"Forex For Beginner Traders" ตอนที่ 0 (Intro)
-------------จบตอนที่ 1--------------
เลเวอเรจ เป็นอัตราส่วนการเทรด โดยใช้หลักประกัน ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถยืมเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้เข้าเทรดในสินทรัพย์ขนาดใหญ่ด้วยมูลค่าที่สูงกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชี นั่นก็คือเป็นการสร้างพลังหรือ "เลเวอเรจ" ยอดเงินที่เหลือในบัญชีของคุณเพื่อทำการเทรดที่ใหญ่ขึ้นเพราะอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินอาจมีการเคลื่อนไหวช้ามากและการเปลี่ยนแปลงอัตราปิ๊ป (pip) ทุกครั้งมีผลทำให้คุณมีกำไรและขาดทุนเพียงเล็กน้อยซึ่งถ้าเป็นการเทรดขนาดเล็กจะไม่สามารถทำได้ในทันที
ดังนั้นเลเวอเรจจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถทำการเทรดด้วยข้อตกลงที่ใหญ่ขึ้น นั่นหมายถึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างผลกำไรและขาดทุนได้มากกว่าที่อาจเกิดขึ้นจากต้นทุนเดิม
Price Interest Point หรือ Pip หมายถึงการเปลี่ยนแปรงราคาที่น้อยที่สุดในคู่สกุลเงิน ซึ่งแม้ว่าจะมีโบรกเกอร์หลายแห่งเสนอราคาโดยใช้ทศนิยมตำแหน่งที่ห้าก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้ว pipจะเป็นจุดทศนิยมตำแหน่งที่สี่ ไม่ว่าจะอย่างไร การใช้ทศนิยมตำแหน่งที่ห้าก็ไม่ส่งผลกระทบต่อราคามากนักถ้าราคามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
คู่สกุลเงินที่รวมสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จะมี pip เท่ากับ 1/10,000 ของดอลลาร์ในขณะที่คู่สกุลเงินที่รวมสกุลเงินเยน จะมี pip เท่ากับ 1/100 ของเยนเนื่องจากเงินเยนมีค่าเข้าใกล้ 1/100 ของสกุลเงินหลักอื่นๆ
สเปรด - Spread
ในการเทรดฟอเร็กซ์ โบรกเกอร์จะระบุราคาสำหรับเสนอซื้อ (bid) จากเทรดเดอร์และราคาที่จะเสนอขาย (ask)ให้กับเทรดเดอร์สำหรับคู่สกุลเงินต่างๆ โดยราคาเสนอซื้อคือราคาที่เทรดเดอร์สามารถขายสกุลเงินหลักได้ ในขณะที่ราคาเสนอขายคือราคาที่เทรดเดอร์สามารถซื้อสกุลเงินหลักได้นั่นเอง ส่วนสเปรดก็คือความแตกต่างระหว่างราคาทั้งสอง นอกจากนี้ นี่คือวิธีการทำรายได้ของโบรกเกอร์ที่ "ไม่เก็บค่าคอมมิชชั่น” ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บแยกต่างหากสำหรับธุรกรรมของเทรดเดอร์
สเปรดจะมีหน่วยวัดเป็น pip ซึ่งคู่สกุลเงินส่วนใหญ่ - สกุลเงินหลักและสกุลเงินอ้างอิง - มีค่า pip เท่ากับ 0.0001 ตัวอย่างเช่นที่ราคาตลาด ต่อไปนี้ที่ EUR / USD = 1.1051 / 1.1053 สเปรดคือ 0.0002 ซึ่งเท่ากับ 2 pip
สกุลเงินจะมีการเทรดเป็นคู่เมื่อมูลค่าของพวกมันสัมพันธ์กัน สกุลเงินแรกที่แสดงเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ควบคุมเงื่อนไขการออกคำสั่งซื้อของคุณ ดังนั้นหากคุณเห็นคู่สกุลเงิน EUR / USD คุณก็มักจะเลือกซื้อหรือขายสกุลเงินแรก (ยูโร) เทียบกับสกุลเงินที่สอง (ดอลลาร์สหรัฐ)
เลเวอเรจในการเทรดฟอเร็กซ์ก็คือจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดที่เทรดเดอร์ยืมมาจากโบรกเกอร์เพื่อนำไปใช้ในการทำธุรกรรมซึ่งในกรณีนี้คือการซื้อสกุลเงิน โดยโบรกเกอร์ทำหน้าที่เสมือนธนาคารที่ให้เงินจำนวนหนึ่งแก่คุณเพื่อลงทุน
ด้วยอัตราส่วนการเทรดแบบใช้มาร์จิน (เลเวอเรจ) 1:20 ตัวเลือก A ช่วยให้เทรดเดอร์ที่ลงทุนด้วยเงิน $100 สามารถทำการเทรดดอลลาร์สหรัฐด้วยเงิน $ 2,000 ยิ่งไปกว่านั้นหาก pip เปลี่ยนแปลงไปที่ +0.0030 เทรดเดอร์จะทำกำไรได้ 6 ดอลลาร์ดังนั้นยอดเงินคงเหลือในบัญชีจึงเพิ่มขึ้นเป็น $ 106 ดังนั้นผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งก็คือ ROI จึงเท่ากับ 6%
ในทางกลับกันสำหรับตัวเลือก B จะช่วยให้คุณสามารถเทรดได้ด้วยเงิน $ 20,000ดอลลาร์และทำกำไรได้ถึง $60 ดังนั้นยอดเงินคงเหลือในบัญชีหลังจากปิดออร์เดอร์ของเทรดเดอร์จะเท่ากับ $ 160 โดยมีถึง ROI 60% นี่แสดงให้เห็นว่ายิ่งคุณมีเลเวอเรจสูงเท่าไหร่โอกาสที่คุณจะได้ ROI มากขึ้นเท่านั้น
!! คำแนะนำและคำเตือนเมื่อใช้เลเวอเรจ !!
⚠ รักษาการขาดทุนของคุณให้อยู่ในขอบเขตที่จัดการได้เทรดเดอร์มืออาชีพแนะนำว่าไม่ควรเสี่ยงทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดในธุรกรรมเดียว นอกจากนี้เทรดเดอร์ควรมีการกระจายความเสี่ยงโดยให้กระจายความเสี่ยงออกไปประมาณ 5% ของเงินฝากทั้งหมดต่อการเทรด เพราะถ้าเกิดขาดทุนขึ้นมา นอกจากจะขาดทุนเพียงเล็กน้อยแล้ว พวกเขายังไม่สูญเสียการควบคุมอีกด้วย
เนื่องจากการเป็นตลาดที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลก ตลาดฟอเร็กซ์จึงครอบคลุมพื้นที่ในหลายเขตเวลา ดังนั้นจึงมีการแบ่งช่วงเวลาการเปิด/ปิดการเทรดฟอเร็กซ์ออกเป็น 3เซสชันหลักที่คุณควรทราบคือ เซสชันโตเกียว (หรือเอเชีย) เซสชันลอนดอน (หรือยุโรป) และสุดท้ายคือ เซสชันนิวยอร์ก (หรืออเมริกา)
ช่วงเวลาที่การเทรดฟอเร็กซ์คึกคักมากที่สุดคือช่วงที่เซสชันเหล่านี้ทับซ้อนกัน เช่นในช่วงเช้าของลอนดอนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การเทรดในโตเกียวกำลังจะยุติลง เทรดเดอร์ในยุโรปก็กำลังเริ่มทำงาน ทำการวิเคราะห์และย่อยข้อมูลจากเซสชันในเอเชีย ดังนั้นช่วงเช้า 6.00น. (GMT) จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเทรดดังคำกล่าวที่ว่า “นกตัวที่ตื่นแต่เช้า ย่อมจับหนอนได้” นั่นคือเริ่มลงมือก่อนย่อมมีโอกาสสำเร็จมากกว่า
!! โดยปกติตลาดฟอเร็กซ์ของเซสชันลอนดอนและในช่วงบ่ายที่คาบเกี่ยวกับการเริ่มเทรดของเซสชันนิวยอร์กหรืออเมริกามักจะมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าเทรดฟอเร็กซ์และทำกำไร!!
ผู้ค้าที่มีประสบการณ์ถือว่าเวลา 10.00 น. (EST) เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการเทรดในตลาดฟอเร็กซ์เนื่องจากในช่วงเวลานี้ เทรดเดอร์ในลอนดอนและยุโรปกำลังเตรียมปิดสถานะและกำลังเตรียมพร้อมย้ายเข้าสู่การเทรดในเซสชันอเมริกา ความสนใจของเทรดเดอร์ที่เปลี่ยนจากตลาดยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกามักจะทำให้ราคาสกุลเงินแกว่งตัวมากขึ้นซึ่งเป็นการเปิดโอกาสในการทำกำไร
สำหรับเทรดเดอร์ที่มีชั่วโมงบินสูงจะหลีกเลี่ยงการซื้อขายในช่วงบ่ายวันศุกร์และวันหยุดสุดสัปดาห์, ช่วงปิดเซสชันของตลาด, วันหยุดของธนาคาร, วันคริสต์มาส, รายการโทรทัศน์ในช่วงไพร์มไทม์, เวลาที่มีการเผยแพร่รายงานและข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญและเมื่อเทรดเดอร์มีอารมณ์โกรธ, หงุดหงิดและเหนื่อยล้า นอกจากนี้เทรดเดอร์มือใหม่ควรระมัดระวังการเทรดในเซสชันเอเชียให้มาก
1. กราฟเส้น - Line Chart
เป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุดในประเภทกราฟฟอเร็กซ์ทั้งหมด สร้างขึ้นง่ายๆ จากการเชื่อมต่อจุดข้อมูลที่แสดงราคาปิดของช่วงเวลาหนึ่งด้วยการลากเส้น แม้ว่าจะไม่ได้แสดงราคาเปิด, ราคาสูงสุดและต่ำสุด แต่กราฟเส้นสามารถช่วยให้เทรดเดอร์ทราบว่าราคาของสกุลเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนั้นเทรดเดอร์จึงสามารถตรวจสอบและติดตามราคาปิดได้อย่างแม่นยำ
2. กราฟแท่ง - Bar Chart
กราฟนี้ไม่เหมือนกับกราฟเส้น เนื่องจากกราฟแท่งไม่เพียงแต่แสดงราคาปิดเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงการเปิดราคาสูงสุดและต่ำสุดของช่วงเวลาหนึ่งด้วย กราฟประกอบด้วยเส้นขีดยื่นไปด้านขวาและซ้ายซึ่งแสดงราคาปิดและราคาเปิดตามลำดับและแถบแนวตั้งที่แสดงราคาต่ำสุดและราคาสูงสุดของสกุลเงิน (กรอบการเทรด) กราฟประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่ากราฟ OHLC ซึ่งหมายถึงราคาเปิด (Open) , ราคาปิด (Close) , ราคาสูงสุด (High) และ ราคาต่ำสุด (Low) ของสกุลเงินที่พิจารณา3. กราฟแท่งเทียน - Candlestick Chart
กราฟแท่งเทียนเป็นกราฟที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่เทรดเดอร์ฟอเร็กซ์ มีลักษณะคล้ายกับกราฟแท่งและไม่เพียงแสดงข้อมูลราคาแต่ยังแสดงในรูปแบบกราฟิกที่สวยงาม นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับราคาเปิดและปิดของช่วงเวลาการเทรด
กราฟแท่งเทียนไม่เหมือนกับกราฟเส้นที่แสดงเฉพาะราคาปิด เพราะกราฟรูปแบบนี้จะแสดงราคาเปิด, ราคาสูงสุด, ราคาต่ำสุดและราคาปิดของคู่สกุลเงินในแต่ละช่วงเวลาโดยใช้ "แท่งเทียน" ความสูงของแท่งเทียนแสดงราคาสูงสุด - ต่ำสุดในช่วงเวลานั้น ในขณะที่ความกว้างของแท่งเทียนแสดงความแตกต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด✔เงินสกุลเดียว - EUR (ยูโร)
✔ลูนี่ - CAD (ดอลลาร์แคนาดา)
✔สวิส- CHF (ฟรังก์สวิส)
✔ออสซี่ - AUD (ดอลลาร์ออสเตรเลีย)
✔กีวี - NZD (ดอลลาร์นิวซีแลนด์)
✔กรีนแบ็ค, บั๊ก - USD (ดอลลาร์สหรัฐ)
✔สเตอร์ลิง, ปอนด์สเตอร์ลิง - GBP (ปอนด์อังกฤษ)✔เคเบิล - GBP/USD (ปอนด์อังกฤษ / ดอลลาร์สหรัฐ)
✔นินจา - USD/JPY (ดอลลาร์สหรัฐ / เยนญี่ปุ่น)
✔ไฟเบอร์ - EUR/USD (ยูโร / ดอลลาร์สหรัฐ)
✔ชุนแนล- EUR/GBP (ยูโร / ปอนด์อังกฤษ )
✔ยัปปี้ - EUR/JPY (ยูโร / เยนญี่ปุ่น)
✔บาร์นี่ - USD/RUB (ดอลลาร์สหรัฐ / รูเบิลรัสเซีย)✔Going Long - การเปิดสถานะ (ซื้อ) เข้าสู่การเทรดในสภาวะกระทิง
✔Going Short - การเปิดสถานะ (ขาย) เข้าสู่การเทรดในสภาวะกระทิง
✔Cutting Short - การขายเพื่อปิดสถานะก่อนที่จะขาดทุน
✔Plunging - ราคาที่ร่วงหรือตกลงต่ำกว่าราคาก่อนหน้า
✔Currency rallying - การเพิ่มขึ้นของราคาหลังจากราคาได้ตกลงมาเป็นเวลาช่วงหนึ่ง
✔Position Trading - การเทรดที่มีการใช้จุดตัดขาดทุนขนาดใหญ่เป็นระยะยาวนานหลายเดือนหรือเป็นปีโดยไม่กังวลกับความผันผวนของราคาในระยะสั้น✔USD/CAD - ความเห็นโดวิชของ BOC สร้างความเสียหายให้กับดอลลาร์แคนาดา- ธนาคารกลางแคนาดารายงานการลดอัตราดอกเบี้ยดังนั้นดอลลาร์แคนาดาจึงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
✔AUD/USD - รายงานการจ้างงานทำให้ราคาที่กำลังไล่ขึ้นไปสะดุดลง- รายงานตัวเลขการจ้างงานลดลงของออสเตรเลียได้ทำให้แนวโน้มขาขึ้นของ AUD / USD ล่าสุดหยุดลง
✔NZD/USD - มีสัญญาณของการฟื้นตัวของเงินสกุลกีวีหลังจากมีความผันผวนเป็นอย่างมาก - ดอลลาร์นิวซีแลนด์ฟื้นตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่อัตราแลกเปลี่ยนร่วงลง
1. เงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อของระบบเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเนื่องจากเป็นการบ่งบอกถึงระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไป !!อัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดไว้มักส่งผลกระทบในทางลบต่อสกุลเงินที่เกี่ยวข้องเนื่องจากระดับราคาค่อนข้างสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศอื่น ๆ มีผลทำให้ค่าเงินลดลง !!
อัตราเงินเฟ้อของระบบเศรษฐกิจแปรผกผันกับอำนาจซื้อของสกุลเงิน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงจะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของอำนาจซื้อ
ความแตกต่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อของสองสกุลเงินเรียกว่าช่องว่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อ และหากช่องว่านี้เริ่มห่างกันมากขึ้น คุณจะต้องซื้อสกุลเงินที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าและขายสกุลเงินที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า
ข้อมูลเผยแพร่สำคัญสำหรับอัตราเงินเฟ้อคือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้สุขภาพของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุด อัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ลดอำนาจซื้อของผู้บริโภคและทำให้การวางแผนสำหรับอนาคตทำได้ยากขึ้น
ในทางกลับกันอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุน, เพิ่มอำนาจซื้อของผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ ให้สามารถวางแผนสำหรับอนาคตได้ง่ายขึ้นสถานการณ์การจ้างงานในระบบเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเนื่องจากการจ้างงานและการว่างงานถือว่าเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากผู้คนมีทักษะ, ความรู้และประสบการณ์จึงสามารถใช้ทุนมนุษย์เหล่านี้เพื่อผลิตสินค้าและบริการไปจนถึงการเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ยิ่งมีคนถูกจ้างงานมากมากเท่าไหร่ผลผลิตทางเศรษฐกิจก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม ดังนั้นการเผยแพร่ข้อมูลการจ้างงานจึงมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับอัตราการว่างงาน ความสัมพันธ์นี้จะกลับด้านกันโดยที่อัตราการว่างงานที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้จะทำหน้าที่ลดค่าของสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง
การเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่สำคัญที่สุดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเผยแพร่ที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ อัตราการว่างงาน, อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน และสถิติเกี่ยวกับตลาดแรงงานอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลกระทบในระดับปานกลางถึงสูงต่ออัตราแลกเปลี่ยนการค้ากับประเทศอื่น ๆ เป็นส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ดังนั้นดุลการค้าจึงมีผลต่อมูลค่าของสกุลเงิน
หากประเทศใดส่งออกสินค้าและบริการมากขึ้นเรื่อย ๆ ความต้องการสกุลเงินนั้นจะเพิ่มขึ้นและทำให้ราคาของมันเพิ่มขึ้นตาม อย่างไรก็ตามหากระบบเศรษฐกิจใดมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้มีแรงขายสกุลเงินนั้นเพิ่มขึ้นและส่งผลให้เงินอ่อนค่าลงเมื่อเวลาผ่านไป
ดุลการค้าเป็นอัตราส่วนธรรมดาของการส่งออกต่อการนำเข้าของประเทศที่กำหนด ซึ่งหากการส่งออกสูงกว่าการนำเข้าแสดงว่าประเทศนั้นมีสถานะเกินดุลการค้าซึ่งแสดงว่าประเทศนั้นมี
อุปสงค์ของสินค้าและบริการ รวมถึงสกุลเงินของระบบเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง
อย่างไรก็ตามหากการนำเข้าสูงกว่าการส่งออกประเทศจะอยู่ในภาวะขาดดุลการค้าซึ่งบ่งชี้ว่าอุปสงค์สินค้าและบริการรวมถึงสกุลเงินในประเทศไม่ได้แข็งแกร่งนัก
เช่นเดียวกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ข้อมูลดุลการค้ามักจะมีการประกาศเดือนละครั้งและมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนในระดับปานกลาง ดุลการค้าที่ดีกว่าที่คาดไว้เป็นผลดีกับสกุลเงินและส่งผลให้เกิดการแข็งค่าในขณะที่ดุลการค้าที่ต่ำกว่าที่คาดไว้จะส่งผลในทางตรงกันข้ามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือนโยบายการเงินใหม่ที่ใช้ในการขยายงบดุลของธนาคารกลาง มักถูกเปรียบเทียบกับการพิมพ์เงินมากขึ้นเนื่องจากเป็นการขยายอุปทานของเงินหรือปริมาณเงินพื้นฐาน
ปริมาณเงินและอัตราเงินเฟ้อมีความเชื่อมโยงกันโดยปริมาณเงินที่สูงขึ้นจะนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและกำลังซื้อที่ลดลง สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรต่างมีส่วนร่วมในมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณโดยที่ยูโรโซนเป็นประเทศที่มีการใช้มากที่สุด นอกจากนี้เวลาในการดำเนินการของมาตรการนี้ก็แตกต่างกันไปเช่นกัน
สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีคนใหม่อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ซึ่งไม่มีตัวอย่างใดที่ดีไปกว่าโดนัลด์ ทรัมป์ในสหรัฐอเมริกาผู้ซึ่งได้เพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้าโดยการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ รวมถึงยังเพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ มาใช้มากขึ้น
ในทำนองเดียวกันการปฏิวัติหรือรัฐประหารอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสกุลเงินของประเทศเนื่องจากโดยปกติแล้วอัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับการรับรู้ทางเศรษฐกิจ หากผู้คนรู้สึกว่าเงินของพวกเขาไม่ปลอดภัยในประเทศเหล่านั้นพวกเขาจะขายสกุลเงินนั้นและหาเงินสกุลอื่นที่มีความปลอดภัย
นอกจากนี้การเมืองยังมีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เช่น จีนมีแผนได้ยาวนานถึง 100ปีเนื่องจากเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ประเทศทางตะวันตกหลายประเทศต่างต้องเปลี่ยนผู้นำทุกสี่ถึงห้าปี
ประเทศที่ไม่ค่อยมีความมั่นคงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจเนื่องจากปัญหาของการบริหารงานก่อนหน้านี้ได้รับการแก้ไขแล้ว แต่จะมีการยกปัญหาใหม่ขึ้นมาเพื่อให้พรรคการเมืองที่มีอำนาจถัดรับไปแก้ไขเมื่อพวกเขาอยู่ในอำนาจอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลักของธนาคารกลางที่ใช้ในการสร้างอิทธิพลต่อการให้กู้ยืม การออมและการกู้ยืม หรือการบริโภค
อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการออมเนื่องจากผู้คนจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากมากขึ้นและได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นอีกเมื่อเงินถูกนำไปให้ผู้อื่นยืม
อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมและการบริโภคเนื่องจากการกู้เงินเพื่อซื้อรถใหม่หรือบ้านที่ใครบางคนฝันหามาโดยตลอดมีราคาถูกกว่า
1. กลยุทธ์แนวรับและแนวต้าน - Support & Resistance
กลยุทธ์นี้เป็นไปตามคำกล่าวที่มีมานานว่า "ให้ซื้อในจุดที่ต่ำที่สุด และ ขายในจุดที่สูงที่สุด" เทรดเดอร์ในตลาดฟอเร็กซ์จะประเมินระดับต่ำสุด/สูงสุดของราคาว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่โดยการวิเคราะห์บริเวณที่ราคาหยุดชะงักและเปลี่ยนทิศทาง
แนวรับหมายถึงระดับราคาที่แทบจะไม่เคยตกลงไปต่ำกว่านี้ก่อนที่จะกลับตัว และผู้ซื้อมีจำนวนมากกว่าผู้ขายซึ่งทำให้ราคาขยับสูงขึ้น ในทางกลับกันแนวต้านเป็นระดับที่ราคาแทบจะไม่เคยสูงเกินไปจากนี้และผู้ขายมีจำนวนมากกว่าผู้ซื้อจึงทำให้ราคาปรับตัวลดลง และในทั้งสองกรณีราคาจะหยุดและกลับตัวเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง
2. กลยุทธ์พินอคคิโอ - Pinnocchio Strategy
กราฟแท่งพิน็อคคิโอ (Pin bar) เป็นกราฟแท่งเทียนขนาดเล็กและมีไส้เทียนยาว (จมูก) เรียกอีกอย่างว่าแท่งดาวตก (Shooting Star), คนแขวนคอ (Hanging Man) และฆ้อน (Hammer) คุณคงจำจมูกยาวของพิน็อคคิโอได้เมื่อเขาโกหก ซึ่งก็เหมือนกับกลยุทธ์นี้: เมื่อไส้เทียนยาวกว่าตัวหลัก แสดงว่าตลาดกำลังหลอกเราและเราควรเทรดในทิศทางตรงกันข้าม
จุดเข้าเทรดของกลยุทธ์นี้จะแตกต่างกันไป: เทรดเดอร์บางรายมักรอให้แท่งเทียนถัดไปย้อนกลับไปที่ระดับฟีโบนักชี 50% ของแท่งพิน็อคคิโอเสียก่อน ในขณะที่เทรดเดอร์รายอื่น ๆ ชอบเข้าเทรดทันทีหลังจากแท่งเทียนนี้ปิดลง ซึ่งไส้เทียนยาวบ่งบอกถึงแรงกดดันจากการเทขายที่แข็งแกร่ง หางที่ยาวแสดงว่ามีแรงซื้อที่รุนแรง
กลยุทธ์แท่งแดงคู่ คือ ระบบการกลับตัวในระยะสั้นโดยพิจารณาจากการเคลื่อนไหวของราคาและแนวต้าน แผนการเทรดได้แสดงอยู่ในกราฟ 5นาทีและสัญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อมีแท่งเทียนขาลงสองแท่งก่อตัวขึ้นหลังจากการทดสอบแนวต้าน
วิธีการทำกำไร
เลือกสินทรัพย์และดูตลาดจนกว่าคุณจะเห็นแท่งสีแดงแรก จากนั้นให้รอแท่งสีแดงที่สอง
ถ้าแท่งสีแดงที่สองปิดต่ำกว่าแท่งสีแดงแรกแสดงว่าคุณโชคดีเจอรางวัลใหญ่เข้าให้แล้ว เพราะโดยปกติแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือแถบที่สามจะลงต่ำกว่าแถบที่สอง นี่คือจุดที่คุณควรเปิดสถานะขาย