ChiangmaiFX : ก้าวสู่ปีที่ 16 อย่างมั่นคงในการเทรด Forex (2009 - 2025) โดยใช้วิชาเทคนิคอล (สถิติประยุกต์) มาช่วยเพิ่มโอกาสที่จะชนะ

 

YTC Price Action (Part 21-30)

Part 21 กระบวนการเทรดของตัวอย่างที่ 1 

ขั้นตอนที่ 1 - เตรียมการเทรด

มาเตรียมตัวสำหรับการเทรดเมื่อมีโอกาสที่จะเกิดการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) กันเถอะ

จำไว้ว่า ขั้นตอนนี้จะวิเคราะห์ตลาดแท่งต่อแท่งตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าออเดอร์เมื่อเกิดการจัดฉาก ไปจนกระทั่งเสร็จสิ้นการเทรด

แผนภูมิที่ 5.8 - ตัวอย่างที่ 1 - เตรียมการเทรด

การที่ราคาย่ำอยู่กับที่ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะไปเกี่ยวสต๊อปลอส (S1) ที่ราคา 1.5592 ซึ่งต่ำลงไป 2 ปิ๊ป จากราคาพักตัว

ราคาขายส่งสุดท้าย (LWP) อยู่ที่ 1.5603 ดังแสดงในแผนภูมิด้านบน นี่คือราคาที่น่าจะจบการพักตัวแล้วขึ้นไปอีกครั้ง

เป้าหมายแรก T1 จะอยู่ที่ราคา 1.5616 ต่ำกว่าราคาสูงสุดเดิมนิดหน่อย เป็นการยืนยันว่าราคาส่งสุดท้าย LWP จะคุ้มค่าต่อความเสี่ยงมากกว่า 1:1 (มีโอกาสได้ 13 จุด โดยเสี่ยง 11 จุด) ราคาส่งสุดท้าย LWP นี้ ช่วยจำกัดบริเวณที่จะเทรดด้านบนให้มีโอกาสมากขึ้น

เป้าหมายที่ 2T2 อยู่ต่ำกว่าแนวต้านถัดไปที่ราคา 1.5643

ขั้นตอนที่ 2 - การเข้าออเดอร์

ต่อเนื่องจากแผนภูมิที่ 5.8 ด้านบน ผมจะเข้าออเดอร์แบบ stop ที่ราคาส่งสุดท้าย LWP 1.5603 เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่พลาดหากราคากลับตัวขึ้นไปจากราคาปัจจุบัน ออเดอร์นี้จะใช้สต๊อปลอสที่ S1 และเป้าที่ T1 และ T2

ตอนนี้ผมจะพยายามหาจุดเข้าที่ดีกว่าราคาส่งสุดท้าย

ในกรณีนี้ ผมไม่ได้ใช้การวางออเดอร์แบบ limit ใต้บริเวณที่ราคาย่ำอยู่ ประการแรก เพราะว่าราคาที่ย่ำอยู่นั้นกว้างแค่ไม่กี่ปิ๊ป ประการที่สอง เพราะราคาสามารถสวิงลงไปได้อีก (อาจเป็นการพักตัวที่ยาวนาน ลงไปลึกถึง 1.5580 หรือ 1.5565 ซึ่งเป็นแนวรับถัดไป)

ถ้าเป็นแบบนั้น เราก็จะมาวิเคราะห์ใหม่ ทั้งสต๊อปลอส และราคาส่งสุดท้าย

ดังนั้นเราจึงแค่รอ ไม่ว่าจะเป็นราคายังคงย่ำอยู่กับที่ หรือจะกลับขึ้นไปเปิดออเดอร์แบบ stop ที่วางไว้

ตอนนี้มาดูที่แผนภูมิ 5.9 (ด้านล่าง) จะเห็นพฤติกรรมราคาที่ตามมา

แผนภูมิที่ 5.9 - ตัวอย่างที่ 1 - เข้าออเดอร์

ทางด้านซ้ายของแผนภูมิด้านบน แสดงให้เห็นกราฟถัดมาของไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) โดยราคาขึ้นไปเปิดออเดอร์แบบ stop ที่ราคาส่งสุดท้าย 1.5603

นี่ทำให้เราไม่สามารถหาจุดเข้าที่ดีกว่าได้ หากเราไม่ได้เข้าออเดอร์แบบ stop ไว้ ก็สามารถไปเข้าในกราฟราย 1 นาที (ไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า) ซึ่งเกิดรูปแบบ micro 3-swing และ/หรือ เกิดแท่งตันเดินทางออกจากเส้นค่าเฉลี่ย

เราจึงเข้าออเดอร์ที่ราคา 1.5603

สต๊อปลอสของทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 คือ S1 ที่ราคา 1.5590 (เสี่ยง 11 ปิ๊ป)

เป้าหมายแรกที่ T1 ที่ราคา 1.5616 (ผลตอบแทน 13 ปิ๊ป) ส่วนเป้าหมายที่ 2 T2 ที่ราคา 1.5643 (ผลตอบแทน 40 ปิ๊ป)

ขั้นตอนที่ 3 - การจัดการการเทรด และการออก

แผนภูมิที่ 5.10 ด้านล่าง แสดงตัวอย่างการจัดการการเทรดส่วนที่ 1

แผนภูมิที่ 5.10 - ตัวอย่างที่ 1 - การจัดการการเทรดและการออก - ส่วนที่ 1

ให้ดูที่กราฟทางด้านขวา (ไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า เป็นกราฟราย 1 นาที) เราจะเห็นแท่ง A ที่จะเข้าออเดอร์พอดีเมื่อราคาปิด เราวางสต๊อปลอสที่ S1

ราคาย่ำอยู่กับที่ 3 นาที โดยไม่ได้แสดงท่าทีของตลาดหมี ซึ่งหมายถึงว่าผมเข้าเร็วไปหน่อยจากการวิเคราะห์ว่าจะจบการพักตัว หรือเทรดเดอร์ที่เทรดจากสัญญาณกลับตัวยังไม่ปิดออเดอร์

แท่ง B เริ่มที่จะเคลื่อนที่จริงๆ ขึ้นไปสูงกว่าเดิม เราเลื่อนสต๊อปลอสไปยัง S2 ใต้จุดต่ำสุดของการพักตัวก่อนหน้า ซึ่งหากเป็นการกระชากของตลาดกระทิงจริงๆ ราคาจะไม่ย้อนกลับไปจุดนั้น

แท่ง C เข้าไปใกล้เป้าหมายแรกเพียง 3 ปิ๊ป หากตอนนี้ราคายังไม่ถึงเป้าหมาย ก็ให้เลื่อนสต๊อปลอสมาที่ S3 ซึ่งเป็นจุดที่ราคาเบรคเอ้าท์ขึ้นมา หรืออาจจะวางที่ราคา 1.5604 ใต้แท่ง C ซึ่งจะเพิ่มอีก 1 ปิ๊ปเพื่อให้เพียงพอกับค่าคอมมิชชั่น

เป้าหมายแรกไปถึงอย่างง่ายดาย

ทางด้านซ้ายของแผนภูมิที่ 5.11 (ด้านล่าง) แสดงตัวอย่างการจัดการการเทรด และการออกของออเดอร์ส่วนที่ 2

แผนภูมิที่ 5.11 - ตัวอย่างที่ 1 - การจัดการการเทรดและการออก - ส่วนที่ 2

หลังจากที่ราคาไปถึงเป้าหมายแรก T1 เราจะเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่ 2 มาที่ S3 ซึ่งเป็นจุดที่ราคาเบรคเอ้าท์

ทางด้านซ้ายแสดงไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) ซึ่งเป็นไทม์เฟรมที่เราจะให้ความสนใจ

ออเดอร์ส่วนที่สองนี้ จะใช้การเลื่อนสต๊อปลอสตามโดยใช้ไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) จนกว่าจะถึงเป้าหมาย T2 ที่ราคา 1.5643 ใกล้กับแนวต้านถัดไป

ขั้นตอนที่ 4 - หลังการเทรด

เมื่อปรับค่าของออเดอร์ที่เทรดอยู่เรียบร้อย และสิ้นสุดการเทรดแล้ว เราจะกลับไปสนใจการเตรียมเทรดครั้งต่อไปเมื่อราคาเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน (มองหาโอกาสที่จะเกิดการทดสอบไม่ผ่าน TST หรือการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF หรือการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB ถ้าราคายังคงเป็นตลาดกระทิงต่อไป และสามารถขึ้นไปสูงกว่าราคาสูงสุดเดิม)

เมื่อจังหวะเวลาเอื้ออำนวย เราจะบันทึกการเทรด และจดบันทึกว่าจากพฤติกรรมตลาด และพฤติกรรมราคา มีอะไรที่เป็นนัยยะสำคัญบ้าง บันทึกกระบวนการการเทรดของเรา และสภาวะร่างกาย และจิตใจของเราด้วย

ผลลัพธ์ :

  • ออเดอร์ส่วนที่ 1 : ถึงเป้าหมายที่ T1 +13 ปิ๊ป (ค่าคอมมิชชั่นต่ำ)
  • ออเดอร์ส่วนที่ 2 : ถึงเป้าหมายที่ T2 +40 ปิ๊ป (ค่าคอมมิชชั่นต่ำ)

Part 22 ตัวอย่างกระบวนการเทรด 2 

- การพักตัว PB - ได้ตามเป้าส่วนที่ 1 (T1) และส่วนที่ 2 จัดการการออก 

การวิเคราะห์ตลาด

ตลาด : 6B (ตลาดฟิวเจอร์ของค่าเงินปอนด์)  เทียบเท่ากับค่าเงิน GBP/USD ในตลาดฟอเร็กซ์

วันที่ : 23สิงหาคม 2553 (2010)

เวลา : 24/8/10 00:27 ตามกราฟ (15:27 เวลาลอนดอน)

ในแต่ละวันของการเทรด อาจจะไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจนทุกครั้งไป กรณีนี้เป็นวันจันทร์ ซึ่งไม่มีข่าวเศรษฐกิจทั้งในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐฯ เราเริ่มการเทรดเมื่อตลาดทั้งสองประเทศเปิดมาคาบเกี่ยวกันครึ่งทางแล้ว ซึ่งเราพบว่าราคาขึ้นๆ ลงๆ อยู่กับที่ไม่มีทิศทาง และเวลาที่เหลือก็ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก

บางครั้งการสังเกตดูให้ดี ก็อาจจะเห็นสัญญาณของความแข็งแรง หรืออ่อนแอได้อย่างชัดเจน การเทรดของเราเป็นการเทรดตรงข้ามกับแนวโน้มที่อ่อนแอ จะมีโอกาสมากกว่า

ขั้นตอนที่ 1 - หาโครงสร้าง

แผนภูมิที่ 5.12- ตัวอย่างที่ 2- หาโครงสร้าง

ตัวอย่างนี้ เราจะเห็นแนวต้านที่ราคา 1.5575,1.5595 และ 1.5620 สังเกตว่าการเคลื่อนไหวของราคาล่าสุดได้ทะลุ 1.5560 ขึ้นไปก่อน แล้วก็ร่วงทะลุ 1.5560 ลงมาอีกครั้ง

แนวรับจะอยู่ที่ราคา 1.5460, 1.5475 และ 1.5520 ราคาเข้าใกล้แนวรับที่ 1.5520 เป็นครั้งที่ 3 (ในวันเดียวกัน) โดยครั้งก่อนหน้านี้ ราคาได้ทะลุไปแล้วด้วยซ้ำ (ดูได้จากมีไส้เทียนของแท่งที่ 3 ก่อนหน้านี้ต่ำกว่าแนวรับ)

ขั้นตอนที่ 2 - หาแนวโน้ม

กราฟราย 3 นาทีของไทม์เฟรมที่เทรด แสดงแท่งเทียนแท่งสุดท้าย ที่ทำให้แนวโน้มเปลี่ยนเป็นขาลง

แผนภูมิที่ 5.13- ตัวอย่างที่ 2- หาแนวโน้ม

ขั้นตอนที่ 3 - หาความแข็งแรงและความอ่อนแอ

จากแผนภูมิด้านล่าง เราจะเห็นสภาวะกระทิงในสวิง A และ C รวมกับสภาวะหมีในการพักตัวที่ B และ D ซึ่งเป็นแนวโน้มขาขึ้นที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงสวิง E ไม่สามารถทำให้ราคาคงความแข็งแรงไว้ได้ ราคาจึงร่วงลงมาเบรคเอ้าท์ที่แนวต้านเดิมราคา 1.5560 (ดังที่ได้อธิบายในขั้นตอนที่ 1 ด้านบนแล้ว)อาการแบบนี้ไม่ทำให้ใครสนใจเข้าซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวันที่ไม่มีข่าวใดๆ

ราคายังคงร่วงลงมาช่วงสวิง F โดยเมื่อเทรดเดอร์ที่เข้าซื้อต่างปิดออเดอร์ยิ่งเป็นการเร่งให้ราคาลงเร็วขึ้น คนที่เข้าออเดอร์ขายใหม่ ก็จะต้องไล่ตามราคาที่ต่ำลง

การวิเคราะห์โมเมนตั้มแสดงให้เห็นความอ่อนแอของสภาวะกระทิงที่ช่วงสวิง E แล้วมีกำลังแรงขึ้นของสภาวะหมีในช่วงสวิง F

แผนภูมิที่ 5.14- ตัวอย่างที่ 2- หาความแข็งแรงและความอ่อนแอ - 1 จาก 2

กราฟของไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) ด้านล่างแสดงสัญญาณแนวโน้มขาลงที่ชัดเจน โดยสังเกตได้จากสัญญาณกลับตัว แต่ละครั้งไม่สามารถไปทำราคาสูงสุดใหม่ได้เลย และการพักตัวก็ลงลึกกว่า 100%

กราฟยังแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มขาลงมีกำลังมากกว่า

แผนภูมิที่ 5.15- ตัวอย่างที่ 2- หาความแข็งแรง และความอ่อนแอ - 2 จาก 2

ขั้นตอนที่ 4 - หาแนวโน้มในอนาคต

หลักการที่ 6 เรื่องแนวโน้มในอนาคต บอกว่า : ถ้าราคาแสดงถึงกำลังเมื่อเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน เราคาดว่าจะมีการเบรคเอ้าท์ และสังเกตพฤติกรรม  ราคาหลังการเบรคเอ้าท์ เพื่อดูว่าราคาจะไปในทิศทางใด:

  • การอ่อนกำลังเมื่อเบรคเอ้าท์ – คาดว่าการเบรคเอ้าท์จะไม่สำเร็จ และราคากลับตัวย้อนไปสู่แนวรับ/แนวต้าน
  • การอ่อนกำลังของการพักตัว – คาดว่าการพักตัวจะจบ และราคาไปต่อ

คำว่าราคาแสดงกำลังเมื่อเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน ผมคาดหวังว่าจะสามารถเบรคเอ้าท์แนวรับนี้ไปได้ จากนั้นจะสังเกตการพักตัวจึงจะสามารถบอกได้ว่า เป็นการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ หรือการพักตัวกันแน่ ในใจผมคิดว่าน่าจะเกิดการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB มากกว่า เนื่องจากโมเมนตั้มขาลงที่เพิ่มขึ้น

แผนภูมิที่ 5.16 - ตัวอย่างที่ 2 - หาแนวโน้มในอนาคต

โดยทั่วไป การเคลื่อนที่ต่อเนื่องอย่างรุนแรงเป็นไปได้ยาก - บางครั้งดูเหมือนว่าราคาจะวิ่งแรง และไปต่อในทิศทางเดิม (โดยมากจะเกิดหลังจากการพักตัวที่ยาวนาน) แต่บางครั้งกลายเป็นการกลับตัวที่แนวรับสำคัญแทน

ในกรณีนี้ โอกาสที่จะเกิดการจัดฉากในทิศทางที่มีความแข็งแรง และตรงข้ามกับทิศทางที่มีความอ่อนแอ โอกาสที่เป็นไปได้มีทั้ง PB และ BPB (ทั้งสองแบบเป็นการอ่อนแอที่เกิดในแนวโน้มชัดเจน) โอกาสที่จะเกิดต่ำก็คือ การกลับตัวเนื่องจากเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF (สวนเทรนด์) ดังนั้นจึงควรเรียงโอกาสการเข้า โดยการสวนเทรนด์เป็นโอกาสที่ต่ำสุด ให้เลือกการการพักตัวก่อน แล้วจึงค่อยมาตัดสินใจจากการทดสอบไม่ผ่าน หรือเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 - จินตนาการพฤติกรรมราคาในอนาคต

จากโอกาสที่จะเกิด BPB ผมมองหาความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อราคามาถึงแนวรับ โดยมีทั้งแบบที่พักตัว และราคาไม่สามารถผ่านแนวรับไปได้แล้วกลับตัว

ในการที่จะเช็คว่าเรายังเทรดถูกทางอยู่หรือไม่ การพักตัวที่ยาวนานจะเป็นตัวบอกเราเมื่อไม่มีโอกาสในการขายใต้แนวรับนี้ มันจะคล้ายกับตัวอย่างในกราฟก่อนหน้านี้ที่มีการกลับตัวจากด้านบน ซึ่งพยายาม 2-3 ครั้ง แต่ก็ไม่ผ่าน และราคาก็ลงมาต่ำกว่าเดิม ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ผมต้องประเมิน และตัดสินใจเมื่อราคาไปทำราคาต่ำสุดใหม่

แผนภูมิที่ 5.17 - ตัวอย่างที่ 2 - จินตนาการพฤติกรรมราคาในอนาคต

ขั้นตอนที่ 6 - หาบริเวณที่มีโอกาส

การจินตนาการพฤติกรรมราคาในอนาคต ทำให้เราตัดสินใจได้ว่ามีโอกาสที่จะเกิด BPB มากกว่า

แผนภูมิที่ 5.18 - ตัวอย่างที่ 2 - หาบริเวณที่มีโอกาสในการเทรด

การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ 1 - สังเกตรูปแบบแท่งเทียน

ขั้นตอนที่ 2 - คำนึงถึงบริบทในขณะนั้น

ขั้นตอนที่ 3 - ทั้งหมดสนับสนุนการเทรดของเราหรือไม่

มาสรุปกันอีกครั้ง...

ลองมาดูกราฟราย 3 นาทีต่อไปนี้...

แผนภูมิที่ 5.19 - ตัวอย่างที่ 2 - วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตใหม่

แท่ง A (ช่วงราคาเปิด-ปิดต่ำ)ตามด้วยแท่ง B (ช่วงราคาเปิด-ปิดสูง) ทั้งสองแท่งแสดงว่ามีอุปสงค์ (แรงซื้อ) เข้ามาที่บริเวณแนวรับ ผมไม่สนใจว่านี่จะเป็นการทดสอบไม่ผ่าน แต่จะพิจารณาใหม่ถ้ามีการพยายามไปทดสอบ 2-3 ครั้งแล้ว

อย่างไรก็ตาม แท่งเทียน 1-2 แท่งที่จะตามมาอาจทำให้สถานการณ์แย่ก็ได้ หากราคายังลงไปต่อ ผมจะยังคงทำตามแผนเดิม และรอให้ราคาทะลุแนวรับไป แต่หากราคาขึ้นสูงต่อไป ผมจะรอให้จบการพักตัว แล้วร่วงลงมาสู่แนวรับอีกครั้ง (ตามหลักการที่ 1)

หลักการที่ 1 - เราคาดหวังว่าแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงที่เกิดขึ้นนั้นจะไปต่อจนถึงบริเวณที่เป็นแนวรับ/แนวต้าน หรือจนกว่าจะแสดงอาการอ่อนแรง

แท่งเทียนแท่งถัดมาแสดงให้เห็นว่า ราคายังคงขึ้นมาอีก ตอนนี้เรามองหาโอกาสที่จะเข้าขายด้วยกับดัก PB ราคาจะต้องอ่อนแรงลงเป็นการยืนยันว่าจบการพักตัวแล้ว

แท่ง C (แท่งเขียวปิดกลางแท่ง) เกิดไส้เทียนด้านบน สัญญาณการขายเกิดขึ้นในตลาด ซึ่งเราคาดว่าจะเกิดขึ้นบริเวณเส้นทึบสีดำในกราฟ

แผนภูมิที่ 5.20 - ตัวอย่างที่ 2 - การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง

Part 23 กระบวนการเทรดของตัวอย่างที่ 2 

ขั้นตอนที่ 1 - เตรียมการเทรด

จำไว้ว่า ขั้นตอนนี้จะวิเคราะห์ตลาดแท่งต่อแท่งตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าออเดอร์เมื่อเกิดการจัดฉาก ไปจนกระทั่งเสร็จสิ้นการเทรด

แท่ง D (แท่งเขียวปิดสูง) แสดงให้เห็นว่ายังคงอยู่ในช่วงพักตัวเช่นเคย เราเห็นว่าการพักตัวนั้นเริ่มอ่อนแรง ทำให้คาดได้ว่าแรงของตลาดกระทิงคงสู้ตลาดหมีไม่ได้

เราวางสต๊อปลอสคร่าวๆ ไว้เหนือแท่ง D ที่ราคา 1.5548 (S1) แน่นอนว่า ถ้าราคายังพักตัวขึ้นไปสูงกว่านี้ เราก็ต้องเลื่อนสต๊อปลอสออกไปอีก

แล้วเราก็วางเป้าคร่าวๆ ไว้ที่ T1 ที่ราคา 1.5523 เหนือแนวรับเล็กน้อย และ T2 ที่ราคา 1.5478 เหนือแนวรับถัดไป

แผนภูมิที่ 5.21 - ตัวอย่างที่ 2 - เตรียมการเทรด

สมมติว่าราคาเบรคลงมาต่ำกว่าแท่ง D ก็จะทำให้คนที่เข้าซื้อไว้ต้องติดกับ เราจึงระบุให้บริเวณดังกล่าวเป็นราคาส่งสุดท้าย LWP ที่ราคา 1.5538 นี่จะทำให้เราเสี่ยง 10 ปิ๊ป เพื่อผลตอบแทน 15 ปิ๊ป ตรงกับระดับความเสี่ยงต่อผลตอบแทนอย่างน้อย 1:1 ที่เราต้องการ เราจึงวางออเดอร์แบบ stop ที่ราคาส่งสุดท้าย และวาง S1, T1 และ T2 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ตอนนี้เราได้พยายามเข้าออเดอร์ให้ดีที่สุดแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 - การเข้าออเดอร์

การเข้าออเดอร์ จะเข้าไปดูในไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า (ราย 1 นาที) เพื่อดูรูปแบบของการจบการพักตัวที่ราคา 1.5540 หรือจะวางออเดอร์แบบ stop ที่ราคาส่งสุดท้าย 1.5538 ก็ได้

แต่ให้ระวังว่าถ้าจุดที่จะเข้าในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า ไม่ห่างจากราคาส่งสุดท้ายมากนัก อาจจะกลายเป็นเข้า 2 ครั้งก็เป็นได้

แผนภูมิที่ 5.22 - ตัวอย่างที่ 2 - เข้าออเดอร์

สมมติว่าถ้าเราเข้าเมื่อจบการพักตัวไม่ทัน โดยราคาลงมาเปิดออเดอร์แบบ stop ที่ราคาส่งสุดท้าย เราจะได้ราคา 1.5538

สต๊อปลอสของออเดอร์ทั้ง 2 ส่วน คือ S1 ที่ราคา 1.5548 (เสี่ยง -10 ปิ๊ป)

เป้าหมายอยู่ที่ T1 ที่ราคา 1.5523 (ผลตอบแทน +15 ปิ๊ป) เป้าที่ 2 T2 ที่ราคา 1.5478 (ผลตอบแทน +60 ปิ๊ป)

ขั้นตอนที่ 3 - การจัดการการเทรด และการออก

การจัดการการเทรดของตัวอย่างนี้ ค่อนข้างง่าย ราคาลงไปถึงเป้าหมายแรกอย่างรวดเร็ว ความแข็งแรงของการสวิงลงแสดงให้เห็นทิศทางชัดเจน สภาวะหมีเกิดจากคนที่พยายามเข้าเพราะคิดว่ากลับตัว จะช่วยส่งให้การเทรดของเราได้กำไร

แผนภูมิที่ 5.23 - ตัวอย่างที่ 2 - การจัดการการเทรดและการออก - ส่วนที่ 1

การเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่ 1 แค่เลื่อนตามง่ายๆ ตามแท่งแดงในไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า (ราย 1 นาที) หลังจากจบแท่ง A เราจะเลื่อนสต๊อปลอสมาที่ S2 แท่ง B ทำให้เราคิดว่าราคาจะย้อนกลับไปทดสอบจุดเข้า แท่ง C ปิดทำจุดต่ำสุดใหม่ ทำให้เราเลื่อนสต๊อปลอสมาที่ S3 และราคาก็ใกล้จะมาถึงเป้า เราจึงเลื่อนสต๊อปลอสมาที่ S4 เพื่อให้ระยะแคบเข้าเพื่อให้แน่ใจว่าเราได้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่คุ้มค่า ราคาไปถึงเป้า T1 อย่างง่ายดาย

ออเดอร์ส่วนที่ 2 ก็ใช้การเลื่อนสต๊อปลอสตามเช่นเดียวกัน แต่จะทำบนไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) ตามแผนภูมิที่ 5.24 ด้านล่าง ตอนที่ราคามาถึงเป้าหมาย T1 เราได้เลื่อสต๊อปลอสมาที่ S5 ซึ่งเป็นจุดที่เบรคเอ้าท์ เมื่อแท่ง A ปิด เราจึงเลื่อนมาเหนือแท่ง A ที่ S6 เมื่อแท่ง B จบ ก็เลื่อนมาที่ S7 คุณจะเห็นว่าทำไมผมถึงชอบเลื่อนสต๊อปลอสตามทุกๆ แท่งแดง (เราทำแบบเดียวกันในขาขึ้นแต่เป็นแท่งเขียว)

แท่ง C ทำให้เรารู้ว่าแนวโน้มเริ่มอ่อนแรง และแท่ง D คุณควรจะเริ่มคิดถึงการออกแล้ว โมเมนตั้มของขาลงเริ่มหมดไปแล้ว และดูท่าราคาจะค่อยๆ ขึ้นสูงอีกครั้ง

แผนภูมิที่ 5.24 - ตัวอย่างที่ 2 - การจัดการการเทรดและการออก - ส่วนที่ 2 - 1 จาก 2

แผนภูมิที่ 5.25 (ด้านล่าง) แสดงไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า (ราย 1 นาที)

การออก สามารถทำได้ 2 ทาง - หนึ่ง คือบีบเป้าหมายกับสต๊อปให้แคบลง ผมเลือกที่จะปล่อยให้เป้า T2 ยังอยู่ที่เดิม ซึ่งถ้าราคาผ่าน 1.5500 ไปได้ ก็เป็นไปได้ที่จะลงไปถึง T2 ด้านที่ผมต้องห่วง คือด้านบน เพราะมีความพยายามที่จะฝ่าแนวรับถึง 3 ครั้งแต่ไม่ผ่าน นั่นแสดงให้เห็นว่า ราคาอาจจะฝ่ากลับขึ้นมาได้มากกว่า ผมจึงเลื่อนสต๊อปลอสมาใกล้ขึ้นที่ S8

การเทรดจึงจบลงที่ชนสต๊อปที่ราคา 1.5513

แผนภูมิที่ 5.25 - ตัวอย่างที่ 2 - การจัดการการเทรดและการออก - ส่วนที่ 2 - 2 จาก 2

จากผลที่ออกมา หากเราเลื่อนเป้าหมายด้วย อาจให้ผลที่ดีกว่าที่บริเวณ 1.5500 แต่ผมไม่ได้ใช้วิธีนั้นในตัวอย่างนี้ เพราะหากราคาผ่าน 1.5500 ไปได้ ก็จะสามารถไปถึงเป้าที่เราตั้งไว้ได้ การจัดการการเทรด อาจจะไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่มากที่สุดเสมอ เพราะอย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างนี้ก็ได้ผลที่ดีกว่าการรอให้ราคามาชนสต๊อป หรือเป้าหมายแน่นอน

ขั้นตอนที่ 4 - หลังการเทรด

เมื่อปรับค่าของออเดอร์ที่เทรดอยู่เรียบร้อย และสิ้นสุดการเทรดแล้ว เราจะกลับไปสนใจการเตรียมเทรดครั้งต่อไปเมื่อราคาเข้าสู่บริเวณที่เป็นกับดัก

เมื่อจังหวะเวลาเอื้ออำนวย เราจะบันทึกการเทรด และจดบันทึกว่าจากพฤติกรรมตลาด และพฤติกรรมราคา มีอะไรที่เป็นนัยยะสำคัญบ้าง บันทึกกระบวนการการเทรดของเรา และสภาวะร่างกาย และจิตใจของเราด้วย

ผลลัพธ์ :

  • ออเดอร์ส่วนที่ 1 : ถึงเป้าหมายที่ T1 +15 ปิ๊ป (ค่าคอมมิชชั่นต่ำ)
  • ออเดอร์ส่วนที่ 2 : จัดการการออกได้ +25 ปิ๊ป (ค่าคอมมิชชั่นต่ำ)

Part 24 ตัวอย่างการเทรดที่ 3 การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOFการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB และการทดสอบไม่ผ่าน TST- สภาวะไซด์เวย์ ในตลาดไซด์เวย์

การวิเคราะห์ตลาด

ตลาด : 6B (ตลาดฟิวเจอร์ของค่าเงินปอนด์)  เทียบเท่ากับค่าเงิน GBP/USD ในตลาดฟอเร็กซ์

วันที่ : 26 สิงหาคม 2553 (2010)

เวลา : 22:30 ตามกราฟ (13:30 เวลาลอนดอน)

ลองมาดูตัวอย่างที่ยุ่งขึ้นอีกหน่อยในตลาดไซด์เวย์ที่ราคาขึ้นๆ ลงๆ นี่เป็นความจริงของตลาดที่ว่าไม่มีอะไรง่าย และไม่ได้เป็นแนวโน้มที่ชัดเจน บ่อยครั้งที่เรามักจะถูกตลาดเล่นงานโดยการบีบราคาแบบนี้ ที่เราทำได้ก็คือมองหาการจัดฉาก หาโอกาสเข้าที่ดีที่สุด แล้วจึงบริหารความเสี่ยงของเรา

โปรดจำไว้ว่า - ถ้ายังไม่แน่ใจก็ให้ออกจากตลาดไว้ก่อน ถ้าอ่านตลาดไม่ออก ก็ให้ออกจากตลาดไว้ก่อน คุณไม่จำเป็นต้องเทรด

ขั้นตอนที่ 1 - หาโครงสร้าง

แผนภูมิที่ 5.26 - ตัวอย่างที่ 3 - หาโครงสร้าง

จากแผนภูมิที่ 5.26 ในการหาโครงสร้าง เราสามารถหาแนวรับได้ 2 ระดับ คือ ที่ราคา 1.5370 และ 1.5385 และหาแนวต้านได้ 2 ระดับเช่นกัน ที่ราคา 1.5460 และ 1.5475

คุณยังสามารถหาแนวรับ หรือแนวต้านได้จากสวิงโลว์ และสวิงไฮในช่วงราคา 1.5385-5460 นี่เป็นตัวอย่างการประยุกต์หาโครงสร้างราคา ในทางเทคนิคถ้าคุณทำถูกต้อง มันจะมีเส้นแนวรับ/แนวต้านมากมายบนกราฟ สิ่งที่จะช่วยให้ดูง่ายขึ้น คือการย้อนกลับไปดูให้ไกลขึ้น แล้วเลือกแนวรับ/แนวต้านที่มีความสำคัญ หรือเห็นได้เด่นชัด ซึ่งหมายความว่า แนวรับ/แนวต้านย่อยๆ เหล่านั้น จะยังอยู่ภายใต้ภาพใหญ่ของการวิเคราะห์ของเราอยู่ดี เราจะสามารถเห็นได้ในไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) ด้านล่าง ที่แสดงถึงแนวรับ/แนวต้านจากสวิงไฮ/สวิงโลว์ที่สำคัญ

ขั้นตอนที่ 2 - หาแนวโน้ม

กราฟราย 3 นาทีของไทม์เฟรมที่เทรด แสดงแท่งเทียนแท่งสุดท้าย ที่ทำให้แนวโน้มเปลี่ยนเป็นขาลง

แผนภูมิที่ 5.27 - ตัวอย่างที่ 3 - หาแนวโน้ม

เราวิเคราะห์แนวโน้มได้ว่าเป็นตลาดไซด์เวย์ (มีกรอบราคา) ระหว่างแนวรับที่ 1.5400 และแนวต้านที่ 1.5435

และยังให้ความสนใจกับแนวรับ/แนวต้าน ในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (ราย 30 นาที) ที่แนวรับราคา 1.5385 และแนวต้านราคา 1.54600

ขั้นตอนที่ 3 – หาความแข็งแรง และความอ่อนแอ

แผนภูมิที่ 5.28 - ตัวอย่างที่ 3 – หาความแข็งแรง และความอ่อนแอ

กราฟของไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) แสดงสภาวะตลาดไซด์เวย์ ที่ไม่มีความชัดเจนว่ากำลังซื้อ หรือกำลังขาย ฝั่งไหนที่จะแข็งแรงกว่ากัน

อย่างไรก็ตาม จะมีข่าวการสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐออกเวลา 22:30 ซึ่งคาดว่าต่อจากนี้อีกสัก 1-2 แท่งเทียน จะแสดงให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าตลาดจะไปทางไหน

ขั้นตอนที่ 4 - หาแนวโน้มในอนาคต

ขั้นตอนที่ 5 - จินตนาการพฤติกรรมราคาในอนาคต

ขั้นตอนที่ 6 - หาบริเวณที่มีโอกาส

เนื่องจากกำลังจะมีการประกาศข่าวเศรษฐกิจ ขั้นตอนที่ 4-6 คือ การหาแนวโน้มในอนาคต, การจินตนาการพฤติกรรมในอนาคต และการหาบริเวณที่มีโอกาสเทรด จะต้องรอข่าวออกก่อน เราจะทำขั้นตอนเหล่านี้ในการวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง โดยอาศัยพื้นฐานจากแท่งเทียนหลังจากข่าวออก

การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ 1 - สังเกตรูปแบบแท่งเทียน

ขั้นตอนที่ 2 - คำนึงถึงบริบทในขณะนั้น

ขั้นตอนที่ 3 - ทั้งหมดสนับสนุนการเทรดของเราหรือไม่

เช่นเคย ดังที่เราได้กล่าวแล้วว่า การแสดงตัวอย่างในหนังสือนั้น ค่อนข้างยาก ลองมาดูทีละขั้นตอนดังนี้...

แผนภูมิที่ 5.29 - การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง - หลังข่าวออก

หลังข่าวออก แท่งเทียนแท่งแรกราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด ยังคงต้องการข้อมูลมากกว่านี้ !

จากนั้นตามมาด้วยแท่งเทียนพุ่งขึ้นไปสูง โดยราคาปิดเท่ากับราคาสูงสุด

เนื่องจาก เราไม่ได้มีออเดอร์อยู่ก่อน (เพราะจริงๆ แล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนวิเคราะห์ต่อเนื่องจากที่มีการเข้าออเดอร์มาแล้ว) ตอนนี้เราจะเข้าออเดอร์จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนนี้เหมือนกับขั้นตอนแรก

ความแข็งแรงของแนวโน้มขาขึ้นยังคงอยู่ในกรอบราคาไซด์เวย์ เราเตรียมตัวสำหรับโอกาสที่จะเบรคเอ้าท์ขึ้นไป ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการที่ 4 แนวโน้มในอนาคต

หลักการที่ 4 – เมื่อมีแรงซื้อขายที่เราคาว่าราคามีโอกาสทะลุกรอบไซด์เวย์ เราจะดูพฤติกรรมราคาหลังจากเบรคเอ้าท์ เพื่อหาสัญญาณบอกเทรนด์ในอนาคต:

  •   การอ่อนแรงหลังการเบรคเอ้าท์ – เราคาดหวังว่าการเบรคเอ้าท์นี้จะไม่สำเร็จ และราคากลับตัวเข้าไปในกรอบไซด์เวย์อีกครั้ง
  •   การอ่อนแรงของการพักตัว – เราคาดหวังว่าการเบรคเอ้าท์จะจบการพักตัว และไปต่อ

หลักการนี้จะบอกถึงพฤติกรรมราคาที่บ่งบอกว่าออเดอร์ของเราถูกทางหรือไม่ - เรามองหาความอ่อนแรงหลังการเบรคเอ้าท์

หลักการนี้ยังบอกถึงบริเวณที่มีการจัดฉาก - การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ BOF และ/หรือ การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB

แผนภูมิที่ 5.30 - ตัวอย่างที่ 3 - การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง - มองหาความอ่อนแรง

จากนั้นกราฟในไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) แท่งเทียนแสดงให้ความอ่อนแรงก่อนที่จะไปถึงบริเวณที่เป็นแนวต้านตามหลักการสวิง ราคาไม่สามารถผ่านแนวต้านไปได้ แสดงให้เห็นในแท่งที่เกิดไส้เทียนขนาดยาวด้านบน

เราได้เห็นชัดเจนถึงความอ่อนแรงของการเบรคเอ้าท์ ถึงเวลาที่จะเข้าเทรดด้วยเงื่อนไขการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จแล้ว

Part 25 กระบวนการเทรดของตัวอย่างที่ 3

ขั้นตอนที่ 1 - เตรียมการเทรด

จำไว้ว่า ขั้นตอนนี้จะวิเคราะห์ตลาดแท่งต่อแท่งตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าออเดอร์เมื่อเกิดการจัดฉาก ไปจนกระทั่งเสร็จสิ้นการเทรด

แผนภูมิที่ 5.31- ตัวอย่างที่ 3- เตรียมการเทรด

S1 เป็นจุดที่อยู่เหนือเข็มที่ทะลุแนวต้านไปที่ราคา 1.5441 ราคาขายส่งสุดท้าย คือราคาที่เบรคจากราคาต่ำสุดของแท่ง 3 นาที ที่ราคา 1.5426 T1 อยู่ที่ราคาเปิดของแท่งแรกหลังข่าวออกที่ราคา 1.5413 ส่วน T2 อยู่เหนือแนวรับเล็กน้อยที่ราคา 1.5405 ปกติ T2 จะวางเหนือแนวรับของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (ราย 30 นาที) แต่ว่ากรณีนี้อาจจะไม่เหมาะสมนัก หากจะวางที่ราคา 1.5400 เพราะเราค่อนข้างมั่นใจว่าราคาไม่น่าจะไปถึง

ความเสี่ยงห่างไป 15 ปิ๊ป  ในขณะที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนจากออเดอร์ส่วนที่ 1 13 ปิ๊ป นี่ไม่ค่อยน่าเสี่ยง เพราะราคาต่อความเสี่ยงที่รับได้ควรเป็น 1:1 ที่ราคา 1.5427 ดังนั้นผมจึงไม่เข้าที่จุดนี้ หากไม่ได้ราคา 1.5427 หรือสูงกว่า

เมื่อดูที่ไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) ถ้าวาง stop ออเดอร์ใต้แท่งบนสุด เพื่อให้เปิดออเดอร์ที่ราคา 1.5429 ซึ่งจะเสี่ยง 12 ปิ๊ป แต่มีโอกาสได้ 16 ปิ๊ป ตรงนี้ยอมรับได้
ผมวาง stop ออเดอร์ที่ราคา 1.5429 (จุดที่วางอยู่ใต้แท่งโดจิซึ่งเกิดต่ำกว่าแนวต้าน ถึงราคาเปิดและปิดจะไม่เท่ากัน ผมก็คิดว่ามันเล็กพอที่จะเรียกว่าโดจิ)

stop ออเดอร์นั้น วาง S1, T1 และ T2 ตามที่ได้กล่าวมา

จำไว้ว่า ออเดอร์ทั้งหมดวิเคราะห์จากสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าราคาไม่ลงมาเปิดออเดอร์แต่ขึ้นสูงไปอีก ผมก็จะปรับจุดเข้าและสต๊อปลอสใหม่ถ้าจำเป็น

ตอนนี้เราก็รอแท่งต่อไป โดยพยายามหาจุดเข้าที่ราคาดีที่สุด (ถ้ามีโอกาส) แต่ถ้าราคาร่วงลงจากตรงนี้ เราก็ได้ออเดอร์ที่ราคา 1.5429

โปรดจำว่า จากการที่ราคาอ่อนแรงก่อนที่จะพยายามเบรคเอ้าท์ ตลาดมาแสดงความเข้มแข็งก่อนที่จะเบรคเอ้าท์ นี่เป็นการเข้าที่เสี่ยง หากคุณเข้าด้วย BOF ก็ต้องจัดการความเสี่ยงนี้ด้วย ถ้าราคาร่วงลงไปเปิดออเดอร์ด้านล่าง ถ้าราคาแสดงความอ่อนแอหลังจากที่เข้าออเดอร์ไปแล้ว เราก็จะเตรียมออก และอาจเตรียมเข้าด้วย BPB แทน นี่คือการฝึกมาตรฐานของการเข้าด้วย BOF

ขั้นตอนที่ 2 - การเข้าออเดอร์

ไม่มีโอกาสที่จะเข้าได้ดีกว่านี้ ราคาลงมาเปิดออเดอร์ในกราฟราย 1 นาที (เกิดรูปแบบเบรคเอ้าท์จากโดจิในกราฟ 1 นาที)

เราจึงเข้าออเดอร์ที่ราคา 1.5429

สต๊อปลอส คือ S1 ที่ราคา 1.5441 (เสี่ยง 12 ปิ๊ป)

เป้าหมายแรกที่ T1 ที่ราคา 1.5413 (ผลตอบแทน 16 ปิ๊ป)

ส่วนเป้าหมายที่ 2T2 ที่ราคา 1.5405 (ผลตอบแทน 24 ปิ๊ป)

แผนภูมิที่ 5.32 - ตัวอย่างที่ 3 - การเข้าออเดอร์

ขั้นตอนที่ 3 - การจัดการการเทรด และการออก

จากกราฟด้านขวาของแผนภูมิด้านล่าง แท่ง A และ B ยืนยันแผนเทรดของเรา ทั้งสองแท่งเป็นแท่งสีแดงราคาปิดต่ำกว่า แท่ง C ถึงจะปิดต่ำ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าราคาพักอยู่สักพักหนึ่ง ก่อนที่แท่ง D จะลงต่อ และแท่ง E เริ่มที่จะแสดงว่าจะหยุดด้วยการปิดที่กลางแท่ง

แผนภูมิที่ 5.33 - ตัวอย่างที่ 3 - การจัดการการเทรด

การจัดการการเทรดนี้ต้องรวดเร็ว ผมเห็นแนวรับที่สำคัญจากไส้เทียนจากกราฟด้านซ้าย ซึ่งแสดงเป็นแถบสีเหลืองในกราฟราย 1 นาที ด้านขวา

ผมยังคงอยู่ในตลาด แต่จะเลื่อนสต๊อปลอสมายังจุดที่เบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ โดยดูจากกราฟด้านขวา เหนือแท่งล่าสุด ถ้าราคามาถึงได้ ก็แสดงว่าความแข็งแรงของขาลงไม่มีแล้ว และราคาน่าจะกลับไปทดสอบราคาสูงสุดอีกครั้ง จุดนี้อยู่เหนือแท่ง C ในกราฟราย 1 นาที ทางด้านขวาที่ราคา 1.5427

ขั้นตอนที่ 1 - เตรียมการเทรดครั้งที่ 2

ผมได้วางออเดอร์ของการเข้าด้วย BPB ไว้ที่ 1.5427 สต๊อปลอสวางไว้ต่ำกว่าแท่ง D และ E ที่ราคา 1.5419 วางเป้าที่ T1 เหนือแท่ง A ที่ราคา 1.5435 และ T2 ใต้แนวต้านของไทม์เฟรมราย 30 นาที ที่ราคา 1.5455

โปรดจำไว้ว่า ออเดอร์อาจไม่เปิด หากราคายังคงลงต่อไป นี่เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะเทรดสวน ราคาควรจะย้อนกลับมาทะลุราคาสูงสุดเดิมในไทม์เฟรมที่เทรดเสียก่อน และแสดงความอ่อนแรงในแนวโน้มขาลง

ขั้นตอนที่ 2 - การเข้าออเดอร์ครั้งที่ 2

ออเดอร์แรกสต๊อปเอ้าท์ที่ราคา 1.5427 ทั้งส่วนที่ 1 และ 2 แต่ก็ยังได้ 2 ปิ๊ป มาจากแต่ละออเดอร์ (ยังไม่หักค่าคอม) นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงถึงข้อได้เปรียบของ FX Futures เทียบกับ spot forex เรื่องค่าคอมมิชชั่นที่ต่ำกว่า 1 ปิ๊ป ซึ่งทำให้ยังได้กำไรมาออเดอร์ละ 1 ปิ๊ป ในขณะที่ถ้าค่าคอมโดยทั่วไปคือ 3 ปิ๊ป ก็จะทำให้คุณขาดทุนออเดอร์ละ 1 ปิ๊ป ถึงจะเล็กน้อย แต่ก็เป็นกำไร เราจะมาคุยเรื่องนี้อีกครั้งตอนที่พูดถึงตลาดอื่นๆ และไทม์เฟรมอื่น

ราคากลับตัวแสดงดังแผนภูมิที่ 5.34 ด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 3 - การจัดการการเทรด และการออกครั้งที่ 2

ราคาที่กลับตัวมาเมื่อสักครู่ แสดงความแข็งแรงของขาขึ้นชัดเจน และแสดงความอ่อนแรงของการพักตัวด้วย

แผนภูมิที่ 5.34 - ตัวอย่างที่ 3 - การกลับตัว เข้าออเดอร์ครั้งที่ 2 และ การจัดการการเทรดส่วนที่ 1

การเทรดครั้งที่ 2 นี้ ราคาไปถึง T1 (1.5435)อย่างรวดเร็ว โดยเราเลื่อนสต๊อปลอสตามในกราฟราย 1 นาที ที่ S2 และ S3

ส่วนสต๊อปของออเดอร์ส่วนที่ 2 เลื่อนมายังจุดที่เบรคเอ้าท์ +1 (เพื่อให้คุ้มค่าคอม) อย่างน้อย หากราคากลับลงมาเราไม่ต้องขาดทุนซ้ำสอง และคงทำให้ผมไม่มั่นใจว่าราคาจะไปถึงแนวต้านที่ 1.5460

แผนภูมิที่ 5.35 - ตัวอย่างที่ 3 - การเทรดครั้งที่ 2 สต๊อปเอ้าท์

อืม เป็นความคิดที่ดี ออเดอร์ส่วนที่ 2 สต๊อปเอ้าท์ แต่ไม่ต้องกังวล มันเกิดขึ้นได้

 <<<<< YTC Price Action Trader Part 11-20