ChiangmaiFX : ก้าวสู่ปีที่ 16 อย่างมั่นคงในการเทรด Forex (2009 - 2025) โดยใช้วิชาเทคนิคอล (สถิติประยุกต์) มาช่วยเพิ่มโอกาสที่จะชนะ

 

Price Patterns (Part 3)

[ตอนที่ 61] บทความแปลหนังสือ Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns

13 รูปแบบกราฟแท่ง Outside Bars

บทนำ

รูปแบบกราฟแท่ง One- and Two-Bar Patterns

รูปแบบราคาที่เราพูดถึงในบทก่อนๆ อาจมีกราฟแท่งอย่างน้อย 15แท่ง จนกว่าจะสิ้นสุดขั้นตอนการฟอร์มรูปแบบ  และกราฟแท่งนี่แหละที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อมั่นพื้นฐาน

ในบทนี้และบทต่อๆ ไป จะกล่าวถึงรูปแบบราคาขนาดเล็กมากที่จำกัดจำนวนกราฟแท่งแค่ 1 หรือ 2 แท่ง การฟอร์มรูปแบบเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากเนื่องจากจะทำให้จับสัญญาณการพัฒนาแนวโน้มใหม่ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติว่าจุดใดจะเป็นจุดหยุดขาดทุนที่ความเสี่ยงต่ำ

แต่เดิมรูปแบบราคาที่อธิบายไว้ในบทที่ 13 ถึง 16 จะนับเป็นวัน เช่นรูปแบบ 1- 2 วัน หรือรูปแบบ 1 และ 2 สัปดาห์ แต่เมื่อมีการกำหนดกราฟระหว่างวันขึ้นมา รูปแบบที่มีอยู่จึงไม่อาจนำมาอธิบายได้อีกต่อไป ดังนั้นเราจึงใช้คำว่า “แท่งหรือ bar” มาอธิบายรูปแบบเหล่านี้แทนการใช้คำว่า “วัน”

ขนาดของรูปแบบราคาเป็นปัจจัยหลักที่จะบ่งบอกความสำคัญของรูปแบบนั้น ซึ่งทั้งรูปแบบกราฟแท่งที่มีหนึ่งหรือสองแท่ง one- and two-bar ต่างใช้เวลาไม่นานนักในการฟอร์มตัว ดังนั้นมันจึงมีอิทธิพลต่อราคาเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในสภาวะปกติ รูปแบบราคาที่ประกอบด้วย one-day bar จะส่งผลต่อราคา เป็นเวลา 5 - 10 วัน  ดังนั้น  two-bar pattern  ที่สร้างขึ้นจากกราฟแท่งราย 10 นาที ก็จะส่งผลต่อแนวโน้มราคาในช่วง 50 นาที ถึง 1 ชั่วโมงถัดไปหรือยาวนานกว่านั้น  อันที่จริง ถึงมันจะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ยิ่งผมศึกษารูปแบบเหล่านี้มากเท่าใดก็ยิ่งประทับใจกับความสามารถในการส่งสัญญาณที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือสำหรับการกลับตัวของแนวโน้มราคาในระยะสั้นๆ ของมัน

เมื่อแนวโน้มเติบโตจนถึงจุดอิ่มตัว (เข้าสู่ภาวะเสื่อมถอย) และภาพรวมทางเทคนิคในระยะยาว มันก็มักจะเกิดรูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ที่จุดกลับตัวสุดท้ายของแนวโน้มเสมอ  ในทางทฤษฎีรูปแบบกราฟแท่ง  one- and two-bar จะอยู่ในแนวโน้มเดิมต่อไปแบบ dominoes หรือ  reverse dominoes ก็ต่อเมื่อพวกมันไปอยู่ที่ปลายสุดของสมดุลทางเทคนิคระยะยาวในทิศทางใหม่ (แต่เราเรื่องนี้จะกลับมาพูดถึงในรายละเอียดในเรื่องนี้ภายหลัง)

รูปแบบราคาทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างมาให้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน

เราอาจกล่าวได้ว่าสัญญาณจากรูปแบบเหล่านี้เป็นการบ่งบอกการซื้อหรือการขายและมันก็ใช้ได้ดีตามลักษณะที่มันเป็น แต่เพราะรูปแบบทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างให้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ดังนั้นเราจึงมีการจัดระดับคุณภาพในการส่งสัญญาณของมันเอาไว้ โดยแบ่งสัญญาณเหล่านี้ในเทอมของรูปแบบประเภทดาวเด่นหรือ star หรือรูปแบบคลุมเครือหรือ  shaded of grey ตัวอย่างเช่น รูปแบบ A มีลักษณะการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบที่ชัดเจน ในขณะที่รูปแบบ B มีการส่งสัญญาณที่แข็งแกร่ง ดังนั้น  A ก็จะถูกจัดเป็นรูปแบบประเภท two-star ส่วน pattern B ก็จะถูกจัดให้เป็นรูปแบบประเภท five-star และเมื่อเอามาวิเคราะห์ความน่าจะเป็นในเชิงเทคนิคแล้ว สัญญาณของรูปแบบประเภท five-star  ก็ย่อมมีโอกาสบ่งชี้การกลับตัวของแนวโน้มได้ถูกต้องกว่าสัญญาณของรูปแบบประเภท two-star และอื่นๆ แต่มันก็ไม่ได้ถึงกับรับประกันว่าการคาดการณ์นั้นจะถูกต้องเสมอไป  หรือสัญญาณของ one-star นั่นจะตามมาด้วยการเคลื่อนไหวที่อ่อนแอ เพราะมันแค่โอกาสที่น่าจะเป็นเท่านั้น

สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ คือการตามล่าหาเบาะแสเพื่อยืนยันความแข็งแกร่งและการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นที่สำคัญของนักลงทุน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการกลับตัว อย่างเช่น ผมอาจจะตะโกนร้องคำว่า ช่วยด้วย! ก็จริง แต่ถ้าผมตะโกนขอความช่วยเหลือบนหลังคา คุณก็อาจจะได้ยินไม่ค่อยชัด ซึ่งก็เหมือนกับหลักการที่มีอยู่ในตลาด  ดังนั้นรูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ที่พูดถึงนี้จะถูกตีความว่ามันเป็นพวกรูปแบบที่ส่งสัญญาณคลุมเครือมากกว่าที่จะเป็นรูปแบบที่ส่งสัญญาณชัดๆ  เพราะบางรูปแบบของมันจะให้สัญญาณที่แสดงอาการอ่อนล้ามากว่ารูปแบบอื่น

[ตอนที่ 62] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

หลักการตีความหมายของรูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar

มีกฎพื้นฐานหลายข้อที่นำมาใช้ตีความการฟอร์มรูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar: 

1. เพื่อให้การฟอร์มรูปแบบเหล่านี้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกถึงการกลับตัวของพวกมันเกิดขึ้นก่อน อย่างถ้าเป็นการกลับตัวที่ด้านบน มันจะต้องมีการไล่ราคาขึ้นไปมากๆ ก่อน ส่วนการกลับตัวที่ด้านล่าง ก็ต้องมีการร่วงลงของราคาอย่างรุนแรงก่อนเช่นกัน ตามกฎทั่วไปยิ่งสัญญาณก่อนหน้านี้แข็งแกร่งมากเท่าไหร่รูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น

2. โดยทั่วไปการฟอร์มรูปแบบเหล่านี้มักสะท้อนจุดที่แนวโน้มหรือราคาอ่อนแรง ในกรณีของแนวโน้มขาขึ้น รูปแบบดังกล่าวจะพัฒนาขึ้นเมื่อผู้ซื้อได้ผลักดันราคาขึ้นไปไกลมากเกินไปและต้องการพัก แต่ในกรณีแนวโน้มขาลงซึ่งพบแรงเทขายน้อยมากเพราะผู้ขายได้ขายทิ้งไปหมดแล้ว รูปแบบดังกล่าวมักจะมาพร้อมกับการส่งสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มเสมอ

3. รูปแบบราคาทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างมาให้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน บางรูปแบบแสดงลักษณะที่พูดถึงในทิศทางที่แข็งแกร่ง ส่วนรูปแบบอื่นๆ อาจสะท้อนลักษณะดังกล่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รูปแบบประเภท five-star มีแนวโน้มที่จะส่งสัญญาณการกลับตัวได้แข็งแกร่งกว่า ส่วน two-star จะส่งสัญญาณที่ในลักษณะที่ไม่รุนแรงนัก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้สึกเข้ามาร่วมในการตีความหมายของรูปแบบเหล่านี้บ้าง แทนการรีบด่วนสรุปว่ารูปแบบที่เห็นเป็นการยืนยันการกลับตัวของราคาที่รวดเร็วและให้ผลกำไร

4. ในบางครั้ง คุณอาจสังเกตเห็นรูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ยืนยันแนวโน้มที่จะตามมาอย่างชัดเจนหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา รวมถึงการสิ้นสุดการฟอร์มรูปแบบขนาดใหญ่กว่าหรือมีการทำราคาทะลุแนวโน้มออกไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงเพิ่มความสำคัญให้กับรูปแบบ แต่ยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นสัญญาณที่ถูกต้องอีกด้วย

รูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ของตะวันตกเปรียบเทียบกับกราฟแท่งเทียน candlesticks ของญี่ปุ่น

ก่อนที่เราจะศึกษาเจาะลงไปในแต่ละรูปแบบ คุณต้องเข้าใจก่อนว่ามีกราฟแท่งอยู่หลายรูปแบบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น หรือJapanese candlesticks ที่ผมใช้คำว่า "ใกล้เคียง" เพราะการตีความของแท่งเทียนของญี่ปุ่นจะเน้นหนักไปที่ราคาเปิด/ราคาปิดซึ่งส่วนใหญ่กำหนดมาจากราคาเปิด/ราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้านี้ ในขณะเดียวกันราคาเปิด/ราคาปิดก็ยังเป็นสิ่งสำคัญในการตีความของกราฟแท่งของตะวันตกด้วยเช่นกัน และมันก็ยังถือว่ากราฟทั้งแท่งเป็น trading range ทั้งหมดเพราะมันเป็นกราฟแท่งที่จับอารมณ์ตลาดได้อย่างสมบูรณ์แบบ  ในบทนี้และอีกสามบทถัดไปเราจะเปรียบเทียบวิธีการสร้างกราฟทั้งสองวิธี อย่างแรกก็คือ กราฟแท่งเทียน   สำหรับรายละเอียดที่ลึกมากกว่านี้ โปรดดูหนังสือ Introduction to CandlestickCharting (เป็นบทเรียนและ CD-ROM) หรืองานเขียนคลาสสิกของ Steve Nilson เรื่อง Introduction to Candlesticks

ภาพรวมของกราฟแท่งเทียน Candlesticks

กราฟแท่งเทียนCandlesticksแต่ละรูปแบบจะประกอบด้วยสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียกว่า ลำตัวจริง (real body) ที่มีเส้นแนวตั้งสองเส้นโผล่ออกมา เรียกว่าไส้เทียน ( wicks) โดยที่เส้นหนึ่งจะโผล่ออกมาจากด้านบนและอีกเส้นหนึ่งก็จะโผล่ออกมาจากด้านล่าง ส่วนของลำตัวสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะแสดงราคาเปิด/ปิด ในขณะที่ส่วนของไส้เทียนทั้งสองแสดงการช่วงเปิด/ปิดการซื้อขายและราคาสูงสุด/ต่ำสุด

กราฟแท่งเทียนมี 2 สี คือ สีดำและสีขาว โดยกำหนดจากความสัมพันธ์ระหว่างราคาเปิดและราคาปิด ถ้าราคาเปิดสูงกว่าราคาปิด ลำตัวของแท่งเทียนจะเป็นสีดำเหมือนในกราฟ 13-1 แต่ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด ลำตัวของแท่งเทียนจะเป็นสีขาวตามกราฟ 13-2 โดยทั่วไปแท่งเทียนสีขาวถือเป็นขาขึ้น ส่วนแท่งเทียนสีดำเป็นขาลง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ง่ายมากเวลาที่มันเกิดขึ้น

เนื่องจากกราฟ candlesticks และกราฟ bars จะให้ข้อมูลที่เหมือนกัน ดังนั้นข้อมูลที่พบในกราฟ candlesticks ก็จะพบในกราฟ bars ด้วย ส่วนความแตกต่างหลัก ก็คือการสร้างกราฟ candlesticks จะมีรูปแบบที่เรียบง่ายกว่าของกราฟ  bars  รวมทั้งมันยังให้ความสำคัญกับระดับราคาเปิด/ราคาปิดอีกด้วย ดังนั้นคุณอาจถามกลับผม แล้วทำไมถึงยังต้องใช้กราฟ bar  อยู่อีกเล่า คำตอบก็คือคุณสามารถเห็นปรากฏการณ์อื่นๆ ในกราฟ  bar ได้ง่ายกว่านะสิครับ อีกทั้งกราฟ bar มีลักษณะผอมบางกว่าทำให้เรามีปริมาณข้อมูลบนกราฟได้มากกว่า อีกอย่างก็คือมันจะเห็นราคาสูงสุด/ต่ำสุดซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคาในตลาดซื้อขายแบบเสรีในแง่ของจิตวิทยาได้ง่ายกว่ากราฟแท่งเทียน

Chart 13-1 กราฟแท่งเทียน candlestickสีดำ

Chart 13-2 กราฟแท่งเทียนcandlestickสีขาว

[ตอนที่ 63] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

รูปแบบกราฟแท่ง Outside Bars

รูปแบบกราฟแท่ง Outside Bars เป็นกราฟแท่งที่มี trading range ครอบคลุมกราฟแท่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้า รูปแบบเหล่านี้พัฒนาขึ้นหลังการเกิดแนวโน้มทั้งขาขึ้นและขาลง (เป็นเวลานาน) และแสดงถึงความอ่อนแรงของแนวโน้ม ตัวอย่างการกลับตัวที่ด้านบนแสดงในรูป 13-1 และตัวอย่างของการกลับตัวที่ด้านล่างแสดงในรูปที่ 13-2

รูปที่ 13-1 รูปแบบกราฟแท่งOutside Barsด้านบน

รูปที่ 13-2 รูปแบบกราฟแท่งOutside Barsด้านล่าง

การกำหนดความสำคัญของ outside bar  

แนวทางเกี่ยวกับการกำหนดความสำคัญของรูปแบบกราฟแท่ง outside bar มีดังต่อไปนี้ :

1. ยิ่งแท่งกราฟของ outside bar มีความกว้างมากกว่าแท่งกราฟเดิม สัญญาณการกลับตัวจะยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น เนื่องจาก outside bar เป็นการสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในส่วนบนของรูปที่ 13-3 ผู้ซื้อเป็นฝ่ายได้เปรียบ จนกระทั่งเกิดแท่งกราฟ outsidebar ที่มีความกว้างมากกว่าแท่งกราฟที่เกิดขึ้นก่อน  และผู้ขายเป็นฝ่ายควบคุมให้ราคาปิดให้ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของกราฟแท่งก่อน  การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ  ในความแข็งแกร่งหรือมีความลาดชันของผู้ซื้อและผู้ขายเกิดขึ้น ที่ผู้ซื้อไม่ต้องการหรือไม่สามารถผลักดันราคาให้สูงขึ้นไปได้อีก

รูปที่ 13-3  การวัดความสำคัญของรูปแบบกราฟแท่ง outside bars (Measuring the significance of outside bars.)

 2. ยิ่งมีการไล่ราคาขึ้นไป (การลดลงของราคา) ก่อนเกิด outside bar  รุนแรงมากขึ้น แท่งกราฟก็จะยิ่งมีความสำคัญ มากขึ้นเช่นกัน เป็นการยืนยันว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นเกิดขึ้นก็ต้องมีบางสิ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นยิ่งแนวโน้มก่อนเกิด outside bar แข็งแกร่งมากขึ้น ความเชื่อมั่นที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มดังกล่าวก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น เมื่อความเชื่อมั่นถึงขีดสูงสุดพวกเขาก็มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือถ้าแนวโน้มก่อนหน้านี้เป็นขาขึ้นอย่างมาก ความคิดในเชิงเหตุผลของขาขึ้นทั้งหมดก็จะลดลงอย่างหมด ดังนั้นในบางจุด ผู้ซื้อจะอ่อนแรงลงและตลาดจะเสี่ยงต่อภาวะการขายเพื่อทำกำไร การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ  นี้จะสะท้อนให้เห็นในวันที่เกิด outside bar  ดังตัวอย่างที่อยู่ส่วนล่างของรูปที่ 13-3

3. ส่วนใหญ่แล้วยิ่งแท่งกราฟของ outside bar ครอบคลุม trading rang ของกราฟแท่งที่เกิดก่อนมาก สัญญาณที่แสดงออกมาก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้น โดยส่วนใหญ่แท่งกราฟของ outside bar จะครอบคลุมกราฟแท่งอื่นเพียงแท่งเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามันสามารถครอบคลุมได้ครั้งละหลายแท่ง สัญญาณที่ยืนยันว่าสมดุลได้เปลี่ยนจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายที่ด้านบนสุด หรือจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อที่ด้านล่างสุดก็จะแข็งแกร่งมากขึ้น กราฟแท่งที่ถูกครอบคลุมจะกลายไปเป็นรูปแบบราคาขนาดเล็กในตัวของมันเอง ตัวอย่างดังแสดงในรูปที่ 13-4

รูปที่ 13-4รูปแบบกราฟแท่ง Outsidebarที่ครอบคลุม trading rang หลายแท่ง

[ตอนที่ 64] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

4. ยิ่งปริมาณการซื้อขายของ outside bar มากกว่าปริมาณการซื้อขายของแท่งกราฟที่เกิดก่อน สัญญาณก็ยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น นี่เป็นการยืนยันแนวคิดที่ว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นก่อนหน้ารูปแบบนี้ถูกควบคุมโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ผู้ซื้อ/ผู้ขาย) จากนั้นตัวของแท่งกราฟก็บ่งชี้ว่าการควบคุมนี้ไม่มีอีกต่อไป ยิ่งถ้าปริมาณการซื้อขายหนาแน่นเป็นพิเศษแล้ว ผู้เข้าร่วมตลาดที่แสดงออกมีจำนวนมากขึ้น ความแข็งแกร่งที่เพิ่มมากขึ้นสะท้อนออกมาจากกิจกรรมการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มความสำคัญของ outside bar ให้มากขึ้นตามไปด้วย

5. ยิ่งราคา (ปิด) เข้าใกล้กับราคาสูงสุดในแนวโน้มขาลงหรือใกล้กับราคาต่ำสุดในแนวโน้มขาขึ้น ยิ่งให้สัญญาณการกลับตัวได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าแนวโน้มก่อนหน้านี้เป็นแนวโน้มขาลงและมีราคาปิดใกล้กับราคาสูงสุดจะให้สัญญาณที่ดีกว่าราคาปิดที่อยู่ใกล้ราคาต่ำสุด (และจะเป็นไปในทางกลับกันสำหรับแนวโน้มขาขึ้น) ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบกราฟแท่ง outside bar เป็นสัญญาณการกลับตัวของความเชื่อมั่นและการเปลี่ยนแนวโน้ม การที่ราคาปิด (สำหรับตัวอย่างที่พูดถึง) อยู่ใกล้กับราคาสูงสุดจึงเป็นการตอกย้ำความแข็งแกร่งของผู้ซื้อ รวมถึงเป็นการยืนยันความถูกต้องของสัญญาณกลับตัวอีกด้วย

แต่ถ้าราคาปิดอยู่ใกล้กับราคาสูงสุดในแนวโน้มขาขึ้นหรือใกล้กับราคาต่ำสุดในแนวโน้มขาลง แล้ว outside bar จะไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตวิทยา ในกรณีนี้ outside bar  จะไม่ใช่สัญญาณกลับตัว แต่จะเป็นสัญญาณของแนวโน้มเดิมในรูปแบบต่อเนื่อง ดังตัวอย่างในรูปที่ 13-5 บนแนวโน้มขาขึ้น แท่งกราฟ outside bar ปรากฏขึ้นหลังรูปแบบต่อเนื่องขนาดเล็ก  แต่ราคาปิดเกิดขึ้นใกล้กับราคาสูงสุดของแท่งกราฟ เป็นจุดที่ผู้ขายได้พยายามอย่างหนักที่จะกดราคาลงและขยายการปรับฐาน แต่ในตอนท้ายผู้ซื้อก็เป็นฝ่ายได้เปรียบและสามารถปิดราคาได้ใกล้กับราคาสูงสุด

รูปที่ 13-5 รูปแบบกราฟแท่ง outside barที่อยู่ในแนวโน้มเดิมรูปแบบต่อเนื่อง (Consolidation) 

เมื่อพิจารณารูปแบบกราฟแท่ง outside bars หรือ one- and two-bar อื่นๆ แล้ว สำคัญมากที่คุณต้องถามตัวเองว่า "พฤติกรรมราคาแบบไหนของแท่งกราฟนี้บอกเกี่ยวกับจิตวิทยาพื้นฐาน? “แท่งกราฟที่กว้าง, การไล่ราคา/การย่อตัวของราคาที่รุนแรงก่อนหน้านี้ และปริมาณการซื้อขายที่สูง ทั้งหมดนี้จะบ่งบอกว่าความเชื่อมั่นในแนวโน้มที่มีมาก่อนหน้านี้ได้เปลี่ยนแปลงไป

ถึงกระนั้นรูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ก็ไม่ได้ตามมาด้วยการกลับตัวเสมอไป เพราะบางครั้งอาจตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม และบางครั้งก็เป็นแนวโน้มเดิมในรูปแบบต่อเนื่อง

[ตอนที่ 65] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตลาด

Chart 13-3 แสดงตัวอย่าง outside bar สำหรับ Merrill Lynch ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณระดับ five-star เนื่องจากมีลักษณะการกลับตัวที่แข็งแกร่ง

Chart 13-3 กราฟแท่งราย 10 นาที ของ Merrill Lynch

ราคาอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่องในช่วงบ่ายของวันที่ 21 จากนั้นก็จะเกิดแท่งกราฟที่ให้สัญญาณแข็งแกร่งและ ครอบคลุม trading range ทั้งหมดของแท่งกราฟที่เกิดก่อนโดยโดยมีราคาเปิดใกล้กับจุดต่ำสุด  ซึ่งเป็นการยืนยันการกลับตัวเพราะนอกจากแท่งกราฟจะเปิดใกล้กับจุดต่ำสุดและปิดใกล้จุดสูงสุดของมันแล้ว ปริมาณการซื้อขายยังเพิ่มขึ้นสูงมากในจุดที่แท่งกราฟฟอร์มตัว

รูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar ไม่ได้ตามมาด้วยการกลับตัวเสมอไป เพราะจริงๆ แล้วราคามักจะมีการย่อตัวเพื่อปรับฐานหรือมีพฤติกรรมที่ไม่ชัดเจนก่อนที่จะมีการกลับตัวที่แข็งแกร่ง พฤติกรรมราคาแบบนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับรูปแบบราคาอื่นๆ กราฟนี้แสดงตัวอย่างของประเด็นนี้เมื่อรูปแบบกราฟแท่ง two-bar มีการปรับฐานก่อนกลับตัว ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดีถ้าคุณกำลังคิดที่จะเปิดสถานะ long  แต่ให้จำไว้เสมอว่าจุดหยุดขาดทุน (stop) ควรอยู่ใต้เส้นแนวรับซึ่งในกรณีนี้คือจุดต่ำสุดขีดของ outside bar ทั้งนี้การย่อตัวของราคาหรือ retracement  ช่วยให้คุณสามารถเข้าซื้อขายได้โดยมีความเสี่ยงต่ำโดยที่ยังได้รับผลตอบแทนบ้าง โดยทั่วไปผมอยากจะเห็นการปรับฐานเล็กๆ และยิ่งมีราคาย่อตัวต่ำลงมาบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าไหร่ สัญญาณที่ส่งก็ยิ่งอ่อนแอ  แต่ถึงแม้การย่อตัวของราคาลงมามากกว่า 50% จะน่าวิตกก็ตามแต่เราก็ไม่อาจบอกได้ว่า outside bar ได้ถูกยกเลิกไปแล้วจนกว่าราคาจะเคลื่อนที่ไปเกินกว่าจุดสูงสุดจริงๆ

รูปแบบกราฟแท่ง outside bars ต่างๆ ปรากฏในกราฟ 13-4 ตัวอย่าง A เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีตัวเพราะมันมีการไล่ราคาขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกิดขึ้นมาก่อนและมีความกว้างพอสมควร ตัวอย่าง B เป็นรูปแบบที่ไม่สมบูรณ์ เพราะราคาปิดของมันอยู่ที่ราคาต่ำสุดและแท่งกราฟก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่กว่าแท่งที่เกิดก่อนหน้านี้มากนัก รวมถึงราคาไม่ได้ลดลงมากนักก่อนที่จะเกิดแท่งกราฟ ถ้าเรายึดตามกฎแบบนี้ก็ยังถือว่า B เป็น outside bar เพียงแต่มันไม่ได้ส่งสัญญาณการกลับตัวที่ชัดเจนมากนัก

Chart 13-4 กราฟแท่งราย 5 นาที ของ S&P Composite

ในตัวอย่าง C ถึงมันจะสอดคล้องกับกฎข้อที่ว่าราคาจะลดลงมาก่อน, แท่งกราฟมีขนาดกว้างพอสมควร และปิดที่ราคาสูงสุดของมัน แต่ราคามันก็จะเพิ่มขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ และยังไม่ได้เป็นสัญญาณกลับตัวจริงๆ  ที่ผมใส่พูดตัวอย่างนี้ก็เพราะต้องการแสดงให้เห็นว่าแม้ว่ามันจะมีลักษณะตรงกับกฎอยู่หลายข้อแต่มันก็ยังไม่ได้รับประกันว่ามันจะเป็นรูปแบบที่ส่งสัญญาณกลับตัวจริงๆ

[ตอนที่ 66] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

Chart  13-5 แสดงตัวอย่าง outside bars อีกสองตัวอย่างสำหรับ DJIA ในเดือนมีนาคมของปี 2001 จะเห็นว่า outside bars อันแรกเป็นการกลับตัวขึ้นไปจากแนวโน้มขาลง ซึ่งมันจะดีมากถ้ามีหลักฐานอื่นมาช่วยยืนยันการส่งสัญญาณกลับตัวของรูปแบบ one- or two-bar  ในกรณีนี้ ราคาจะทะลุออกจากฐานเล็กๆ ขึ้นไปหลังจากการเกิด outside bar   ตัวอย่างที่สองของ outside bar พัฒนาขึ้นในเดือนเมษายน และสร้างจุดสูงสุดของราคาที่ไล่ขึ้นไปแรงมาก สังเกตว่า outside bar มีความกว้างมากครอบคลุมแท่งกราฟที่เกิดมาก่อนหน้าถึง 3 แท่ง แล้วยังมีการการละเมิดเส้นแนวโน้มขาขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ามันมีสัญญาณการทะลุแบบหลอก whipsaw เหนือเส้นแนวโน้มตามขวางและนี่ก็คือองค์ประกอบทั้งหมดของการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นอย่างมาก

Chart 13-5 กราฟแท่งราย 60 นาที ของ DJIA

Chart 13-6 เป็นกราฟรายวันของดัชนี Nasdaq 100 โดย outside bar ที่ด้านซ้ายมีองค์ประกอบของรูปแบบการกลับตัวที่ถูกต้อง เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการไล่ราคาขึ้นไปเป็นอย่างดี มีความกว้างและครอบคลุมกราฟแท่งอื่นๆ อีกหลายแท่ง นอกจากนั้นราคาเปิดของมันยังอยู่ในทิศทางของแนวโน้มที่มีอยู่แล้วและปิดที่ราคาต่ำสุดของตัวมันเอง  แต่แล้ว...ทำไมมันถึงกลายเป็นรูปแบบหลอกได้เล่า  เหตุผลหนึ่งคือในแนวโน้มขาขึ้น/ขาลงที่แข็งแกร่งที่แท้จริงนั้น รูปแบบกราฟแท่ง one- and two-bar reversals จะเป็นตัวแทนของสัญญาณแนวโน้มในทิศทางตรงกันข้าม และสัญญาณนั้นมักส่งผลให้เกิด whipsaws เห็นได้ว่าในกรณีนี้ outside bar เป็นความพยายามของตลาดที่จะปิด gap ที่เปิดกระโดดขึ้นมาเมื่อหลายวันก่อน ดังนั้นส่วนล่างของแท่งกราฟจึงไปแตะที่บริเวณแนวรับ

Chart13-6 ราคารายวัน ของ Nasdaq100

นอกจากนี้ ในแง่ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าเรากำลังพูดถึงความน่าจะเป็น  ไม่ใช่ความแน่นอน  ดังนั้นมันจึงอาจเกิดสัญญาณหลอกขึ้นได้เสมอ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมผมจึงจำเป็นที่จะต้องคอยห่วงและพยายามหาจุดที่คุณควรจะออกจากการซื้อขายโดยขาดทุนน้อยที่สุด  ในกรณีนี้การหยุดเข้าซื้อควรอยู่เหนือจุดสูงสุดของ outside bar  ของวัน

ส่วน outside bar แท่งที่สองได้ยกเลิก outside bar ขาลงที่ได้ฟอร์มขึ้นมาเมื่อสองวันก่อน โดยปกติการยกเลิก มักตามมาด้วยการเคลื่อนที่ของราคาที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง และตัวอย่างนี้ก็เข่นเดียวกัน

[ตอนที่ 67] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

Chart 13-7 ของ cocoa แสดงตัวอย่าง outside bars 2 แท่ง แท่งแรกเราคิดว่ามันน่าจะเป็นสัญญาณการกลับตัวไปเป็นขาขึ้นเพราะโดยทางเทคนิคแล้วนี่เป็นลักษณะของ outside bar และมีการลดลงของราคาอย่างรุนแรงนำมาก่อน แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะมันมีปัจจัยอื่นอีก 2 ประการที่เกิดขึ้น นั่นคือ ประการที่หนึ่ง มีสัญญาณหลอก whipsaw ของกราฟแท่งอยู่เหนือแนวโน้มขาลง ประการที่สอง คือราคาปิดอยู่ใกล้ราคาต่ำสุดของสัปดาห์ (แทนที่จะเป็นราคาสูงสุด)  

Chart 13-7 ราคารายสัปดาห์ของ Cocoa ในระหว่างปี 1991-1992

ส่วน outside bar แท่งที่สอง พัฒนาขึ้นที่จุดต่ำสุดของราคา ณ ตรงนี้เราจะเห็นการปัจจัยที่ทำให้เกิดสัญญาณกลับตัวที่แท้จริงนั่นคือราคาปิดของมันอยู่เหนือเส้นแนวโน้มขาลงตรงที่เกือบจะเท่ากับราคาสูงสุดของสัปดาห์ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณการกลับตัวแบบคลาสสิก

Chart 13-8 ของ cocoa ประกอบไปด้วยตัวอย่างอื่นๆ ซึ่งในกราฟนี้คือ outside bar แท่งที่สามในชุด outside bar ซึ่งจะมีสัญญาณที่แข็งแกร่งมาก นอกจากนี้จะเห็นว่า outside bar แท่งสุดท้ายนี้ยังปิดเหนือเส้นแรงต้านที่เชื่อมจุดต่ำสุดไว้หลายจุดที่บ่งชี้ว่าการทำราคาทะลุออกไปเป็นสัญญาณ whipsaw ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งของสัญญาณการกลับตัวไปเป็นขาขึ้น

Chart 13-8 ราคารายสัปดาห์ของ Cocoa ในระหว่างปี 1999-2001

สุดท้าย  Chart 13-9 แสดงให้เห็นถึงจุดต่ำสุดที่สำคัญของตลาดหมีใน ช่วงเดือนตุลาคม ปี 2002 ของ U.S. stock market  ซึ่ง outside bar เกิดขึ้นพร้อมกับมีปริมาณซื้อขายหนาแน่น

Chart 13-9 ราคารายวันของ S&P Composite ในระหว่างปี 2002-2003

[ตอนที่ 68] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

การใช้รูปแบบกราฟแท่ง Outside Bars เป็น Domino หรือ Reverse Dominoes

บทก่อนหน้านี้ ได้มีการระบุว่ารูปแบบกราฟแท่ง outside bar ก็เหมือนกับ one-and two-bar อื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อราคาเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อโครงสร้างด้านเทคนิคในระยะยาวมีความสมดุลและมีแนวโน้มที่จะกลับตัว รูปแบบเหล่านี้สามารถทำหน้าที่เป็น domino ได้ที่ด้านบนสุดของตลาดหรือ reverse domino ที่ด้านล่าง ซึ่งสามารถใช้เพื่อคาดการณ์การกลับตัวในแนวโน้มซึ่งมีความสำคัญมากกว่าการตีความเคลื่อนที่จากตัวรูปแบบเอง

Chart 13-10 เป็นตัวอย่างกราฟแท่งราย 60 นาที ของ DJIA  เราสามารถมองเห็น outside bar หลังจากการไล่ราคาขนาดเล็ก แต่มันมีความกว้างครอบคลุมกราฟแท่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้ามันถึงสามแท่ง ดังนั้นเราจึงหวังที่จะเห็นกราฟแท่งที่ลดลงจากนั้นราว 5-10 แท่ง แต่ในกรณีนี้พบว่าการลดลงนั้นรุนแรงและยิ่งใหญ่กว่าที่คาด เนื่องจากเหตุผลสองประการ ประการแรก เมื่อพิจารณาพฤติกรรมของราคาในรายละเอียด จะเห็นว่าส่วนบนสุดของกราฟแท่งมีการทะลุแบบหลอก whipsaw   ซึ่ง whipsaws มักจะตามมาด้วยการเคลื่อนที่ของราคาอย่างรุนแรงมีทิศทางตรงกันข้ามกับที่ราคาที่ทะลุผ่านแบบหลอก (เนื่องจากผู้ค้าพยายามปิดสถานะของพวกเขา) ประการที่สองด้านล่างสุดของกราฟสามารถทะลุเส้นแนวโน้มเจ็ดวันขึ้นไปได้เป็นเวลานานบนกราฟรายชั่วโมง ดังนั้น outside bar จึงอยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์แบบในการเปลี่ยนสมดุลแนวโน้มทางเทคนิคในระยะยาว

Chart 13-10 กราฟแท่งราย 60 นาที ของ DJIA

ตัวอย่างที่สองของ domino เป็นกราฟรายวันของ DJ Transports ในแผนภูมิ 13-11 อินดิเคเตอร์  smoothed RSI  (SRSI 9 วัน กับ SMA  8 วัน) เริ่มมีลักษณะแบนราบในช่วงต้นเดือนมกราคม ดังนั้นจึงมีคำถามว่ามันจะมีการกลับตัวอย่างสมบูรณ์หรือไม่ ด้วยเหตุนี้มันจึงให้สัญญาณขายในระยะสั้น ส่วนอีกเบาะแสหนึ่งได้มาจากเส้นราคาซึ่งมี outside bar ขาลงเกิดขึ้นประมาณวันที่ 12 มกราคม ถึงมันจะเห็นได้ไม่ชัดนักแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เห็นภาพ negative  mode ทันทีและทำให้ smoothed RSI  เข้าสู่โหมดขาลง

Chart 13-11 ราคารายวันของ DJ Transports

[ตอนที่ 69] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

รูปแบบกราฟแท่ง Outside Bars กับ กราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น Candles

ในการตีความของกราฟแท่งเทียน Candles ของญี่ปุ่นไม่ได้ตรงกับรูปแบบกราฟแท่ง Outside Bars ไปเสียทั้งหมด แต่ที่ใกล้เคียงกันน่าจะเป็นรูปแบบกราฟแท่งเทียนรูปแบบกลืนกิน หรือ Engulfing Pattern ดังแสดงในรูปที่ 13-6 และ 13-7 ปัจจัยกำหนดของมันคือราคาเปิดและราคาปิด เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวต้องให้ลำตัว (จริง) ของแท่งเทียนแท่งที่สอง "กลืนกิน  engulf" หรือครอบคลุมแท่งเทียนที่เกิดขึ้นก่อนทั้งหมด แต่รูปแบบกราฟนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับส่วนของไส้เทียน ในขณะที่กราฟแท่งเทียน candlestick รวมส่วนของลำตัวและไส้เทียนทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งตัวอย่างรูปแบบกราฟแท่งoutside  bar ของตะวันตก จะแสดงอยู่ในรูปที่ 13-7  ทั้งนี้หลักการพื้นฐานทางจิตวิทยาของกราฟแท่งเทียนรูปแบบกลืนกิน Engulfing Pattern มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบที่กล่าวมาตรงที่มันแสดงความเปลี่ยนแปลงสมดุลของผู้ซื้อ / ผู้ขายหลังเกิดแนวโน้มที่รุนแรง แต่ก็มีความแตกต่างอยู่สองประการ คือ ประการแรกกราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่นใช้ราคาเปิดและราคาปิดเป็นสัญญาณการกลับตัว ในขณะที่กราฟแท่งของตะวันตกจะใช้ราคาที่ปลายสุดของแท่งกราฟเป็นสัญญาณการกลับตัว ประการที่สอง Engulfing Pattern ควรจะมีสีตรงกันข้ามกับแท่งเทียนที่พวกมันกลืนเข้าไป กราฟจะเป็นสีดำสำหรับด้านบน และจะเป็นสีขาวสำหรับด้านล่าง

รูปที่ 13-6 รูปแบบ Engulfingด้านบน

รูปที่ 13-7 รูปแบบ Engulfingpattern ด้านล่าง

อีกรูปแบบหนึ่งก็คือรูปแบบกราฟแท่งเทียนรูปแบบเมฆดำปกคลุม Dark Cloud Cover (ที่ด้านบน) และรูปแบบกราฟแท่งเทียนรูปแทงหัวใจสีขาว piercing white line  (ที่ด้านล่าง)  ตัวอย่างกราฟเหล่านี้จะแสดงในรูป 13-8 และ 13-9 รูปแบบกราฟ Dark Cloud Cover ที่ด้านบนแท่งแรกควรมีลำตัวสีขาวซึ่งยาวพอสมควร ส่วนกราฟแท่งที่สองควรมีลำตัวสีดำที่มีราคาเปิดที่สูงกว่า แต่ราคาปิดต้องต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของแท่งเทียนแรก ลักษณะของมันจะตรงกันข้ามกับรูปแบบกราฟ piercing white line ที่ด้านล่างของตลาด ตามรูปที่ 13-9 ในกรณีนี้จะไม่มีการนำไส้เทียน (สูงสุดและต่ำสุด) มาพิจารณา

รูปที่ 13-8 รูปแบบกราฟแท่งเทียนรูปแบบเมฆดำปกคลุม (Dark Cloud Cover)

รูปที่ 13-9 รูปแบบกราฟแท่งเทียนรูปแทงหัวใจสีขาว (piercing white line) 

ดังนั้นกราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น candlestick จึงมีรูปแบบบางอย่างคล้ายคลึงกับ outside bars แต่ไม่ถึงกับตรงกันเสียเลยทีเดียว

สรุป

รูปแบบกราฟแท่ง OutsideBars

• ลักษณะของราคา : เป็นรูปแบบกราฟแท่งเดี่ยวที่มี trading range ครอบคลุมแท่งกราฟที่เกิดขึ้นก่อนหน้า

• ข้อกำหนด : ควรมีแนวโน้มข้าขึ้น/ขาลงเกิดขึ้นก่อนหน้า

• ปัจจัยที่ช่วยเสริมความสำคัญ : ยิ่งกว้างขึ้นยิ่งดี มีจำนวนแท่งกราฟที่ครอบคลุมมาก ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น แนวโน้มก่อนหน้านี้แข็งแกร่งขึ้น

• ปัจจัยที่บ่งบอกถึงความล้มเหลว : เมื่อราคาปิดที่ปลายสุดของแท่งกราฟอยู่ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มที่มีอยู่ นั่นคือราคา (ปิด) เข้าใกล้กับราคาต่ำสุดในแนวโน้มขาลงหรือใกล้กับราคาสูงในแนวโน้มขาขึ้น

• ความหมายของการวัด : ไม่มี แต่รูปแบบควรมีอิทธิพลต่อราคาตั้งแต่ 5ถึง 10แท่ง

• ความเหมือนกับกราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น candlestick : ไม่มี แต่ engulfing patterns, piercing white lines และ dark cloud cover มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบกราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น candlestick

[ตอนที่ 70] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

14 รูปแบบกราฟแท่ง Inside Bars

รูปแบบกราฟแท่ง Inside bars เป็นรูปแบบที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับ outside bars เนื่องจากมันจะฟอร์มตัวอยู่ใน trading  range ของแท่งกราฟที่เกิดก่อนหน้า  แต่ในขณะที่ outside bars จะให้สัญญาณความเชื่อมั่นในการกลับตัวที่แข็งแกร่ง ในทางตรงกันข้าม Inside bars จะสะท้อนว่าราคาเข้าใกล้สมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายหลังจากการการปรับราคาขึ้น/ลงอย่างมาก

ในรูปที่ 14-1 เราเห็นการไล่ราคาที่ผู้ซื้อเป็นฝ่ายควบคุมอย่างหนัก ซึ่งในช่วงเวลาที่  Inside bar  เกิดขึ้นผู้ซื้อไม่สามารถดันราคาให้เกิด new high ได้อีกต่อไป  สำหรับครั้งแรกในช่วงที่มีการไล่ราคาขึ้นไป ดูเหมือนด้านผู้ซื้อได้สูญเสียโมเมนตัมไปบางส่วน ในขณะเดียวกันผู้ขายก็ยังไม่ได้เป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากไม่สามารถผลักดันราคาให้ต่ำกว่าแท่งกราฟที่เกิดก่อนหน้านี้ได้ ในทางทฤษฎีการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายเริ่มเข้าใกล้ความสมดุลมากและทั้งสองฝ่ายต่างไม่อยู่ในการควบคุม (ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ) พฤติกรรมราคาดังกล่าวเป็นข้อบ่งชี้เล็กๆ น้อยๆ ว่าแนวโน้มที่มีอยู่แต่เดิมกำลังจะเปลี่ยนไป

แต่เนื่องจากรูปแบบกราฟแท่ง Inside bars  จะไม่เหมือนกับ outside bars  ตรงที่มันไม่ได้เป็นสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้ม แต่รูปแบบนี้เป็น trading range ขนาดเล็กที่มีราคาวิ่งอยู่ในกรอบของแท่งเทียน จากนั้นการกลับตัวที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในภายหลัง ตัวอย่างของ  Inside bar ที่ด้านล่างของตลาดจะแสดงในรูปที่ 14-2

รูปที่ 14-1  รูปแบบกราฟแท่ง Inside bar ที่ด้านบน

รูปที่14-2 รูปแบบกราฟแท่ง Inside bar ที่ด้านล่าง

การกำหนดความสำคัญของ Inside Bar

ความสำคัญของ Inside bar จะพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ :

1. ยิ่งแนวโน้มที่เกิดก่อน Inside bar มีความรุนแรงมากก็ยิ่งดี ในสถานการณ์เช่นนี้แนวโน้มที่แข็งแกร่งแสดงถึงความได้เปรียบของฝั่งใดฝั่งหนึ่งและเริ่มต้นการกลับตัว แต่ถ้าไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกควบคุม ความเชื่อมั่นก็จะยังไม่เด็ดขาดและยังไม่มีการกลับตัว อย่างเช่นในระหว่างการไล่ราคาขึ้นไปอย่างรุนแรง ผู้ค้าจำนวนมากมีกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงเป็นจำนวนมาก เมื่อพวกเขารู้สึกว่าราคาจะมีการกลับตัว พวกเขาจะรีบเปลี่ยนกำไรเหล่านั้นให้เป็นเงินสดในทันทีและมีผลทำให้ราคาอ่อนแอลง ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่ขาย short หลังจากที่ราคาลดลง  ถ้า inside  bar  ไม่มีการเคลื่อนที่ของราคาที่รุนแรงมากพอ มันก็จะยังไม่มีการกลับตัว

2. ยิ่งกราฟแท่งที่เกิดก่อนมีความกว้างมากกว่า Inside bar ก็ยิ่งส่งสัญญาณการกลับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากแท่งกราฟที่กว้างบ่งชี้ว่าเทรนด์ที่มีอยู่กำลังจะถึงจุดสูงสุด ส่วน trading range ที่ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างภายในแท่งกราฟบ่งชี้ถึงความผันผวนซึ่งมักเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัวของแนวโน้ม นอกจากนี้ในระยะที่เติบโตเต็มที่ของแนวโน้มที่แข็งแกร่ง แท่งกราฟที่กว้างบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่แนวโน้มดังกล่าวจะอ่อนแรงลง เมื่อแท่งกราฟที่กว้างตามด้วยแท่งกราฟที่แคบมากๆ ถือว่าสันนิษฐานนี้ได้รับการยืนยัน

3. ยิ่งแท่งกราฟ inside bar มีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกราฟแท่งก่อนหน้า สมดุลของผู้ซื้อ / ผู้ขายก็ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากขึ้นและจะให้สัญญาณการกลับตัวที่แข็งแกร่งขึ้น ดังนั้น inside bar ในรูปที่ 14-3 จึงเป็นตัวอย่างที่ดีกว่าตัวอย่างในรูปที่ 14-1 และ 14-2

รูปที่ 14-3 รูปแบบกราฟ inside bar ขนาดเล็ก ที่ด้านบน

[ตอนที่ 71] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

4. ปริมาณการซื้อขายของ inside bar จะต้องน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายของกราฟแท่งก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากแท่งกราฟนี้แสดงถึงสถานการณ์ที่สมดุลมากขึ้น ถ้าเราเห็นว่ามีปริมาณการซื้อขายหนาแน่นมาพร้อมกับกราฟแท่งที่เกิดขึ้นก่อน inside bar   แสดงว่ามันมีความกระตือรือร้นอย่างมากในการผลักแนวโน้มไปข้างหน้า จากนั้นถ้าปริมาณการซื้อขายหดตัวอย่างเห็นได้ชัดก็หมายความว่าไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในรูปที่ 14-4 มีตัวอย่าง inside bar อยู่ 2 แท่ง ที่ด้านซ้ายจะเห็นกราฟ 4แท่งเรียงกันในรูปแบบต่อเนื่องจาก inside bar ก่อนที่ราคาจะขยับขึ้นในภายหลัง

รูปที่ 14-4 รูปแบบกราฟ inside bar พร้อมกับปริมาณการซื้อขาย

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตลาด

แผนภูมิ 14-1 แสดงตัวอย่างของ inside bars สองแท่ง แท่งแรกอยู่ที่ปลายสุดของราคาที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงระหว่างเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน จะเห็นว่ากราฟแท่งแรกมีความกว้างมากและมี inside bar ที่เกิดขึ้นจริงเป็น trading range ขนาดเล็ก  ในระหว่างการฟอร์มกราฟแท่งแรกปริมาณการซื้อขายจะหนาแน่นมากและราคาจะลดลงอย่างรวดเร็ว แสดงว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าจะเป็นขาลงอย่างรุนแรง จากนั้นในวันที่สองปริมาณการซื้อขายและ trading range ก็จะลดลงอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงความสมดุลที่ดีมากระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในขณะที่กำหนดให้นี่เป็นจุดต่ำสุดของการแนวโน้ม ถัดไปก็จะมีแนวโน้มระยะสั้นเคลื่อนที่ไปเป็น sideway ทั้งนี้บ่อยครั้งมากที่เราพบว่าถ้ามี inside bars อยู่ด้วยก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มในทิศทางตรงกันข้ามไปเป็นการกลับตัว

Chart 14-1 ราคารายวันของ Oxford Industries ในระหว่างปี 2000-2001

รูปแบบกราฟ inside bar แท่งที่สองพัฒนาขึ้น ณ จุดที่ราคาไต่ขึ้นไปได้ครึ่งทางและตามด้วย trading range ที่ทำราคาขึ้นลงในกรอบแคบๆ  แบบ sideway  การเคลื่อนที่ของราคาสิ้นสุดลงด้วยกราฟแท่งที่ส่งสัญญาณการกลับตัวแบบ two-bar reversal ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในบทที่ 16

[ตอนที่ 72] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

Chart 14-2 แสดงตัวอย่างเพิ่มเติมของ inside bars บนกราฟราย 5 นาที ของ S & P Composite ตัวอย่างแรก (A) กราฟแท่ง inside bars จะตามมาด้วยการไล่ราคาที่สวยงามแม้ว่าคุณภาพของสัญญาณไม่ดีนักเนื่องจากไม่ค่อยมีความแตกต่างระหว่างตัว inside bar กับกราฟแท่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้า

ตัวอย่าง B เป็นรูปแบบที่ให้สัญญาณหลอกที่สมบูรณ์เพราะราคายังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป เป็นการแสดงให้เห็นว่าเมื่อแนวโน้มมีความแข็งแกร่งรูปแบบราคาอาจจะสามารถส่งสัญญาณหลอกได้เหมือนกัน ซึ่งที่จริงแล้ว ความล้มเหลวนั่นเป็นการตอกย้ำความแข็งแกร่งของแนวโน้มโดยนัยยะ ดังนั้นทางที่ดี จึงควรพิจารณาเสมอว่าจะยืนยันรูปแบบ one­and two-bar patterns ด้วยจากหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ อย่างเช่นการฝ่าทะลุเส้นแนวโน้ม ซึ่งในกรณีนี้เราจะไม่เห็นมันอยู่บนกราฟ

Chart 14-2 กราฟแท่งราย 5 นาทีของ S&P Composite

สุดท้าย ตัวอย่าง C เป็นรูปแบบกราฟ inside bar คลาสสิก แท่งกราฟสองแท่งสุดท้ายขยายขนาดใหญ่ขึ้น  ลำตัวของ  inside bar จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก  นอกจากนี้จะเห็นว่าราคาเปิด/ราคาปิดเกือบจะเป็นราคาเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นการยืนยันถึงความสมดุลกันอย่างมากระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

Chart 14-3 เป็น inside bar บนกราฟรายสัปดาห์ของ cocoa เราจะเห็นว่า มันมี outside bar เกิดขึ้นตามมาติดๆ ในกรณีนี้ inside bar จะบ่งบอกว่าเกิดสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วน outside bar ก็เป็นการบอกว่าขณะนี้ผู้ซื้ออยู่ภายใต้การควบคุม ต่อมาเราจะเห็น inside bar อีกแท่งหนึ่งที่ยอดสูงสุดของแนวโน้ม ซึ่งตามมาด้วยการย่อตัวลงของราคาเล็กๆ ประมาณ 2-3สัปดาห์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ trading range ในภาพรวม และจะเห็นว่ากำลังของ inside bar ได้ถูกยกเลิกโดย outside barในภายหลัง

Chart 14-3 ราคารายสัปดาห์ของ Cocoa ในระหว่างปี 1991-1992

ส่วน Chart 14-4 เป็นกราฟของ Australian Gold Share Index ซึ่ง  inside bar จะปรากฏขึ้นที่ส่วนปลายสุดของแนวโน้มที่ลดลงอย่างรวดเร็ว อันที่จริงดัชนีนี้ได้ลดลงมาตลอด 4 รอบการซื้อขาย ก่อนหน้าที่จะเกิด inside bar  ซึ่งแท่งกราฟที่ได้จะค่อนข้างกว้างมากเป็นสัญญาณบ่งบอกว่านักลงทุนในตลาดหมีอยู่ในการควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้น inside bar จึงเป็นสัญญาณแรกที่บ่งชี้ว่าแนวโน้มนี้สิ้นสุดลงแล้ว

Chart 14-4 ดัชนีรายวันของ Australian Gold Share Index

[ตอนที่ 73] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

ใน Chart 14-5 ของ Sydney All Ordinaries ที่มี inside bar ปรากฏขึ้นที่ระดับต่ำสุดของเดือนกรกฎาคม ถ้าว่ากันตามเกณฑ์ มันไม่ใช่ inside bar เสียเลยทีเดียวเพราะดัชนีต่ำสุดของมันแทบจะเท่ากับของกราฟแท่งที่อยู่ก่อนหน้า แต่ก็ตีความหมายได้ว่าผู้ขายยังแข็งแกร่งไม่พอที่จะกดราคาให้ต่ำลงไปกว่านี้  ดังนั้นเมื่อดัชนีต่ำสุดของวันที่สองยังคงใกล้เคียงกันอีกและดัชนีปิดตัวที่จุดสูงสุดของมันก็ถือว่ามีการยืนยันสัญญาณเพิ่มขึ้น จุดสูงสุดของการไล่ราคาสองวันถูกครอบโดยกราฟอีกแท่งที่ “เกือบ” จะเป็น inside bar  ตามมาด้วยการปรับฐานอีก 4 วัน

Chart 14-5 ดัชนีรายวันของ Sydney All Ordinary Index

สุดท้าย Chart  14-6 เป็นรูปแบบกราฟ inside bars อื่นเพิ่มเติม จะเห็นว่าในตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน แท่งกราฟที่มีความกว้างและ inside bar มีความสูงเกือบเท่ากัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครอยู่ในการควบคุมในวันที่แท่งกราฟมีความกว้าง อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้ซื้อไม่สามารถผลักดันราคาให้สูงขึ้นไปได้ในวันถัดไปแสดงว่าตลาดเริ่มเข้าสู่สภาพสมดุลมากยิ่งขึ้น สำหรับรูปแบบกราฟ inside bars ในขาลงของเดือนตุลาคมถูกเรียกว่าจุดสูงสูดของการไล่ราคาขนาดเล็ก แต่หลังจากที่เกิดการปรับตัวลงของราคาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ดูเหมือน inside bars ขาขึ้นที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์ก็ไม่อาจนำมาใช้งานได้ ซึ่งถ้าพิจารณาจากพฤติกรรมของราคาที่มีอยู่ในกราฟนี้เพียงอย่างเดียว คงไม่อาจหาคำอธิบายที่ดีสำหรับความล้มเหลวนี้ได้และนี่ก็เป็นเหตุผลที่สำคัญที่จะต้องพิจารณาเส้นแนวโน้มที่เชื่อมอยู่เหนือการ trading range มาประกอบเสมอ การใช้เส้นแนวโน้มดังกล่าวอาจทำเราพบว่าในจุดนี้จะมีเส้นแนวโน้มหลักขาลงในระยะสั้น (2-6สัปดาห์)  และมี inside bar จะให้สัญญาณตรงกันข้าม

ถึงมันจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม แต่เราต้องจำไว้ว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นยังห่างไกลจากความสมบูรณ์ของรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่ครบถ้วนอาจจะไม่สามารถใช้ได้เสมอไป นอกจากนี้ผมยังจะขอเพิ่มเติมว่ารูปแบบราคา one- and two-bar ทั้งหมดเป็นรูปแบบที่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุดเข้าไปอีกด้วย ในกรณีนี้ผมคิดว่าเราควรรอให้ราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้มก่อนน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า และสุดท้าย inside bar  อีกแท่งหนึ่งก็พัฒนาขึ้นประมาณครึ่งทางของเส้นราคาที่ไต่ระดับขึ้นไป แต่มันก็ไม่สามารถสร้างเป็นรูปแบบรวบรวมกำลังหรือรูปแบบกลับตัวได้  นี่อาจเป็นเพราะแนวโน้มระยะสั้นนั้นเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งก็ได้

Chart 14-6 ราคารายวันของ Eurodollar

[ตอนที่ 74] บทความแปล by cmFX ”Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

รูปแบบกราฟแท่ง Inside Bars กับ กราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น Candles

รูปแบบกราฟแท่ง inside bar มีความหมายสอดคล้องกับรูปแบบกราฟแท่งเทียนแบบคนท้องหรือ Harami  Japanese candlestick  (ดูรูปที่ 14-5 และ 14-6) อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีความแตกต่างกันเพราะ Harami ไม่สนใจราคาสูงสุดและราคาต่ำสุด และจะพิจารณาเฉพาะราคาเปิดและราคาปิดเท่านั้น นั่นหมายความว่าในทางทฤษฎีว่าไส้เทียนเส้นใดเส้นหนึ่งหรือทั้งสองเส้นของรูปแบบกราฟแท่งเทียน harami อาจครอบคลุมแท่งเทียนที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ถ้าไส้เทียนทั้งสองคลุมแท่งเทียนเดิมได้ทั้งหมดแล้ว รูปแบบกราฟ harami  ก็จะเหมือนกับรูปแบบกราฟแท่ง outside  bar ของตะวันตก แต่มันไม่ได้ให้สัญญาณการกลับตัวที่แข็งแกร่งนักเนื่องจากราคาเปิดและราคาปิดจะเกิดอยู่ตรงกลางของ trading range แทนที่จะไปเกิดที่ปลายสุด โดยทั่วไปแล้ว harami "ที่ดี" ควรประกอบด้วยลำตัวจริงที่ค่อนข้างกว้างตามมาด้วยกราฟแท่งที่มีลำตัวจริงผอมมากๆ และมันแตกต่างจากรูปแบบกราฟ  engulfing patterns ตรงที่สีแท่งเทียนทั้งของมันไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ทางที่ดีผมคิดว่าเรากำหนดให้มันมีสีตรงข้ามกันน่าจะดีกว่า

รูปที่ 14-5 รูปแบบกราฟแท่งเทียน Harami ขาขึ้น (Bullish harami)

รูปที่ 14-6 รูปแบบกราฟแท่งเทียน Harami ขาลง (Bearish harami)

สรุป

รูปแบบกราฟ Inside Bars

• ลักษณะของราคา : แนวโน้มที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องที่จุดปลายสุดมีกราฟแท่งขนาดเล็กที่ถูกคอบคลุมโดยสมบูรณ์จากแท่งกราฟที่เกิดขึ้นก่อนและมีความกว้างมากกว่ามาก

• ปริมาณการซื้อขาย : อาจมีปริมาณการซื้อขายหนาแน่นตรงแท่งกราฟ และมีปริมาณการซื้อขายลดลงตรง inside bar

• ปัจจัยที่ช่วยเสริมความสำคัญ : ความชันที่มากขึ้นของเส้นแนวโน้ม, กราฟแท่งแรกมีความกว้างมากกว่าเมื่อเทียบกับ inside bar และปริมาณการซื้อขายหนาแน่นพร้อมกับกราฟแท่งก่อนหน้า

• การตีความหมาย : Inside bars จะตามมาด้วยทั้งกราฟในรูปแบบรวบรวมกำลังที่ประกอบด้วยมีกราฟแท่ง 5 ถึง 10 แท่งหรือรูปแบบกลับตัวที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นการดีมากถ้าจะรอดูการยืนยันอื่นๆ เพิ่มเติม เช่นจากการทำราคาทะลุออกจากเส้นแนวโน้ม