เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อคืนผมเปิดออเดอร์ sell G/J ไว้, ตั้ง TP ไว้แล้วก็นอน, พอตื่นเช้าขึ้นมาก็เปิดดูออเดอร์ผ่าน iPhone บนเตียง, พบว่าออเดอร์ชน TP ไปเรียบร้อย (ใน iPhone จะโชว์เฉพาะข้อมูลสำคัญของออเดอร์ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยจะซ่อนไว้) ผมก็ประเมิน TP คร่าวๆ ว่าควรจะได้ประมาณ 288$, โดนหักค่าคอม 9$ ก็ควรจะเหลือประมาณ 279$, แต่เห็นกำไรเหลือแค่ 250 นิดๆ, นั่นคือกำไรหายไป 20$ กว่าๆ ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะ, ตอนนั้นงงไปเล็กน้อย (อาการเหมือนโดน stun ไป 3 วิ ในเกม), ผมจึงเปิดดูออเดอร์ในคอมฯ เพื่อเช็ครายละเอียด ถึงได้ก็พบว่า อ๋อ มันโดน "Swap คืนวันพุธ" ไปเต็มๆ นี่เอง !
ที่นี้ก็เข้าเรื่องเลยว่า อะไรคือ Swap ? และ อะไรคือ Swap วันพุธ ?
ผมขออนุญาต simplify คำอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ เพราะถ้าอยากได้รายละเอียดเป๊ะๆ เต็มๆ คงหาจาก google ได้ไม่ยาก, ผมขอเล่าให้ฟังเป็นสรุปง่ายๆ ละกัน
Swap คือ ดอกเบี้ยข้ามคืนในการถือออเดอร์ข้ามคืนนั่นเอง (ซึ่งโดยมากจะคิดกันที่เวลาเที่ยงคืนของ server, ก็อาจจะประมาณ 7 โมงเช้าบ้านเรา)
โดยทฤษฏีแล้ว Swap มีทั้งบวก ทั้งลบ, เช่น ถ้าเราถือ G/J ออเดอร์ "Sell" ข้ามคืน อาจจะต้อง"เสีย" Swap, แต่ถ้าถือ G/J ออเดอร์ Buy ข้ามคืน ก็จะ"ได้" Swap, ส่วนอัตราที่ได้กับเสีย ก็แล้วแต่โบรคเขาจะกำหนดและแจ้งไว้เลย, โดยมากโบรคก็จะขอกิน swap หน่อย โดยถ้าเราเสีย swap โบรคก็จะเก็บเยอะ, แต่ถ้าเราได้ swap โบรคก็จะจ่ายนิดเดียว, หรือกรณีเลวร้ายหน่อย (เช่น ทองคำ XAU) บางโบรคก็ประกาศไว้เลยว่า จะเก็บ swap ทั้ง Buy และ Sell ! ส่วนคู่ไหน Buy-Sell ได้เสียเท่าไหร่ ต้องไปเช็คกับโบรคที่ตัวเองเทรดเลย เพราะแต่ละโบรคเก็บไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างประกาศเรื่อง Swap ของโบรคชื่อดังแห่งหนึ่ง
https://www.exness.com/forex/specifications
ส่วน Swap โบรคอื่นๆ อาจจะดูได้จาก
http://www.myfxbook.com/forex-broker-swaps
โดยปกติแล้ว Swap จะโดนกันเล็กน้อยมาก น้อยจนส่วนมากเราไม่ใส่ใจกัน, แต่... ถ้าเป็นคืนวันพุธ จะโดนหนักหน่อย เพราะเขาจะยกเอา Swap ของวันเสาร์กับอาทิตย์ มาคิดรวมไว้ในคืนวันพุธ (เพราะการเคลียร์ออเดอร์เป็น T+3, จึงมาตกที่วันพุธ,อันนี้เป็นรายละเอียดที่โบรคกับวงการเทรดคุ้นเคย ถ้าเราไม่คุ้นก็ข้ามไปเลย) ฉะนั้น ถ้าเราถือออเดอร์ข้ามคืนวันพุธ ก็จะมีเรื่อง "Swap 3 เท่า" มาเกี่ยวข้อง, ถ้าโดนคู่ที่โดน swap หนักหน่อย ประกอบกับเรื่องวันพุธ ตัวเลขก็จะเยอะขึ้นมาอย่างมีนัยยะสำคัญนั่นเอง !