งแรกที่ควรทำเมื่อเข้าสู่ธุรกิจร่วมลงทุนคือการชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงที่เป็นไปได้กับโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทน ซึ่งเหมือนกับในตลาดการเงิน ที่คนส่วนใหญ่จะดูราคาที่ทะลุออกจากรูปแบบราคาและให้ความสำคัญกับผลกำไรที่คิดว่าจะได้เมื่อคำนวณจากราคาเป้าหมาย upside ที่เป็นไปได้ แต่ในทางกลับกัน ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มักพิจารณานำความเสี่ยงมาถ่วงในรูปสมการ ซึ่งถ้ารูปแบบนั้นไม่มีความสำคัญมากไปกว่านี้ และถ้าคำนวณผลตอบแทนต่อความเสี่ยงแล้วไม่เกิน 3:1 ก็ถือว่าไม่คุ้มค่ากับการค้าหรือการลงทุน

นี่หมายความว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณวางแผนที่จะเปิดสถานะซื้อขายใหม่ตามการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของรูปแบบราคา สิ่งสำคัญที่คุณต้องตัดสินใจก่อนล่วงหน้าคือประเภทของพฤติกรรมราคาแบบใดที่จะทำให้คุณสรุปได้ว่านี่เป็นการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้เป็นแบบ  whipsaw

ในแบบฝึกหัดนี้เราต้องจำไว้ว่าเมื่อมีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside แล้วราคาก็มีโอกาสสูงขึ้น  ซึ่งต่อไปมันจะมีการย่อตัวลงมา อย่างไรก็ตามทันทีที่ราคาย่อตัวกลับเข้าสู่กรอบของรูปแบบราคา มีความเป็นไปได้ว่าราคาที่สูงขึ้นจะเริ่มแคบลง คำถามคือ "เมื่อไหร่ที่มันจะตกลงมาต่ำกว่าจุด 50% ?" แย่หน่อยที่ไม่มีกฎตายตัวที่จะใช้งานได้กับทุกโอกาส เพราะแต่ละสถานการณ์ต้องใช้การตัดสินใจของตัวเองและควรทำการฝึกซ้อมก่อนเข้าสู่สถานะจริงมากกว่ามาทำเอาตอนที่มีหุ้นในมือแล้ว ไม่อย่างนั้นมันก็จะกลายเป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้า

ขั้นตอนแรกคือต้องสังวรไว้เสมอว่าหลังจากที่ได้มีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside ขึ้นไปแล้ว แต่ราคาหลุดลงมาทะลุกรอบบนกลับเข้ามาในรูปแบบราคา อย่างนี้ถือว่าแนวรับ (เดิมเป็นแนวต้าน)ถูกละเมิดแล้ว  และในกรณีกลับกันที่มีการย่อตัวกลับเข้ามาในกรอบล่างของรูปแบบหลังราคามีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ  downside ไปแล้ว สถานการณ์นี้ทำให้เราตกอยู่ในความเสี่ยงจนกว่าจะเห็นชัดเจนว่าราคาได้ทะลุออกจากรูปแบบอีกครั้งหรือมีการทะลุแนวรับอื่น  

จากรูปที่ 6-15 การทะลุกรอบของรูปแบบราคาด้านบนยังคงเป็นสัญญาณชุดของ peak–and- troughs ที่กำลังลดลง  ในมุมมองของผมหลักฐานขนาดนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะรีบเผ่นออกจากสถานะซื้อขาย พฤติกรรมการแสดงออกของตลาดเหมือนพฤติกรรมของคน เพราะสามารถเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา ดังนั้นมันอาจจะดีขึ้นถ้าคุณจะให้ความสนใจกับข้อความที่ตลาดสื่อออกมามากกว่าใช้อารมณ์คาดและความกลัวของตัวคุณเอง เมื่อสถานการณ์ไม่มีวี่แววว่าราคาจะขึ้นต่อไปแล้ว ขอให้ยอมขาดทุนเล็กน้อยก็ยังดีกว่าปล่อยให้ความถือดีและความดื้อรั้นทำให้สูญเสียไปมากกว่านี้

สมมุติว่าราคาปรับตัวลงกลับเข้าสู่รูปแบบราคาโดยไม่มีผลประโยชน์จากการกลับตัวแบบ peak-and-trough แล้วเราควรทำอย่างไรต่อไป? ทั้งนี้หลักๆ ขึ้นอยู่กับกราฟ ถ้าไม่มีจุดแนวรับที่ชัดเจนแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะเชื่อว่าการใช้เครื่องหมายเส้น 50% ซึ่งแทรกกึ่งกลางระหว่างเส้นกรอบบน-ล่างของรูปสี่เหลียมผืนผ้าเป็นจุดที่ต้องออกแล้ว  ดังตัวอย่างมีแสดงในรูปที่ 6-16   ในกรณีนี้สัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อราคาหลุดระดับ 50%

 

 

รูปที่ 6-16 ลักษณะการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของสัญญาณแบบ whipsaw

[ตอนที่ 21] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

รูปที่ 6-17 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งราคาจะหลุดลงต่ำกว่าจุดทำสุดก่อนหน้านี้ โปรดจำไว้ว่า ในกรณีที่มีการทะลุเกิดขึ้นในรูปแบบหมายถึงว่าจุดนั้นเป็นจุดต่ำสุดรอง (minor) ซึ่งมีโอกาสเป็นจุดแนวรับต่อไป

หากราคาทะลุจุดต่ำสุดทั้งขอบเขตบนและจุดต่ำสุดรองแล้วแสดงว่าราคาได้หลุดแนวรับทั้งสองไปแล้ว ซึ่งพฤติกรรมของราคาแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นเลยในระหว่างการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มดั้งเดิม  และไม่มีเหตุผลที่คุณจะซื้อหุ้นที่ราคานี้  แล้วจะทำไม (เหตุผล)? ถ้าคุณเปิดสถานะซื้อหรือ long position ล่ะ การตัดสินใจควรต่างออกไปไหม? แน่นอน ไม่ควรนะ  แต่มันมักจะเป็นเรื่องยากที่จะทำใจรับการขาดทุน ก็เลยต้องอยู่กับความหวังว่าราคาจะกลับขึ้นไปใหม่และเฝ้าหาเหตุผลที่จะอยู่ในสถานะนี้  โชคร้ายที่ตลาดไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมกับผู้มีส่วนร่วมในตลาดสักเท่าไหร่และมักไม่มีความปราณีใดๆ ทั้งสิ้น นั่นเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ผมจะขอแนะนำให้คุณต้องทำอะไรสักอย่างโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทันทีที่ราคาลดลง

 

 

รูปที่ 6-17 ลักษณะของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของสัญญาณแบบ whipsaw  

ความผิดพลาดอื่นๆ ดังรูปที่ 6-18 ที่อาจมีการสร้างเส้นแนวโน้มขนาดเล็กขึ้นและสังเกตว่าเส้นราคามีการหลุดเส้นแนวโน้มนั้นลงมา ดังนั้นเส้นแนวโน้มที่ลากขึ้นมาใหม่จึงกลายเป็นแนวรับและให้สัญญาณขาย

 

 

รูปที่ 6-18  ลักษณะของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของสัญญาณแบบ whipsaw  

ในตัวอย่างทั้งหมดเหล่านี้ คุณควรกำหนดจุดหยุด (stop points)  ที่ด้านล่างของจุดแนวรับต่างๆ อย่างเช่น เครื่องหมาย 50%, จุดต่ำสุดก่อนหน้า, เส้นแนวโน้มขาขึ้น และอื่น ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว จุดหยุดเหล่านี้ควรตั้งเอาไว้ก่อนเพื่อช่วยให้คุณคำนวณผลขาดทุนเท่าที่จะรับได้ และจุดที่เริ่มต้นการซื้อขายล่วงหน้า นั่นคือการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มใช้ไม่ได้อีกต่อไป ในกรณีที่คุณไม่ดำเนินการเรื่องเหล่านี้เอาไว้ก่อน ในเวลาที่มีความผิดพลาด การตัดสินใจของคุณมักจะมาจากอารมณ์เครียดที่ถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ ข่าวหรืออื่นๆ มากกว่าจะใช้เหตุผลนำ

ตัวอย่างที่เราได้ยกมากล่าวถึงในที่นี้จะเป็นกรณีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside เนื่องจากมันคือทิศทางที่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดส่วนใหญ่ให้ความสนใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนในกรณีของสถานะขายหรือ short positions ที่เป็นการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside ก็ใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่มีทิศทางกลับกันและเขตแนวต้านจะเปลี่ยนไปเป็นเขตแนวรับแทนเท่านั้น ตัวอย่างนี้จะอยู่ในรูปที่ 6-19 ซึ่งจุดหยุดจะอยู่เหนือราคาสูงสุดสุดท้ายของรูปแบบราคาก่อนเข้าสู่การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาเหนือจุดนี้ไม่จำเป็นต้องหยุดการฟอร์มตัวของรูปแบบราคา อย่างไรก็ตามมันค่อนข้างมีความเป็นไปได้ว่า มันจะลดลงต่อไปถึงจุดที่ต่ำกว่า 50/50 ในขณะที่การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside แค่จะดีกว่าถ้าราคายืนอยู่เหนือ 50/50 ได้ ดังนั้นคำถามก็คือว่าแล้วทำไมต้องทนถือต่อ ถ้าราคาเพิ่มขึ้นเหนือเส้นประแนวของแนวโน้มหักล้างเหตุผลที่จะต้องขาย

 

 

รูปที่ 6-19 การตั้งจุดหยุดหลังราคาทะลุแนวรับแบบ downside

[ตอนที่ 22] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

การพิจารณาปริมาณการซื้อขาย

จนถึงขณะนี้ การวิเคราะห์ของเรายังพิจารณาเฉพาะเรื่องของราคา ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายถือว่าเป็นตัวแปรอิสระสำคัญที่สามารถช่วยให้เราเห็นการสะท้อนจิตวิทยาฝูงชนได้อย่างถูกต้องมากขึ้น โดยสรุป ก็คือปริมาณการซื้อขายมักจะไปด้วยกันกับแนวโน้ม เช่น มันจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับแนวโน้มราคาที่เพิ่มขึ้น และหดตัวเมื่อราคาลดลง ลักษณะนี้เป็นความสัมพันธ์ปกติ และอะไรก็ตามที่แตกต่างไปจากที่มันควรจะเป็นถือว่าเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มราคาอาจอยู่ในระหว่างการกลับตัว ทั้งนี้ปริมาณการซื้อขายมักเป็นตัวชี้วัดวัดเทียบกับอดีตที่เพิ่งผ่านมาเสมอ ดังนั้น ปริมาณการซื้อขายอย่างหนักจะเกี่ยวข้องกับกราฟแท่งแสดงปริมาณการซื้อขาย 20 ถึง 30 แท่งแต่จะไม่ยาวนานถึง 10 ปี เนื่องจากมันยาวนานเกินไปจนการเปลี่ยนแปลงของตลาดเป็นการเพิ่มระดับของกิจกรรมอย่างถาวร

ส่วนใหญ่ของรูปแบบราคาและในกรณีของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า การที่แนวโน้มของปริมาณซื้อขายที่จะมีการหดตัว ในขณะที่กำลังสร้างรูปแบบราคาถือว่าเป็นเรื่องปกติ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อขายอาจยังคงมีความผันผวนไปพร้อมกับราคาอย่างต่อเนื่อง แต่จากบทเรียนที่ผ่านมาเราคาดหวังว่าจะได้เห็นรูปแบบ  peaks-and-troughs ของปริมาณการซื้อขายจำนวนมากที่หดตัวตามรูปแบบราคาที่พัฒนา ดังรูปที่ 6-20 เมื่อรูปแบบราคาใกล้สิ้นสุดสมบูรณ์ ความน่าสนใจและปริมาณการซื้อขายจะหดหายไป

รูปที่ 6-20 แนวโน้มปริมาณการซื้อขายที่หดตัวลงระหว่างการสร้างรูปแบบราคาสี่เหลี่ยมผืนผ้า

คุณภาพของการฟอร์มตัวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบการสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนถ้าปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเมื่อเส้นราคาทะลุแนวต้านแบบ upside  บางครั้งก็เป็นไปได้ที่จะวาดเส้นแนวโน้มที่เชื่อมระหว่างยอดสูงสุดของปริมาณการซื้อขาย ดังแสดงในรูปที่ 6-20 ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อยืนยันความถูกต้องของการทะลุเส้นแนวโน้ม เนื่องจากมันเป็นสัญญาณความกระตือรือร้นของผู้ซื้อ ดังนั้นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเหมือนกันบนปริมาณการซื้อขายที่กำลังลดลงจึงเป็นเรื่องที่ชวนให้กังขาและบ่งชี้ว่าปริมาณการซื้อขายไม่ได้เคลื่อนไหวไปกับแนวโน้มราคา ตัวอย่างจะแสดงในรูปที่ 6-21  ปริมาณการซื้อขายลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากราคากำลังทะลุเส้นแนวโน้ม  ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมักจะส่งสัญญาณว่าราคากำลังเพิ่มขึ้นเพราะไม่มีผู้ขายมากกว่า หรือเพราะมีผู้ซื้อที่แข็งแกร่งและมีความกระตือรือร้น ขณะที่ราคาเริ่มไถลลงปริมาณการซื้อขายกลับเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดว่าเพราะมีอุปทานของหุ้น นี่เป็นสัญญาณตอกย้ำความเป็นไปได้ว่าการทะลุส้นแนวโน้มเป็นแบบ whipsaw

รูปที่ 6-21 ปริมาณการซื้อขายที่กำลังหดตัวเมื่อการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มกลับตัวเป็นขาลง

[ตอนที่ 23] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

คุณมักจะเห็นกราฟที่สามารถทะลุแนวโน้มได้โดยไม่มีปริมาณซื้อขายมารองรับทั้ง upside และ downside แต่แม้ว่าเราจะต้องการกราฟปริมาณการซื้อขายที่มีการเพิ่มขึ้นที่ดี แต่ไม่จำเป็นต้องกำหนดหรือตั้งเงื่อนไขสำหรับการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มที่สมบูรณ์ถูกต้อง เพราะเราสามารถใช้ตัวชี้วัดอื่น ๆ เช่นตัวชี้วัดที่ดูการแกว่งของราคาอย่าง oscillators ซึ่งถือว่าเป็นอีกตัวแปรหนึ่ง และถ้าปริมาณการซื้อขายลดลงจริงๆ ในขณะที่มีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มเช่นในรูปที่ 6-21 นอกจากหลักฐานเชิงบวกจะหายไปแล้วมันยังเป็นเป็นปัจจัยลบที่แท้จริง

รูปที่ 6-22 เป็นการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside จากรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า และปริมาณการซื้อขายมีการหดตัวเหมือนกันในระหว่างการพัฒนารูปแบบราคาเหมือนกับที่แสดงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น อย่างไรก็ตามลักษณะการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside มีความสำคัญน้อย เนื่องจากเป็นเรื่องปกติที่ปริมาณการซื้อขายจะหดตัวเนื่องจากราคาลดลง ดังนั้นการหดตัวของปริมาณการซื้อขายในขณะที่มีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จึงเป็นเรื่องปกติมาก แล้วอะไรเล่าที่ถือว่าไม่ปกติ?  นั่นคือปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง ซึ่งบ่งบอกว่าผู้ชายมีแรงจูงใจมากขึ้นและรูปแบบราคาจะมีแนวโน้มไปในทางลบมากขึ้น

รูปที่ 6-22 ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นขณะมีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside เป็นขาลง

บ่อยครั้งที่ราคาจะมีการกลับตัวและสร้างการฟื้นตัวเล็ก ๆ หรือที่เรียดกว่าการย่อตัวที่เพิ่มขึ้นหลังจากการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside (รูปที่ 6-23) การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจะสม่ำเสมอพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลง ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าเป็นขาลง  และมันจะหยุดที่ปลายของเส้นกรอบล่างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งตอนนี้กลายเป็นเขตแนวต้าน ซึ่งก็เหมือนกันกับปริมาณซื้อขายที่กำลังลดลงพร้อมกับการย่อตัวที่เกิดขึ้นตามการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside

 

รูปที่ 6-23 ปริมาณการซื้อขายควรหดตัวขณะที่เส้นราคามีการย่อตัวขึ้นไป

 

 

[ตอนที่ 24] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

รูปที่ 6-24 เป็นตัวอย่างความผันผวนของราคาและปริมาณการซื้อขายที่หดตัวลงอย่างมาก การเกิดขึ้นพร้อมกันนี้บ่งชี้ถึงความสมดุลที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่มีอยู่ตลอดช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วราคาเป้าหมายจะพิจารณาจากความลึกของรูปแบบราคา ในกรณีนี้แม้ว่าสถานการณ์อุปสงค์/อุปทานที่สมดุลจะตามมาด้วยการเคลื่อนไหวที่ใหญ่มากและรุนแรงกว่าที่ระบุได้จากเทคนิคการวัดทั่วไป รูปที่ 6-24 แสดงการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside อย่างรุนแรง แต่หลักการของการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณการซื้อขายจะตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นขนานใหญ่ขนาดใหญ่เทียบเท่ากับการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside  เช่นกัน ในสถานการณ์เช่นนี้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากอย่างทันทีทันใด เปลี่ยนจากการที่ไม่มีใครสนใจไปเป็นผู้ซื้อไม่สามารถซื้อหุ้นได้ตามจำนวนที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นราคาใดก็ตาม ซึ่งนั่นคือส่วนประกอบสำหรับการเริ่มต้นของการไล่ราคาเพื่อซื้อหุ้นอย่างรวดเร็ว  ตัวอย่างแสดงใน Chart 6-3 สำหรับ St. Jude Medical ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีกรอบแคบมากๆ ที่พัฒนาไปพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นปริมาณการซื้อขายได้เพิ่มขึ้นตามมาด้วยการไล่ราคาเพื่อซื้อหุ้นในระยะสั้นแต่รวดเร็ว

 

 

รูปที่ 6-24 รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีกรอบแคบและแทบไม่มีปริมาณการซื้อขายมักตามมาด้วยการเคลื่อนไหวของราคาอย่างรุนแรง

Chart 6-3 ราคารายวันของ St. Jude Medical

 

สรุป

• ลักษณะของราคา: เป็น trading range ที่มีขอบเขตเป็นเส้นแนวโน้มคู่ขนาน

• การพิจารณาปริมาณการซื้อขาย: ปริมาณการซื้อขายที่หดตัวในขณะที่มีการฟอร์มตัวของรูปแบบราคา มันจะดีกว่าถ้ามันเพิ่มขึ้นในขณะที่เส้นราคามีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside ; และไม่มีความสำคัญในขณะที่เส้นราคามีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside 

• ความหมายของการวัด: เป็นความลึกของรูปแบบราคาที่ถูกกำหนดตามทิศทางของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มเริ่มจากจุดที่ทะลุ

• สัญญาณผิดพลาดของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม: การหดตัวของปริมาณการซื้อขายในขณะที่เส้นราคามีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside

•เกณฑ์มาตรฐานสำหรับ upsidefailure: ราคาร่วงกลับไปอยู่ในกรอบของรูปแบบและการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มต่ำกว่าจุดต่ำสุดรองก่อนหน้านี้, ราคาทะลุเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่เชื่อมกับจุดต่ำสุดรองก่อนหน้านี้ หรือเส้นราคาที่หลุดลงไปต่ำกว่าระดับ 50% ของรูปแบบราคา

• เกณฑ์มาตรฐานสำหรับ downside failure: ราคาย่อตัวกลับขึ้นไปอยู่ในกรอบของรูปแบบและทะลุเหนือจุดสูงสุดรองก่อนหน้า, ราคาทะลุเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่เชื่อมจุดสูงสุดรองก่อนหน้านี้ หรือฝ่าขึ้นไปเหนือระดับ 50% ของรูปแบบราคา

*********จบบทที่ 6************

[ตอนที่ 25] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

7. รูปแบบหัวและไหล่ (Head and Shoulders)

รูปแบบหัวและไหล่ head-and-shoulders (H & S) น่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุดในบรรดารูปแบบราคาที่มีอยู่ทั้งหมด เพราะเป็นการฟอร์มตัวที่จุดสูงสุด/จุดต่ำสุดเหมือนการฟอร์มการกลับตัวและเกิดขึ้นในแนวโน้มระยะต่อเนื่องหรือระยะแบบรวบรวมกำลังซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบราคาอื่นๆ อย่างรูปแบบสามเหลี่ยมแล้ว  H & S ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

รูปแบบ Head and Shoulders เป็นรูปแบบการกลับตัว

ในรูปที่ 7-1 แสดงรูปแบบการกลับตัวที่จุดสูงสุดของระยะการแจกจ่ายที่มีลักษณะเป็นหัวและไหล่ H & S ประกอบด้วยการไล่ราคาขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย (หัว) อยู่ตรงกลางที่แยกระหว่างยอดสองยอดที่ต่ำกว่าแต่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน (ไหล่ซ้ายและขวา)  ถ้าไหล่ทั้งสองอยู่ในแนวโน้มระยะกลางแล้ว ไหล่อันแรกจะเป็นการไล่ราคาขึ้นไปก่อนครั้งสุดท้ายในตลาดกระทิง, หัวจะเป็นการไล่ราคาขึ้นครั้งสุดท้ายสำหรับแนวโน้มระยะกลางในตลาดกระทิง และไหล่อันที่สองจะเป็นการไล่ราคาเป็นครั้งแรกในตลาดหมี ส่วนเส้นที่ลากเชื่อมระหว่างจุดต่ำสุดของไหล่ทั้งสองเรียกว่าเส้นคอ neckline  ซึ่งเมื่อมันถูกฝ่าทะลุลงไป แสดงว่าเป็นรูปแบบนี้ได้สิ้นสุดสมบูรณ์แล้วและให้สัญญาณการกลับตัว ซึ่งในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งจะต้องมีรูปแบบH & S ด้านบน ( H & S Top) เกิดขึ้นมาก่อนเพื่อยืนยันความถูกต้องของสัญญาณการกลับตัว

รูปที่ 7-1 รูปแบบคลาสสิกของHead-and-Shoulders ด้านบน

ลักษณะของปริมาณการซื้อขายในรูปที่ 7-2 มีความสำคัญต่อการประเมินความถูกต้องในการฟอร์มรูปแบบเหล่านี้ ที่ตรงระหว่างการเกิดไหล่ซ้ายจะมีกิจกรรมการซื้อขายเกิดขึ้นหนาแน่นที่สุดและยังมีแนวโน้มมากขึ้นอีกเมื่อราคาเข้าใกล้จุดสูงสุด ถ้าการไล่ราคาที่ไหล่ซ้ายเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับมีปริมาณการซื้อขายหนาแน่นกว่าที่ส่วนหัวมารองรับก็จะสอดคล้องกับหลักการที่กล่าวเอาไว้ในบทที่ 5 ที่ว่าปริมาณการซื้อขายเป็นตัวนำราคา สัญญาณเตือนแท้จริงจะเห็นรูปแบบ H & S มีการพัฒนาพร้อมกับการฟอร์มไหล่ขวาที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำกว่าส่วนหัวและไหล่ซ้ายอย่างชัดเจน ทั้งนี้ โดยทฤษฎีแล้ว ระดับปริมาณการซื้อขายจะหดตัวเมื่อไหล่ขวาขยายตัวสูงขึ้นไป ส่วนมากแล้วถึงลักษณะของปริมาณการซื้อขายจะแตกต่างจากที่อธิบายไว้ในที่นี้ก็ตามแต่รูปแบบก็ยังคง "ใช้งานได้" ทั้งหมดนี้เราแค่ใช้ปริมาณการซื้อขายเป็นแนวทางที่ใช้ประกอบการประเมินเท่านั้น ถ้าหากว่ามีปริมาณการซื้อขายเกิดขึ้นตรงตามหลักการก็ยิ่งแสดงว่ารูปแบบการฟอร์มตัวนั้นสามารถนำไปใช้งานได้ดีกว่าเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีปริมาณการซื้อขายตามหลักการมารองรับก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องทิ้งไปเลยไม่เอามาพิจารณา เพราะคุณยังสามารถระบุราคาปัจจุบันและพฤติกรรมการซื้อขายที่เป็นตัวแทนของรูปแบบ H & Sด้านบน มาเป็นแนวทางในการคาดการณ์การสิ้นสุดของรูปแบบได้อยู่

รูปที่ 7-2 รูปแบบคลาสสิกของ head-and-shoulders ด้านบน กับปริมาณการซื้อขาย

รูปที่ 7-2 แสดงให้เห็นว่าการทะลุผ่านเส้น neckline  เป็นการให้สัญญาณว่าชุด peaks and troughs ที่สูงขึ้นในก่อนหน้านี้จะลดลงอย่างน้อยหนึ่งรอบ  โดยไหล่ขวาจะกลายเป็น peak แรก และจุดต่ำสุดของมันจะลดลงมาจนทะลุผ่านเส้น neckline  ลงมา (breakdown) จนได้จุดต่ำสุด trough  ใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม

[ตอนที่ 26] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

เหตุผลทางจิตวิทยาของการฟอร์มรูปแบบ H & S

จิตวิทยาพื้นฐานของการฟอร์มตัวรูปแบบหัวและไหล่H & S  จะขึ้นอยู่กับกรอบเวลาอย่างมาก ถ้ามันพัฒนาบนกราฟรายสัปดาห์ที่ราคาไต่ขึ้นมาหลายเดือนหรือยืดเยื้อมานาน จิตวิทยาฝูงชนก็จะเชื่อมั่นว่านี่เป็นตลาดขาขึ้นได้มากกว่ารูปแบบเดียวกันนี้อยู่บนกราฟ 10 นาที

ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลก เพราะรูปแบบ H & S ที่ส่งสัญญาณขาลงบนกราฟรายสัปดาห์ย่อมมีความสำคัญกว่าอยู่แล้ว เนื่องจากในเชิงจิตวิทยานั้น การแกว่งตัวทางจิตวิทยาที่เป็นขาขึ้นจะใช้เวลายาวนานกว่าการแกว่งตัวไปเป็นขาลงอย่างรุนแรงจากที่คาดว่าจะมีการกลับตัวเป็นขาขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะทั่วไปในการพัฒนารูปแบบเหล่านี้ที่นำไปใช้กับกรอบเวลาทั้งหมด ส่วนที่แตกต่างก็คือด้วยรูปแบบที่ขนาดเล็กกว่าบนกราฟระหว่างวันจะเห็นเพียงชั่วครู่แล้วก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ถ้านำกราฟหลายปีไปวางไว้บนกราฟรายเดือนก็จะได้รูปแบบที่ไม่ครบถ้วน

ลองคิดว่าถ้าเราลองเอารูปแบบนี้ไปวางไว้บนกราฟรายวัน  ในรูปที่ 7-1 ถึงแม้ไหล่ซ้ายจะสิ้นสุดการทำราคาขึ้นไปอย่างสวยงามแล้วก็ตาม แต่ในแง่จิตวิทยาคนจะคิดว่ามันยังเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งอยู่ ถึงการพัฒนารูปแบบจะถดถอยและราคาที่ไหล่ซ้ายจะลดลง แต่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดยังหวังว่ามันจะยังเป็นแนวโน้มของขาขึ้นต่อไป ในหลายๆ กรณี การไล่ราคาที่ขึ้นไปจะฟอร์มตัวเป็นรูปหัวขนาดใหญ่มาก เนื่องจากราคาที่พุ่งสูงขึ้นสนับสนุนความเชื่อมั่นว่าเป็นขาขึ้นฝูงชนเลยดูค่อนข้างมีความสุขที่ได้อยู่บนยอดดอยสูงสุด และบ่อยครั้งที่ระดับปริมาณการซื้อขายของส่วนหัวจะต่ำกว่าการไล่ราคาของไหล่ซ้าย นี่คือสัญญาณว่าภายใต้สิ่งที่เห็นกลับมีแรงซื้อมารองรับน้อยกว่ากรณีก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ถ้าคุณกำลังติดตามดัชนีวัดการแกว่ง มันก็อาจจะฟอร์มรูปแบบเป็น  negative divergence ระหว่างการไล่ราคาขึ้นสองครั้ง ดังนั้นมันจึงเป็นการบ่งชี้ปัญหาอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ [สำหรับคำอธิบายที่สมบูรณ์ของดัชนีวัดการแกว่ง โปรดดู Martin Pring Market Momentum (McGraw-Hill, 2002) workbook/CO-ROM tutorial.]  ความขัดแย้งของปริมาณการซื้อขายและดัชนีวัดการแกว่ง ไม่ใช่สัญญาณการขายแต่เป็นคำเตือนมากกว่าว่าราคามีความเสี่ยงสูง ในกรณีของสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มจากตัวมันเอง

เมื่อการไล่ราคาที่ส่วนหัวจบลง ราคาจะตกกลับมาอยู่ที่เส้นแนวรับบริเวณราคาต่ำสุดก่อนหน้านี้ ซึ่งที่จุดนี้ ผู้ซื้อที่ตกรถจะเริ่มกล้าเข้ามาซื้อในตลาด แน่นอนว่าถ้าราคาเคยเริ่มขึ้นจากระดับนี้มาก่อนมันก็จะกลายเป็นราคาต่อรองและดีดตัวกลับขึ้นไปอีกครั้ง ส่วนผู้ที่ถือหลักทรัพย์ก็จะรู้สึกเหมือนกันเลยไม่ค่อยอยากจะขาย  ราคาที่ขึ้นแต่ละครั้งก็จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุให้ต้องกังวลว่าราคาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะมีแนวโน้มผิดแผกไปจากที่คาด อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวราคาในแต่ละครั้งค่อนข้างอ่อนแอ ปริมาณการซื้อขายจะหดตัวเมื่อราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บ่งชี้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นมาจากการที่ไม่มีแรงเทขายมากกว่าการเข้ามาของแรงซื้อ   เมื่อการขายเริ่มสะสมขึ้นราคาจะขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของไหล่ขวาและเริ่มไถลลง ฝั่งผู้มีส่วนร่วมในตลาดยังมองเห็นเป็นขาขึ้นและคิดว่าราคาจะถอยลงไปก่อนดีดตัวกลับขึ้นไปหาจุดสูงสุดใหม่  แต่สำหรับฝั่งนักวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้ว การที่ปริมาณซื้อขายลดลงพร้อมกับราคาเพิ่มขึ้นที่ไหล่ขวาถือว่าเป็นสัญญาณของขาลงแล้วเพราะเมื่อดูจากปริมาณการซื้อขายที่ต่ำกว่าไหล่ซ้ายและหัวแสดงว่ามันมีอาการอ่อนล้าลงเป็นอย่างมาก ในที่สุดเมื่อราคาร่วงลงต่ำกว่าระดับจุดต่ำสุดทั้งสองก่อนหน้านี้ ก็หมายความว่าผู้ซื้อจำนวนมากขาดทุนไปแล้ว ในสถานการณ์อย่างนี้ ถึงจะมีคนขายแต่ก็มองไม่เห็นว่าจะมีใครกล้าซื้อ   ราคาอาจมีโอกาสดีดตัวขึ้นบ้างถ้ามีข่าวดีและคนมีความรู้สึกว่ามันจะเป็นขาขึ้น แต่ถ้ามีข่าวร้ายราคาก็ร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้เราอาจเห็นราคาไต่ระดับขึ้นอย่างรวดเร็วและทำแนวโน้มขาลงแบบซิกแซก (ให้ความหวังสลับกับความสิ้นหวัง) ไปพร้อมกับราคาที่ค่อยๆ ลดลง

คนสามารถทำและเปลี่ยนความคิดของพวกเขาได้และเหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลนี้ รูปแบบH & S ด้านบนจำนวนมากพอสมควรจะถูก cancelled out เมื่อฐานเกิดขึ้นต่ำกว่าเส้น neckline  จากนั้นจิตวิทยาขาลงที่ เกี่ยวข้องกับการทะลุแนวรับลงไปของ H & S จะถูกแทนที่ด้วยความเชื่อมั่นเชิงบวกที่เกิดจากการทำราคาจากฐานทะลุผ่านขึ้นไป จากนั้นราคาก็จะขึ้นอย่างอิสระอีกครั้งแต่มากกว่าเดิม

ความหมายของการวัด

สูตรการวัดสำหรับการฟอร์มราคาคือความลึกสูงสุดของรูปแบบซึ่งในกรณีของ H & S จะเป็นระยะห่างระหว่างจุดสูงสุดของส่วนหัวกับเส้น neckline โดยราคาเป้าหมายนี้จะเป็นการลากลงมาจาก neckline ตรงจุดที่ราคาหลุดผ่านแนวรับลงมา (รูปที่ 7-3)

เมื่อการฟอร์มรูปแบบเสร็จสิ้น ยิ่งรูปแบบมีความลึกเท่าใด แนวโน้มขาลงของมันก็ยิ่งมีนัยสำคัญมากขึ้น บางครั้งการเสร็จสิ้นรูปแบบ H & S จะตามมาด้วยแนวโน้มขาลงที่ค่อนข้างกว้าง นั่นคือผลกระทบเชิงลบของรูปแบบจะยุติอย่างรวดเร็วโดย ซึ่งหมายความว่าคุณไม่ควรคาดหวังว่าการที่ราคาหลุดผ่านแนวรับลงมาจะทำให้คุณได้กำไรก้อนใหญ่ทุกครั้ง (จากฝั่ง short) และควรระลึกไว้เสมอในยามที่สภาวะทางเทคนิคมีการเปลี่ยนแปลง

 

 

รูปที่ 7-3 ความหมายของการวัดรูปแบบ Head-and-shoulders ด้านบน

[ตอนที่ 27] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

สเกลลอกาลิทึม (อัตราส่วน) เปรียบเทียบกับสเกลเลขคณิต 

สำหรับกราฟระยะยาว การเลือกระหว่างสเกลลอกาลิทึมกับสเกลเลขคณิตเป็นเรื่องสำคัญมาก ในกรณีที่ราคามีการเคลื่อนไหวขนานใหญ่แล้วเรายิ่งต้องพิจารณาในเรื่องของราคาเป้าหมายที่แตกต่างกันด้วย Chart 7-1 และ 7-2 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน Chart 7-1 แสดงกราฟอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนอายุสามเดือนที่พล๊อตด้วยสเกลเลขคณิต เส้นลูกศรที่ลากลงมาของ H & S จะได้อัตราผลตอบแทนที่ลดลงเป็นเลขติดลบ เห็นได้ชัดว่านี่เป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ (ผมใช่คำว่าไม่น่าเป็นไปได้เพราะในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ Switzerland เคยมีอัตราผลตอบแทบติดลบเพื่อกีดกันชาวต่างชาติจากการลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินฟรังก์สวิส) ในทางกลับกัน Chart 7 -2 เป็นกราฟที่พล๊อตด้วยสเกลลอกาลิทึม จะสังเกตได้ว่าราคาเป้าหมายขาลงนั้นใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า เพราะจะได้ ผลตอบแทนที่ลดลงลงถึงแนวรับของมันในเวลาที่ตกต่ำในช่วงปี 1940

Chart 7-1 อัตราผลตอบแทนรายเดือนของตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชน ระหว่างปี 1910-2003 ที่พล๊อตด้วยสเกลเลขคณิต

 

 

Chart 7-2 อัตราผลตอบแทนรายเดือนของตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชน ระหว่างปี 1910-2003 ที่พล๊อตด้วยสเกลลอกาลิทึม

 

 

เราเรียกราคาเป้าหมายดังกล่าวนี้ว่า "ราคาเป้าหมายขั้นต่ำสุด" เพราะราคาที่เกิดขึ้นจริงมักจะลงลึกไปเกินกว่านั้นและแน่นอนราคาพวกนี้มักจะเพิ่มขึ้นเป็นเลขทวีคูณ Chart 7-3 ของพันธบัตรรัฐบาลของเยอรมัน (Bund) แสดงให้เห็นว่าราคาได้ลดลงถึงสามเท่าของราคาเป้าหมาย และเส้นแนวขนานแรกที่เป็นราคาเป้าหมายได้กลายเป็นแนวต้านในกรณีที่ราคามีการปรับตัวขึ้น ดังนั้นแนวทางที่ใช้ได้ดีในการหาบริเวนที่อาจเป็นแนวรับหลังจากมีการทำราคาทะลุผ่าน รูปแบบ H & S ในขาลงก็คือการวัดระยะ หัว/เส้น neckline เป็นราคาเป้าหมายที่มีอยู่หลายราคา แต่ปัญหาก็คือคุณไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าราคาเป้าหมายที่มีอยู่หลายราคานั้น ราคาใดที่จะกลายเป็นแนวรับ

Chart 7-3 ราคารายสัปดาห์สำหรับพันธบัตรรัฐบาลของเยอรมัน ในระหว่างปี 1998-2003

 

 

[ตอนที่ 28] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

การเปรียบเทียบกราฟแท่งกับกราฟเส้นหรือกราฟราคาปิด

กราฟแท่งมีข้อดีตรงที่พฤติกรรมของราคาทั้งหมดจะเกิดอยู่แต่ในช่วงเวลาที่ชัดเจน แต่ก็มีปัญหาตรงที่ราคามักขึ้นอยู่กับข่าวลือและเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนซึ่งแทบไม่เกี่ยวข้องเลยกับแนวโน้ม กราฟแท่งจึงมีความอ่อนไหวจนทำให้การเคลื่อนไหวของราคาผิดพลาดหรือเกิดความเข้าใจผิดได้มากขึ้น

ส่วนกราฟเส้นนั้นมีข้อเสียคือมันจะไม่มีการป้องกันสัญญาณ  whipsaw แต่มันสามารถกรองออกไปได้มากพอสมควร  และกราฟราคาปิดแบบนี้มักสามารถระบุรูปแบบราคาได้ง่ายกว่า เนื่องจากมันจะแสดงเป็นแนวโน้มอ้างอิงเป็นรูปกราฟิกที่ดูง่ายกว่า  Charts 7-4 และ 7-5   แสดงกราฟแท่งและกราฟเส้นในช่วงเวลาเดียวกันของ  XL Capital  ซึ่งเห็น whipsaws 2 ชุดอยู่ในการฟอร์มตัว H & Sในกราฟแท่ง (Charts 7-4) ในขณะที่เราจะไม่สามารถเห็นมันในกราฟราคาปิด

Chart 7-4 ราคารายสัปดาห์ของ XL Capital ในระหว่างปี 1997-2002

 

 

Chart 7-5 ราคารายสัปดาห์ของ XL Capital ในระหว่างปี 1997-2002

 

 

การลากเส้น neckline ของ H & S กลับหัว ( reverse H & S) บนกราฟราคาปิดจะทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากเป็นเส้นแนวระนาบและมีความสำคัญมากกว่า

บ่อยครั้งที่ผู้ขายสังเกตการฟอร์มตัวของรูปแบบ H & S ด้านบนและทำนายจุดที่เส้นราคาหลุดผ่านแนวรับลงมา ซึ่งไม่ใช่เทคนิคที่ถูกต้องนักเพราะมันมีหลักฐานมารองรับเพียงอย่างเดียวและเราจะไม่มีวันรู้จนกว่าจะเห็นทีหลังว่าแนวโน้มจะยังดำเนินต่อไปหรือไม่ หรือสัญญาณการกลับตัวมาจากราคาที่ราคาทะลุลงไปต่ำกว่าเส้น neckline อย่างเด็ดขาดหรือไม่  แต่มันจะสามารถใช้งานได้ดีขึ้นถ้ามีตัวบ่งชี้อื่นอีกหลายๆ ตัว มาสนับสนุนทิศทางของการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม อย่างไรก็ตามถึงรูปแบบราคาที่ไม่สมบูรณ์จะไม่สามารถบ่งบอกถึงการกลับตัวของแนวโน้มได้ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมก็เห็นว่ามีนักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์แนวโน้มขาลงจาก H & S ด้านบน ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ ดังนั้นผมจึงอยากจะขอให้จำไว้ว่าในการวิเคราะห์กราฟเชิงเทคนิค แนวโน้มที่มีอยู่จะถือว่ายังไม่น่าเชื่อถือจนกว่าจะได้มีหลักฐานที่มีน้ำหนักอื่นมาพิสูจน์รองรับ และ H & S ด้านบนที่ไม่สมบูรณ์ จะยังไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแต่เป็นเพียงสถานการณ์หนึ่งที่อาจเป็นไปได้เท่านั้น

รูปแบบ H & S อาจเกิดขึ้นได้ใน 10 ถึง 15 นาทีหรือใช้เวลาหลายทศวรรษในการพัฒนา โดยทั่วไปยิ่งมีระยะเวลาที่ยาวนานมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีจำนวนของรูปแบบการกลับตัวที่จุดสูงสุด (ระยะการแจกจ่าย Distribution) มากตามไปด้วย และมันก็ยิ่งยืนยันแนวโน้มขาลงที่ยาวนานขึ้นเช่นกัน การฟอร์มรูปแบบ H & S ที่มีขนาดใหญ่กว่ามักซับซ้อนมากกว่าและประกอบด้วยรูปแบบ H & S ขนาดเล็กจำนวนมาก ดังที่แสดงในรูปที่ 7-6

 

 

[ตอนที่ 29] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

รูปแบบ H&S ที่มีความชันลาดขึ้น/ลาดลง

รูปแบบ H & S ที่แสดงในรูปที่ 7-1และ 7-2(ตอนที่ 25) เป็นเส้น neckline แนวขนาน แต่ก็ยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายที่ให้ความหมายว่าเป็นขาลงเหมือนกันเมื่อความหลากหลายของเส้นแนวขนานเมื่อรูปแบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์

เมื่อเส้น  neckline  ในแนวขนานของรูปแบบ H & Sถูกละเมิด (ถูกฝ่า) ก็จะส่งสัญญาณเป็นชุดของ  peaks and troughs ที่ลดลง แต่ไม่ใช่กับรูปแบบH & S ที่มีความชันลาดขึ้น  upward-sloping ตามรูปที่ 7-4 เนื่องจากราคาที่ทะลุลงไปยังอยู่สูงกว่าราคาต่ำสุดก่อนหน้านี้ ในทำนองเดียวกัน ชุดของ  peaks and troughs ที่ลดลงจะอยู่ในแนวเดียวกับการเคลื่อนไหวของราคาก่อนหน้าในกรณีที่เส้น neckline ถูกละเมิดนั้นเป็นของรูปแบบ H & S ที่มีความชันลาดลงdownward-sloping

ใน Chart 7-3 (ตอนที่ 27) เป็นรูปแบบ upward-sloping  ของพันธบัตรรัฐบาลของเยอรมัน (Bund)   และ Chart 7-6 เป็นรูปแบบ downward-sloping ของ Union Planter  ในกรณีนี้ราคาได้ลดลงเป็นสี่เท่าของราคาเป้าหมายที่วัดได้ ในแง่ของราคาเป้าหมายที่แท้จริง การฟอร์ม downward-sloping สำหรับความลึกใดก็ตามที่กำหนดไว้จะให้สัญญาณแนวโน้มขาลงที่ชัดเจนกว่าเส้น neckline  ในแนวขนานหรือ upward-sloping นี่ก็เพราะว่าการทะลุเส้น neckline  ลงมา (breakdown) เกิดขึ้นที่จุดต่ำสุดของรูปแบบ และเช่นเดียวกัน เราเองต้องระวังเส้น neckline ที่มีความชันของมุมลาดลงมากๆ เพราะมันมีแนวโน้มที่จะตามมาด้วยสัญญาณทะลุแบบหลอกๆ ที่เรียกว่า false break

นี่เป็นส่วนขยายจากกฎเกี่ยวกับความชันของมุมเอียงขึ้นหรือมุมลาดลงของเส้นแนวโน้ม (angle of ascent/descent) ที่กล่าวไว้ในบทที่ 4 อย่างไรก็ตามเส้น neckline ก็ไม่ได้มีความหมายใดมากไปกว่าการเป็นเส้นแนวโน้มพิเศษ

 

 

รูปที่ 7-4 รูปแบบ head and shoulders ที่มีความชันแบบ upward-sloping 

 

 

รูปที่ 7-5 รูปแบบ head and shoulders ที่มีความชันแบบ Downward-sloping 

Chart 7-6 ราคารายสัปดาห์ของ Union Planter ในระหว่างปี 1986- 2000

 

[ตอนที่ 30] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

รูปแบบ H&S ที่ซับซ้อน

ในบางครั้งการต่อสู้กันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจะมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ และทำให้เกิดการฟอร์มตัวของรูปแบบที่เราเรียกว่ารูปแบบหัวและไหล่ที่ซับซ้อน complex head-and­ shoulders (complex H & S) ซึ่งไหล่ขวาหรือซ้ายอาจจะมีมากกว่าหนึ่งยอด หรือส่วนหัวก็อาจมีรูปแบบ H & S ด้านบนซ้อนอยู่ในตัวของมันเอง ซึ่งในทางทฤษฎียังไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องมีรูปแบบย่อยจำนวนเท่าใดเช่นกัน ในรูปที่ 7-6  เป็นรูปแบบที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงมาก และใน Chart 7-7 ของ Watson Pharmaceutical จะเป็นรูปแบบ H&S  ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพราะประกอบด้วยไหล่ซ้ายและขวาข้างละ 2 ยอด  และยังมีเส้นประแนวโน้มเป็นเส้น neckline ของรูปแบบย่อยของ H & S ด้านบนขนาดเล็กที่ฟอร์มตัวเป็นรูปส่วนหัว ตามกฎทั่วไปยิ่งรูปแบบมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเท่าใดการต่อสู้ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นและเป็นการให้สัญญาณแนวโน้มใหม่ที่สำคัญ

 

 

รูปที่ 7-6 รูปแบบ head and shoulders ด้านบน ที่ซับซ้อน

Chart 7-7 ราคารายวันของ Watson Pharmaceutical ในระหว่างปี  1999-2002

 

ลักษณะของการฟอร์มรูปแบบ H & S

การฟอร์มรูปแบบ H & S อาจเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะที่แตกต่างกัน  เนื่องจากจุดที่ราคาหลุดผ่านลงมาเป็นจุดหนึ่งที่มีความสำคัญ ดังนั้นลักษณะของไหล่ขวาจะต้องได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เพราะนี่คือทางลับที่ราคาจะทะลุผ่านลงๆ ไปได้ รูปที่ 7-7 แสดงลักษณะการต่อสู้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เป็นไปได้ 3 แบบ ผมเรียกตัวอย่าง A ว่า "การเขย่าไหล่ขวา" ซึ่งมันคล้ายกับว่าไหล่กำลังพัฒนาในทิศทางที่ควบคุมได้พอประมาณ จากนั้นราคาก็จะทะลุแบบหลอกๆ  ไปอยู่เหนือเส้นแนวต้านในชั่วขณะหนึ่ง  ทั้งนี้สัญญาณหลอก whipsaw นี้เป็นเหมือนกับสถานการณ์ตื่นตระหนกในตลาดกระทิงและตลาดหมี และเนื่องจากความผันผวนที่ไม่พึงประสงค์นี้มีผลให้เส้นแนวโน้มลาดลงแบบผิดปกติ ดังตัวอย่างใน Chart 7-8 ของ Anheuser Busch ก่อนมีการถล่มตลาดหลักทรัพย์ ในปี 1987 จะเห็นราคาบนไหล่ขวาทะลุเส้นประแนวโน้มขึ้นไปแบบหลอกๆ ตามมาด้วยราคาที่ร่วงลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นกิจกรรมการซื้อขายก็จะเงียบมาก ราคาแทบไม่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงปริมาณการซื้อขายหดตัวจนแทบจะไม่มีซึ่งแสดงว่ามีความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อย่างไรก็ตามมันเป็นความสงบก่อนที่พายุจะมา เพราะท้ายที่สุดเมื่อสิ้นสุดการฟอร์มรูปแบบอย่างสมบูรณ์แล้วและราคาก็จะร่วงลงอย่างรวดเร็ว

รูปที่ 7-7 รูปแบบ Head-and-shoulders ด้านบน ในรูปแบบต่างๆ

[ตอนที่ 31] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

Chart  7-8 ราคารายวันของ Anheuser Busch

ตัวอย่าง B ในรูปที่ 7-7 มีความไม่แน่นอนจำนวนมากจนทำให้ราคาร่วงลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา ปัญหาของการมี trading range กว้างก็คือการหลุดแนวรับลงมา (breakdown) มักเกิดขึ้นหลังจากราคามีพฤติกรรมผันผวนขึ้นลงสลับกัน ดังนั้นในขณะที่ได้ผลกำไรสูงสุดจากการเปิดสถานะขาย (short) ที่มักให้ผลตอบแทนดีเสมอ แต่ราคาที่ผันผวนราวกับรถไฟเหาะอย่างนั้นก็สร้างความเสี่ยงสูงที่เขย่าขวัญสุดๆ เช่นกัน ดังในรูปที่การลดลงของราคาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม Chart 7-9 สำหรับ Baker Hughes แสดงให้สิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ เมื่อพฤติกรรมราคามีความผันผวนขึ้นลงสลับกันอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี 1998 ได้ทิ้งหลักการทางเหตุผลในการที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ/แนวต้านไปอย่างสิ้นเชิง (เป็นความสับสน)

Chart 7-9 ราคารายวันของ Baker Hughes ในระหว่างปี 1997-1999

ตัวอย่าง C ในรูปที่ 7-7 ไหล่ขวามีการควบคุมมากขึ้น รูปแบบราคาจะฟอร์มตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม (ดูบทที่ 9 สำหรับรูปแบบราคาเป็นรูปสามเหลี่ยม) ที่สามารถประสานประโยชน์จากสิ่งที่แตกต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน ประการแรกคุณจะเห็นว่าการไล่ราคาค่อยๆ อ่อนแรงลงเรื่อยๆ ประการที่สองเส้นแนวโน้มที่ต่ำลงบ่งบอกถึงการมีเกณฑ์ที่ดีสำหรับการขายหรือเปิดสถานะขาย ( short) และประการสุดท้าย ในกรณีที่เป็น triangle falls มันก็จะมีจุดใกล้ๆ ที่สามารถตั้งเป็น Intelligent stop ได้ นั่นคือจุดที่อยู่เหนือเส้นแนวโน้มกรอบบนเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ลักษณะที่ลู่เข้าหากันของเส้นแนวโน้มยังแสดงถึงความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ถ้าราคาเอื้อประโยชน์ต่อผู้ขายความแรงของสัญญาณแนวโน้มขาลงที่แฝงอยู่จะบ่งชี้โอกาสที่ราคาจะลดลงอย่างรวดเร็ว  ลักษณะ H & S ที่มีความชันแบบ upward-sloping จะแสดงอยู่ใน Chart  7-10 ของ J.P.Morgan โดยที่ไหล่ขวาของมันค่อนข้างเป็นรูปแบบที่ซับซ้อน  และที่ยอดสูงสุดของมันก็มีรูปแบบ H & S ขนาดเล็กแทรกอยู่โดยมีการไล่ราคาขึ้นที่ไหล่ซ้ายในช่วงเดือนเมษายนและที่ไหล่ขวาจะเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมภายในกรอบเส้นประแนวโน้มสองเส้น โดยทั่วไปเมื่อคุณได้รูปแบบที่ซับซ้อนของ H & S นั่นคือคุณเห็นการต่อสู้ที่มีนัยสำคัญระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในกรณีนี้ถ้าผู้ขายเป็นฝ่ายชนะก็จะทำให้ราคาร่วงลงอย่างรวดเร็ว

Chart 7-10 ราคาของ J.P.Morgan ในระหว่างปี 2000-2002

[ตอนที่ 32] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

รูปแบบ Head and Shoulders กลับหัวหรือกลับด้าน

รูปแบบ H & S ยังมีการฟอร์มตัวที่จุดต่ำสุดของตลาด ตามตัวอย่างในรูปที่ 7-8 ซึ่งรูปแบบนี้มักเรียกว่า H & S กลับหัว (reverse H & S),  H&S กลับด้าน (inverse H & S) หรือ H & S ด้านล่าง (H & S  bottom) ประกอบด้วยยอดต่ำสุดครั้งสุดท้ายที่แยกไหล่สองข้างที่เล็กกว่าออกจากกัน

รูปที่ 7-8 รูปแบบคลาสสิกของ head-and-shoulders กลับหัว

โดยปกติ ปริมาณการซื้อขายจะค่อนข้างหนาแน่นที่จุดต่ำสุดของไหล่ซ้าย   (รูปที่ 7-9) และระหว่างการฟอร์มส่วนหัว ปริมาณซื้อขายสำคัญจะพิจารณาที่ไหล่ขวาซึ่งมันควรจะหดตัวในช่วงที่ราคาร่วงลงไปอยู่จุดต่ำสุด และควรขยายตัวอย่างมากเมื่อราคาทะลุผ่านขึ้นไป (breakout) ทั้งนี้ รูปแบบ H & S กลับด้าน (ระยะสะสม accumulation) ก็เหมือน รูปแบบ H & S  ระยะแจกจ่าย ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในพื้นที่ดังกล่าวทั้งความลาดชันของเส้นแนวโน้ม, จำนวนของไหล่ และอื่นๆ เช่นเดียวกับH & S  ด้านบน  ยิ่งรูปแบบมีความซับซ้อนมากขึ้นมันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น บางส่วนของรูปแบบ H & S กลับหัวแสดงในรูปที่ 7-10 ถึง 7-12

รูปที่ 7-9 รูปแบบคลาสสิกของ head-and-shoulders กลับหัว กับปริมาณการซื้อขาย

รูปที่ 7-10 รูปแบบ head and shoulders กลับหัว ที่มีความชันแบบ Downward -sloping 

รูปที่ 7-11 รูปแบบhead and shoulders กลับหัว ที่มีความชันแบบ Upward-sloping

รูปที่ 7-12 รูปแบบ head and shoulders  ที่ซับซ้อน

[ตอนที่ 33] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตลาด

ราคาเป้าหมายมาจากหลักการเดียวกับรูปแบบH & S ด้านบน ที่วัดจากความลึกสูงสุดจากจุดที่ราคาทะลุผ่านขึ้นไป breakout จาก Chart 7-11 ของ Aetna Insurance เป็นตัวอย่างที่ดีของรูปแบบ  H & S กลับหัว ซึ่งเป็นรูปแบบที่ซับซ้อนอย่างแท้จริง เพราะถ้าคุณดูให้ดีๆ  ก็จะเห็นว่ามันมีไหล่ขวาสองยอดและไหล่ซ้ายสองยอด ที่น่าสนใจคือราคาเป้าหมายขยับขึ้นถึงที่กำหนดไว้ตั้งแต่การไล่ราคาครั้งแรก แม้ว่าราคาจะขยับขึ้นต่อไปอีกหลังจากนั้นก็ตาม และเส้นประขนาดเล็กที่มีความชันลาดขึ้น  upward-sloping เมื่อชนเข้ากับเส้น  neckline เห็นว่าไหล่ขวาเป็นรูปสามเหลี่ยมสมมาตรที่แท้จริง (ดูบทที่ 2)

Chart 7-11 ราคารายวันของ Aetna ในระหว่างปี1982-1986

 

 

Chart 7-12 แสดงรูปแบบ H & S กลับหัว ของ Alcan ในกราฟนี้จะเห็นว่าส่วนหัวอยู่ในกรอบของเส้นประสองเส้นที่เป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า อีกทั้งยังมีรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีกรูปหนึ่งเกิดขึ้นระหว่างการสร้างไหล่ขวา  จะเห็นว่าปริมาณการซื้อขายยกตัวสูงขึ้นระหว่างการไล่ราคาขึ้นมาจากจุดต่ำสุดสุดท้าย จากนั้นจะหดตัวเมื่อราคามีการปรับฐาน (price correct) และจะขยายตัวเฉพาะเมื่อราคาทะลุผ่านขึ้นไปเท่านั้น ในความเป็นจริงปริมาณการซื้อขายไม่ได้เป็นเหมือนตัวอย่างนี้เสมอไป แต่ถ้ามันมีรูปแบบนี้เกิดขึ้นแสดงว่ามีโอกาสสูงที่จะได้รูปแบบราคาที่ถูกต้อง ในตัวอย่างนี้ราคาเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นไปจะค่อยๆ สูงขึ้นไปก่อนเหตุการณ์ถล่มตลาดในปี 1987

Chart 7-12 ราคารายสัปดาห์ของ Alcan ในระหว่างปี 1983-1987

 

 

อย่างที่ได้ว่ากันไปแล้วทั้งหมด ก็อาจมีการแย้งได้ว่านี่ไม่เห็นจะดูเป็นรูปแบบ H & S  เลย  อย่างที่ไหล่ซ้ายซึ่งส่วนต่ำสุดของมันกลับใกล้เคียงกับส่วนต่ำสุดของส่วนหัวมาก ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็สูงกว่าด้านขวาของส่วนหัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ในทางเทคนิคแล้วนี่ยืนยันว่าเป็นรูปแบบ H & S กลับหัว ที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพราะผมเชื่อว่าการใช้ความรู้สึกมาวิเคราะห์การสร้างรูปแบบราคามีความสำคัญกว่าการเอาแต่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ต่างๆ อย่างเคร่งครัด และพยายามแยกแยะจำแนกสมรภูมิระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในมุมมองของการคาดการณ์การกลับตัวของแนวโน้ม ถึงแม้พฤติกรรมการค้าซื้อขายไม่เป็นไปตามกฎที่กำหนดไว้บ้างแต่มันก็ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรตราบเท่าที่การฟอร์มรูปแบบยังคงใช้งานได้ดี กฎต่างๆ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้นและไม่ได้มีเกณฑ์ตายตัวสำหรับทุกสถานการณ์ แค่คุณจำไว้ว่ามันเป็นเพียงความน่าจะเป็น ไม่ใช่ความแน่นอน ระลึกไว้ว่ารูปแบบที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างสมบูรณ์แบบไม่มีอยู่จริงในเชิงเทคนิค

[ตอนที่ 34] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

จุดต่ำสุดของ Alcan ในปี 1982 ปรากฏอยู่ใน Chart 7-13 มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบนจุดที่ทะลุผ่านขึ้นไป นี่คือสัญญาณจริงเพราะมันบ่งบอกถึงความสนใจในฝั่งของผู้ซื้อที่แข็งแกร่งมากและสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่ดีในแง่จิตวิทยา ถึงแม้ตัวตลาดจะลงมาแตะระดับต่ำสุดในเดือนสิงหาคม แต่หุ้นตัวนี้ได้ลงมารอที่ระดับต่ำสุดก่อนแล้วในเดือนมิถุนายน พอถึงเดือนสิงหาคมไหล่ขวาถึงเริ่มฟอร์มรูปแบบขึ้นทำให้เกิด positive divergence กับภาพรวมของตลาด ซึ่ง divergence ได้รับการยืนยันด้วยการสิ้นสุดสมบูรณ์ของรูปแบบ H & S กลับหัวในเดือนนั้นและราคามีการไต่ระดับเพิ่มขึ้น จนถึงราคาเป้าหมายที่จุดสูงสุดแรก จะสังเกตว่าราคาเปิดกระโดด Gap ในวันที่สองหลังจากทะลุแนวต้านขึ้นมาได้  ซึ่ง gap นี้อาจเกิดได้ทั้งที่บริเวณแนวรับและแนวต้าน  การปรับฐานของราคาในเดือนกันยายนจบลงที่ปลายบนสุดของ gap  และมีความพยายามที่จะปิด gap ตามมาในช่วงท้ายของกราฟ

Chart 7-13  ราคารายสัปดาห์ของ Alcan ในระหว่างปี 1981-1982

 

 

เรามักมีคำถามเกี่ยวกับระดับกิจกรรมของราคาที่ต้องการใช้เพื่อปรับไหล่ขวาหรือซ้าย Chart 7-14 ของ St. Jude Medical แสดงรูปแบบ H & S กลับหัวในแนวขนาน รูปแบบราคาที่ไหล่ซ้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ชัดเจนและเป็นการต่อสู้ที่สมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนหัวเองก็มีการสร้างจุดต่ำสุดถึงสองครั้ง (อธิบายไว้ในบทที่ 8) อย่างไรก็ตาม ไหล่ขวาที่ลดลงอาจทำให้กรอบราคาแตกต่างไปจากนิยามของรูปแบบที่เกี่ยวข้องเพราะมันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของราคามากนัก ถึงกระนั้นก็ตามเมื่อเส้น neckline ถูกฝ่าขึ้นไป มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่ราคาจะขึ้น upside ไปถึงราคาเป้าหมายขั้นต่ำสุด (minimum ultimate)

Chart 7-14 ราคารายวันของ St.Jude Medical ในระหว่างปี 1983-1986

 

 

ที่จริงมันยังมีอีกหลายวิธีที่จะตอบคำถามนี้และมีวิธีวาดรูปแบบราคาได้มากกว่าหนึ่งแบบ  ในเรื่องนี้ Chart 7-15 เป็นรูปแบบ H & S กลับหัว ของ St.Jude ในลักษณะที่แตกต่างกัน เป็นการเลี่ยงไหล่ขวาที่ไม่ชัดเจน ซึ่งสังเกตได้ว่าราคาในตัวอย่างนี้จะสอดคล้องกับราคาเป้าหมายมากกว่า เพียงแต่เกณฑ์มาตรฐานนี้ยังได้กลายเป็นระดับแนวรับสำคัญ สำหรับราคาที่ลดลงในช่วงสองสามครั้งถัดไปด้วย

Chart 7-15 ราคารายวันของ St.Jude Medical ในระหว่างปี 1983-1986

 

 

[ตอนที่ 35] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

ในบางครั้งพฤติกรรมของราคามีการพัฒนาไปในวิถีที่ค่อนข้างยากที่จะตัดสินว่าเป็นรูปแบบหนึ่งหรือไม่ ตัวอย่างเช่น Chart 7-16 ของ Sysco แสดงรูปแบบH & S ด้านล่าง (H & S bottom) ที่มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงที่ราคาทะลุผ่านขึ้นไป ส่วน Chart 7-17 ก็เป็นของ Sysco ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่คราวนี้ผมลากเส้นคู่ขนานสองเส้นเป็นกรอบของราคาในรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีราคาขึ้นถึงราคาเป้าหมายที่มีหลายระดับได้ถึงสองเท่า ดังนั้นมันจึงไม่สำคัญว่าเราจะต้องตั้งชื่อรูปแบบพฤติกรรมราคาว่าเป็นอะไร เพราะจุดสำคัญก็คือเมื่อราคามันร่วงลง, มีการต่อสู้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (trading range) และมีการทำราคาทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไปตามมาพร้อมกับมีปริมาณการซื้อขายรองรับ  ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพราะมันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะยึดติดกับชื่อหรือนิยามใดก็ตาม แต่ขอให้คุณตีความการฟอร์มตัวโดยใช้ความรู้สึกของคุณโดยไม่ต้องไปยึดติดกับสูตรใดตายตัวมากนัก ให้พยายามที่จะทำความเข้าใจบนพื้นฐานทางจิตวิทยาของภาวะการซื้อขายเพราะมันเป็นสิ่งที่รูปแบบทั้งหมดจะสะท้อนออกมาให้เห็นในที่สุด นั่นคือถ้าคุณสามารถจับการกลับตัวของราคาที่เคลื่อนไหวแบบ peak-and-trough ในช่วงเวลาที่ราคาทะลุแนวรับ/แนวต้านของเส้นแนวโน้มได้ นั่นแสดงว่าคุณเห็นแนวโน้มการกลับตัวแล้ว ยิ่งมีปริมาณซื้อขายมาสนับสนุนก็ยิ่งช่วยคุณตัดสินใจดีขึ้น  โปรดจำไว้ว่าที่เราตั้งชื่อรูปแบบราคาของราคาก็เพียงเพื่อให้ทำความเข้าใจปรากฏการณ์การกลับตัวได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

Chart  7-16 ราคารายวันของ  Sysco ในระหว่างปี 1981- 1983

 

 

Chart  7-17 ราคารายวันของ  Sysco ในระหว่างปี 1981- 1983

 

 

การฟอร์มรูปแบบ Head-and-Shoulders แบบต่อเนื่อง

การฟอร์มรูปแบบ H & S และ H & S กลับหัว มักอยู่บนกราฟเหมือนรูปแบบต่อเนื่องบนเส้นแนวโน้ม ความหมายของการวัดและลักษณะของปริมาณการซื้อขายจะเหมือนกับรูปแบบการกลับตัวของแนวโน้ม แต่มีความแตกต่างเพียงอย่างเดียวตรงที่รูปแบบราคาเหล่านั้นพัฒนาขึ้นในช่วงระหว่างที่เกิดแนวโน้มมากกว่าในช่วงสิ้นสุดแนวโน้ม ดังตัวอย่างในรูปที่ 7-13 และ 7-14

 

 

รูปที่ 7-13 การฟอร์มรูปแบบ Head-and-Shoulders กลับหัวแบบต่อเนื่อง

 

 

รูปที่ 7-14 การฟอร์มรูปแบบ Head-and-Shoulders ด้านบน แบบต่อเนื่อง

[ตอนที่ 36] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Pattern

Chart 7-18 ของ Sprint PCS Group เป็นตัวอย่างที่ดีของรูปแบบ H & S ด้านบน แบบต่อเนื่อง (หรือแบบรวบรวมกำลัง consolidation) จะเห็นว่าปริมาณการซื้อขายดีดตัวสูงขึ้นมากที่จุดทะลุผ่านแนวรับ/แนวต้าน การที่ราคาลดลงเมื่ออยู่ในแนวโน้มขาลงย่อมถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นบ่งบอกว่าเป็นแรงจูงใจของผู้ขายแน่นอนแล้วมันก็จะร่วงลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากที่สุด รูปแบบที่อยู่บนจุดสูงสุดของราคาที่ไล่ขึ้นที่ได้สิ้นสุดสมบูรณ์ในฤดูใบไม้ผลิปี 2000  ไม่ได้เป็นไปตามนิยาม ถือว่ามันไม่ใช่รูปแบบ H & S เพราะ "ไหล่ขวา" กลับตัวที่ระดับเดียวกับ "หัว"  อีกทั้งไม่ใช่รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แท้จริงเพราะช่วงปลายปี 1999 และปี 2000  ราคาได้วิ่งไปจนชนกรอบบนของเส้นแนวโน้ม

อาจจะดีที่สุดที่จะบอกว่ามันรูปแบบหัวหยักหรือสองยอด double top  (การฟอร์มรูปแบบของมันจะกล่าวถึงในบทต่อไป) และตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่ารูปแบบนี้ไม่มีความสำคัญใดๆ เนื่องจาก trading range ที่เห็นได้ชัดของมัน (การต่อสู้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย) ที่ตามมาด้วยราคาทะลุลงมาเป็นขาลง ซึ่งจะเห็นปริมาณการซื้อขายหนาแน่นมากในวันที่ราคาทะลุเส้นแนวโน้มที่ต่ำลงมา

Chart 7-18 ราคารายวันของ Sprint PCS Group ในระหว่างปี 1999-2002

 

 

และสุดท้าย Chart 7-19 ของ South West Airlines ได้เสนอรูปแบบ H & S กลับหัว โดยจะสังเกตเห็นว่าราคาระดับที่หนึ่งและที่สองของราคาเป้าหมาย ทำหน้าที่เป็นแนวรับสำหรับการย่อตัวของราคาที่เกิดขึ้นตามมาภายหลัง ส่วนราคาระดับที่สามก็ยากที่จะไปให้ถึง ก่อนเริ่มแนวโน้มขาลงใหม่ สัญญาณหนึ่งที่ตลาดกระทิงมีโอกาสพัฒนาขึ้นก็เมื่อหุ้นจำนวนมากมีการรวบรวมกำลัง อย่างในกราฟของ  South West Airlines  ในปี 1991และที่ในปี 1982  กราฟระยะยาวเต็มไปด้วยแนวโน้มระยะรวบรวมกำลังเป็นเวลาหลายปี   เมื่อหุ้นและกลุ่มอุตสาหกรรมจำนวนมากอยู่ในสถานะดังกล่าวแสดงว่ามันกำลังปรับฐานเพื่อจะเปลี่ยนเป็นตลาดกระทิงที่กินเวลายาวและต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงหลังการทำราคาทะลุผ่านขึ้นไปครั้งใหญ่ ในช่วงปลายปี 1982 และต้นปี 1983 แต่แนวโน้มของมันจะตรงกันข้ามถ้าเกิดขึ้นที่จุดสูงสุดของตลาดที่หุ้นหลักและกลุ่มอุตสาหกรรมมีรูปแบบ H & S ด้านบนขนาดใหญ่เพราะนั่นเป็นการเตือนถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้

Chart 7-19 ราคารายเดือนของ South West Air ในระหว่างปี 1980-2003