ChiangmaiFX : ก้าวสู่ปีที่ 16 อย่างมั่นคงในการเทรด Forex (2009 - 2025) โดยใช้วิชาเทคนิคอล (สถิติประยุกต์) มาช่วยเพิ่มโอกาสที่จะชนะ

 

Exit Strategy

ex1-1
บทแปลสรุปนี้ แปลจาก e-Book : The importance of Exit Strategy, ซึ่งทางเจ้าของให้สิทธิ์ในการเผยแพร่ได้เต็มรูปแบบ, ดูจากปริมาณเนื้อหาที่ไม่มาก (น้อยกว่ามาก ถ้าเทียบหนังสือ Reading Price Chart) ผมจึงเร่งแปลเล่มนี้ให้ทุกคนได้อ่านก่อนเลยครับ

Exit Strategy Part 1 : The importance of Exit Strategy

ในการเทรดคนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ “จุดเข้า” มากกว่า “จุดออก”, เห็นได้จาก ถ้าลองไปที่ Forum ของเวปเทรดใดๆ จะเห็นแต่พูดถึงกันแต่ วิธีเข้าใหม่ๆ, น้อยมากที่จะพูดถึง "การออก" กัน ผม (ผู้แต่ง Lance Beggs) เชื่อว่า “การออก” เป็นสิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการเทรด มากกว่า “การเข้า”  สอน forex ฟรี 

ex1-2

ตัวอย่างในรูป 1, สมมุติว่า เราใช้ระบบ EMA cross, เมื่อเส้น EMA แดง ข้ามเส้นน้ำเงินขึ้นมา เราก็เปิด Long หลังจากจบแท่งเขียว ทำให้ได้ราคาเข้าที่ 1.9727,

ถ้าใช้ stop ที่แคบ เราก็ตั้งที่ S/L 1 ด้วยเหตุผล คือ swing low ล่าสุด, แบบนี้ คือ Stop แคบ

ถ้าใช้ stop ที่กว้างขึ้นมาก็ตั้งที่ S/L 2 ที่ตำแหน่ง swing low ชุดก่อนหน้า บริเวณ 1.9700,  แบบนี้ คือ Stop กว้าง อีกสักครู่เราจะมาดูกันว่า การตั้ง S/L ทั้งสองแบบนี้ (Stop แคบ กับ กว้าง) จะให้ผลเช่นไร

ถ้าเราตั้ง Target ที่ บริเวณ A  = 1.9750 , ด้วยเหตุผลว่า มักจะมีการพักของราคาที่ตัวเลขกลมๆ, แบบนี้ เรียกว่า “การกำหนดเป้าล่วงหน้า” , ซึ่งครั้งนี้ถ้ าเราใช้วิธีนี้ เราก็จะได้กำไร ถ้าราคาขึ้นมาพอสมควร แล้วเราเลื่อน Stop Loss ตามขึ้นมาที่จุดที่เราเข้า 1.9727 ไม่ว่าจาก S/L1 หรือ S/L2 ก็ตาม แบบนี้เรียกว่า “Trailing Stop” หรือชื่อไทยก็ “วิธีเลื่อน Stop ตาม”, ถ้าเราใช้วิธีนี้ เราก็จะโดน stop ออกไปบริเวณ B, ซึ่งก็ยังถือว่าไม่เลวนัก แม้ว่าจะได้แค่เท่าทุน ถ้าเราไม่เลื่อน SL ขึ้นมา = จุดเข้า 1.9727, เราก็จะมีโอกาสได้ออกที่ C อีกครั้ง ที่ราคาประมาณ 1.9750, ก็เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ยังกำไร แต่ถ้าเราไม่ออกที่จุด C เพราะไปยึดหลักว่า Let Profit run, ซึ่งหลักการแบบนี้ต้องใช้วิธี Trailing Stop ตาม swing ที่ขึ้นมาด้วย (เลื่อน S/L ขึ้นมาที่บริเวณ B) ก็จะทำให้เราโดน Stop out ที่จุด D ซึ่งขาดทุนเล็กน้อย, ซึ่งหากเทียบกันแล้ว การขาดทุนเล็กน้อยแบบนี้ ย่อมดีกว่า การขาดทุนหนักๆ แบบข้างล่าง ถ้าเราไม่เลื่อน S/L ขึ้นมา ก็จะทำให้ไปโดน stop ที่ E = S/L1 และ F = S/L2, เมื่อราคาวิ่งลงมาต่ำกว่า S/L 2 แต่ ถ้าไม่ยอมคัทลอส ที่ F = S/L2, ทนถือออเดอร์ต่อ ด้วยความหวังว่า ราคาจะกลับทิศขึ้นไป แบบนี้เรียก “การพนัน”, ซึ่งครั้งนี้โชคดี เพราะบังเอิญมีข่าวเศรษฐกิจออกมาแล้ว ทำให้ราคาวิ่งขึ้นไป

ทีนี้มาวิเคราะห์กันว่าการใช้ Stop Loss แบบไหนดีที่สุด, วิธีที่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในครั้งนี้ คือวิธีพนัน (ไม่มี Stop Loss เลย) แต่ว่าวิธีแบบนี้ ไม่มีเทรดเดอร์อาชีพคนไหน ที่จะมองว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องเด็ดขาด, เพราะตลาดอาจจะวิ่งไปในทางตรงข้ามอย่างรุนแรงได้ทุกเมื่อ ซึ่งหากยังใช้วิธีการพนันเรื่อยๆ มันเป็นการก้าวเข้าใกล้สู่ความล้มเหลวในการเทรดในที่สุด

สำหรับคนที่คิดจะใช้ Risk Management, วิธีการที่ถูกต้อง คือการออกตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าออเดอร์ (ที่ A = 1.9750),ซึ่งครั้งนี้ชนะ วิธีการเลื่อน Trailing Stop ส่วนการเลือก Stop ช่วงแคบๆ = S/L1 ก็เห็นได้ชัดว่าดีกว่าการใช้ stop ช่วงกว้าง = S/L2 ด้วยเหตุผลว่า เราได้จำกัดความเสี่ยงของเราไว้ให้ต่ำที่สุด เมื่อตลาดไม่สามารถขึ้นไปตามที่เราหวังไว้ได้

ex1-3

เรามาลองดู ตัวอย่างอีกอัน ในรูป 2, มันเป็นกราฟเดียวกันกับรูปที่แล้ว แต่เลื่อนเวลาไปข้างหน้าเล็กน้อย ครั้งนี้หลังจาก EMA แดงตัดน้ำเงินลงมาล่าง (บริเวณ S/L 1), อีกทั้งเห็นว่าราคาไม่สามารถฝ่า 1.9750 ขึ้นไปได้ถึงสองครั้ง และตามมาด้วยการได้เห็น Lower Low เรื่อยๆ, เราจึงสามารถตัดสินใจเข้า Short ที่บริเวณ 1.9715, แล้วก็ใช้ stop แบบแคบ = S/L1 (บริเวณด้านบนของโดจิ) , Stop แบบกว้าง = S/L2 (บริเวณ High เดิม) มาดูกันว่าคราวนี้แบบไหนจะดีกว่ากัน [Stop แคบ หรือ Stop กว้าง], [ออกที่เป้าที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หรือ Trailing Stop]

ถ้าใช้เป้าที่กำหนดล่วงหน้า ที่ตัวเลขกลมๆ A = 1.9700, ครั้งนี้เราก็จะได้กำไร ถ้าเรารอดูอีกนิดว่าจะทะลุเลขกลมๆ ได้ไหม แต่ปรากฏว่าไม่ทะลุ แล้วย้อนขึ้นไป เราก็อาจจะออกที่ B, ซึ่งก็กำไรเช่นกัน และพอๆ กับ A (ซึ่ง B ก็ถือว่าเป็นระบบเป้าล่วงหน้าเหมือน A)

ถ้าเราไม่ได้กำหนดเป้าไว้ล่วงหน้า แล้วใช้ Trailing Stop, เราก็คงจะได้ออกที่ C = ราคาทุน, แต่ถ้าไม่เลื่อน Trailing Stop ก็จะได้ออกที่ D = S/L1 หรือ E=S/L2

ส่วนถ้าใครเล่นแบบพนัน คือไม่ตั้ง Stop Loss ก็จะบาดเจ็บอย่างหนัก อาจจะเป็นการเทรดครั้งสุดท้ายในชีวิตเลยด้วยซ้ำไป

ส่วนการเปรียบเทียบระหว่าง Stop แคบ กับ กว้าง, ในครั้งนี้ก็ยังพบว่า Stop แคบ ให้ผลดีกว่า Stop กว้าง, และการตั้งเป้าล่วงหน้า ก็ดีกว่าการใช้ Trailing Stop แต่ผลการตัดสินระหว่าง Stop แคบ กับ กว้าง, และการตั้งเป้าล่วงหน้ากับ Trailing Stop ไม่ใช่ว่า Stop แคบจะชนะเสมอไป, เช่นเดียวกับการตั้งเป้าล่วงหน้า ก็ไม่ใช่จะชนะ Trailing Stop เสมอไปเช่นเดียวกัน ตอนหน้าเราจะมาดูกันว่า ถ้ากราฟมีหน้าตาเปลี่ยนไป ใครจะชนะกันแน่ระหว่างคู่ชกสองคู่นั้น (Stop แคบ VS กว้าง) กับ (กำหนดเป้าล่วงหน้า VS Trailing Stop)

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 2 : There is no “PERFECT EXIT” strategy (2)

ครั้งที่แล้วเราได้เปรียบเทียบระหว่างคู่ชกสองคู่, ผลปรากฏว่า Stop แคบ ชนะ Stop กว้าง, และการกำหนดเป้าล่วงหน้า ชนะ Trailing Stop, คราวนี้มาดูกันต่อว่า ถ้ากราฟหน้าตาเปลี่ยนไปแล้ว ผู้ชนะรายเดิมจะยังทำกำไรได้ดีกว่าไหม

ex2-1

ในรูป 3, ได้เข้า Short ที่ 1.9672 เพราะเห็น momentum การลง, กำหนด Stop แคบ = S/L1 (บริเวณยอดใส้เทียนสูงๆ นั้น) Stop กว้าง = S/L 2 (บริเวณ High เดิม)

ในกรณีกราฟนี้ สำหรับคู่ชกแรก ไม่ว่าจะเลือกใช้ Stop แคบ หรือ กว้าง, ก็ไม่มีผลใดๆ เพราะราคาวิ่งลง เข้าทางของเรา Stop Loss จึงไม่ได้มีบทบาท,คู่ชกอีกคู่ต่างหาก เป็นมวยคู่เอกของกราฟนี้, ผลปรากฏว่า หากเราใช้ Trailing Stop โดยการค่อยๆ เลื่อน S/L ตามกราฟที่วิ่งลงมา ก็จะทำให้ได้กำไรมากกว่า “การตั้งเป้าล่วงหน้า = 1.9650”, (ความจริงราคายังลงต่อจนทะลุกราฟที่แสดงไว้ ถ้าใช้วิธี Trailing Stop ตาม จะทำให้ได้กำไรประมาณ 100 pips, ขณะที่การตั้งเป้าล่วงหน้า จะได้กำไรประมาณ 10 pips)

ex2

ตัวอย่างต่อไป ตามภาพ 4, ครั้งนี้ ตลาดได้เริ่มลงมาจาก บริเวณ S/L 2, มีแท่งแดงใหญ่หลายๆ แท่งลงมาอย่างหนัก แล้วก็พักตัวขึ้นไป ระหว่างการพักก็มีแท่งแดงใหญ่เกิดซ้ำอีกสองครั้ง, เราจึง Short ตอนที่เกิดแท่งแดงใหญ่หลังจากพักตัว ทำให้ได้ตามนี้ คือ

ราคาทุน = 1.9530,

Stop แคบ = S/L1 บริเวณ High ล่าสุด
Stop กว้าง = S/L2 บริเวณ High ก่อนหน้านั้น (บริเวณเดียวกับที่ราคาเริ่มลงมาเป็นเทรน)
ในกรณีกราฟนี้ สำหรับคนที่เลือกใช้ Stop แคบ, จะโดน Stop และได้ออกจากตลาดไปบริเวณ A โดยขาดทุนเล็กน้อย, ขณะที่ Stop กว้าง จะทำให้เราได้กำไร

ส่วนอีกคู่ปรากฏว่า วิธีกำหนดเป้าล่วงหน้า = 1.9500 ก็จะกำไรประมาณ 30 pips, ขณะที่วิธี Trailing Stop จะทำกำไรได้มากกว่านั้นอย่างเห็นได้ชัด

ฉะนั้น ในกราฟนี้ Stop กว้าง ชนะ Stop แคบ, Trailing Stop ชนะการตั้งเป้าล่วงหน้า จากตัวอย่างทั้ง 4 กราฟนี้, เราได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้

a. ในทุกกรณี, ไม่ว่ากำไร หรือขาดทุน ก็ล้วนเป็นผลมาจากการเลือกวิธี Stop และ Exit, สำหรับการเข้าด้วยวิธีหนึ่งวิธี มันกลับมีวิธีออกมากมาย, การออกบางวิธีทำให้กำไร บางวิธีขาดทุน, นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ “การออก” มากกว่า “การเข้า”, แม้ว่าการเข้าก็เป็นส่วนที่สำคัญมากก็ตาม

b. เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าวิธีออกไหน จะดีที่สุดสำหรับแต่ละออเดอร์, บางครั้งการตั้ง Stop แคบดีกว่ากว้าง, บางครั้ง Stop กว้างดีกว่า, ส่วนวิธีออกด้วยกำไร บางครั้งการตั้งเป้าล่วงหน้าดีกว่า และบางครั้ง Trailing Stop ก็ดีกว่า

ถึงตรงนี่จบ Article 1 แล้ว,หากใครตระหนักว่า “การออก” สำคัญกว่า “การเข้า” – คุณเริ่มเข้าใจแล้ว ส่วนถ้าใครยังตามหา วิธีการออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกออเดอร์ – คุณยังไม่เข้าใจเลยนี่

ตอนหน้าเราะจะมาพูดถึงหลักการออกที่ผมคิดว่าเหมาะสมที่สุดกับผม (ผู้แต่ง Lance Beggs), ระหว่างนี้ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ไม่ว่าจะเลือก Stop แบบไหน, “ห้าม” ปล่อยให้ราคาวิ่งผ่าน Stop นั้นโดยไม่ปิดออเดอร์, การถืออเดอร์ข้าม Stop ของเรา โดยนั่งภาวนาว่ามันจะเด้งกลับมาในทางของเรา เป็นวิธีของ “การพนัน” ไม่ใช่ “การเทรด”, ถ้าคุณทำเช่นนั้น คุณก็ต้องเรียกตัวเองว่า “นักพนัน” ไม่ใช่ Trader อีกต่อไป

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 3 : My Exit Beliefs

ใน Article 1 เราได้เปรียบเทียบกราฟ 4 แบบที่ต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบว่าการออกแบบไหนดี, ทำให้ได้ข้อสรุปมาสองข้อดังนี้

a. ในทุกกรณี, ไม่ว่ากำไร หรือขาดทุน ก็ล้วนเป็นผลมาจากการเลือกวิธี Stop และ Exit, สำหรับการเข้าด้วยวิธีหนึ่งวิธี มันกลับมีวิธีออกมากมาย, การออกบางวิธีทำให้กำไร บางวิธีขาดทุน, นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับ “การออก” มากกว่า “การเข้า”, แม้ว่าการเข้าก็เป็นส่วนที่สำคัญมากก็ตาม

b. เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่า วิธีออกไหนจะดีที่สุดสำหรับแต่ละออเดอร์, บางครั้งการตั้ง Stop แคบดีกว่ากว้าง, บางครั้ง Stop กว้างดีกว่า, ส่วนวิธีออกด้วยกำไร บางครั้งการตั้งเป้าล่วงหน้าดีกว่า และบางครั้ง Trailing Stop ก็ดีกว่า

ในตอนนี้ผมจะพูดถึงหลักการ และความเชื่อส่วนตัวของผม (Lance Beggs) ที่ผมใช้ในการสร้างระบบออกของผม, แต่อย่าเชื่อทำพูดของผมเด็ดขาด จนกว่าจะได้ทดสอบด้วยตัวเองก่อน เพราะความเชื่อ และวิธีของผมใช้ได้ดีกับผม แต่อาจจะไม่เข้ากับของคุณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางจิตวิทยา หรือทางเทคนิคอลก็ตาม, ฉะนั้นขอให้ลองทดสอบ ทบทวน และเลือกเอาส่วนที่เหมาะกับคุณไปใช้งานก็พอ

ex3

ภาพของผู้แต่ง (Lance Beggs) อันหล่อเหลานะครับ, เป็นอดีตนายทหาร นักบินขับ ฮ. และผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยทางด้านการบิน, เขาใช้ความรู้เรื่อง Human Factor, Risk Management, Crew Resource Management ประยุกต์ใช้กับการเทรด, ปัจจุบันเป็นเทรดเดอร์ และเจ้าของ www.YourTradingCoach.com

ความเชื่อ #1 : ไม่มีกฎตายตัวสำหรับทุกๆ สถานการณ์

ผู้อ่านชอบอีเมล์ถามผมถึงแผนการออก โดยคาดหวังว่า ผมจะมีสูตรวิเศษที่ใช้ได้กับทุกกรณีแบบลักษณะนี้  (Note ผู้แปล: สูตรคณิตศาสตร์ต่อไป เป็นสูตรที่ผู้แต่งสมมติขึ้นมา โดยพยายามทำให้รู้สึกว่าซับซ้อนมากๆ อย่าพยายามแปล หรือทำความเข้าใจจะดีกว่านะครับ ^_^)

“If the standard deviation of the 14 period average true range (ATR) is less than 2/3 of π times the 3 period ATR,  then set  the stop at 1.8 ATR, else 2.5 ATR. Now set your stop and walk away.”

ซึ่งต้องขอโทษที่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะสมการเมื่อกี้ผมมั่วขึ้นมา, ความจริง ก็คือผมไม่รู้กฏ หรือสมการใดๆ ที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์หรอก, ตามที่เราได้พิสูจน์กันไปในตอนที่แล้ว ว่าในแต่ละกราฟแต่ละสถานการณ์ จะมีวิธีออกที่ดีแตกต่างกันไป จึงเป็นข่าวดีสำหรับคุณว่าไม่ต้องท่องจำสมการข้างบนของผม

ความเชื่อ #2 : ไม่มีวันที่จะทำให้ “วิธีออก” สมบูรณ์แบบ

มีกรณีตัวอย่างอยู่ว่า Larry Connors (ผู้แต่งร่วม Street Smarts) ได้พูดถึงเพื่อนของเขาที่เทรด Futures ได้กำไรกว่า 100 ล้าน USD ว่า เพื่อนคนนั้นรู้สึกว่า จุดอ่อนที่ใหญ่สุดของเขา คือการที่เขาไม่เคยเชี่ยวชาญวิธีออกของเขาเลย, ฉะนั้น ถ้าคุณเองไม่เชี่ยวชาญวิธีออกของคุณ ก็คงไม่เป็นไรหรอกเนอะ ผมเองก็ยังไม่เชี่ยวชาญวิธีออกของผมเช่นกัน แต่ผมก็มีความสุขดี และพอใจกับการเทรด 100 ล้าน USD ของผม ด้วยวิธีออกที่ยังไม่สมบูรณ์แบบของผม

คุณต้องยอมรับ “ความไม่สมบูรณ์” และต้องอยู่กับมันมากกว่าการไปตามหาผลลัพธ์ในอุดมคติ, เมื่อคุณทดสอบระบบย้อนหลัง ย่อมจะเห็นชัดว่าคุณควรจะออกตรงไหนเป๊ะๆ แต่ยอมรับเถอะว่า ถ้าอยู่ในสถานการณ์จริง ณ ตอนนั้น คุณอาจจะไม่ได้ออกตรงนั้นหรอก ฉะนั้นผลการเทรดจริง มันจะไม่ดีเท่าผลการทดสอบระบบย้อนหลังแน่ๆ, เมื่อเข้าใจว่าการเทรดจริง มักได้กำไรน้อยกว่าในอุดมคติ คุณก็ควรจะยอมรับ “ความไม่สมบูรณ์” ได้เช่นกัน

ความเชื่อ #3 : การเทรดเสียจะสร้างความเสียหายที่แท้จริงที่จิตใจ ไม่ใช่ทางด้านการเงิน

ความเสียหายใหญ่หลวง จากการเทรดเสียหนักๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นทางด้านการเงิน แต่อาจไปเสียหายที่จิตใจของคนเทรดมากกว่า,

กรณีแรก : ความเสียหายจากการบาดเจ็บเพราะทนถือออเดอร์ที่มีคัทลอส แต่ถึงเวลาจริงกลับไม่ยอมคัท แบบนี้จะสร้างผลเสียทางจิตวิทยาที่รุนแรง และยากมากที่จะฟื้นคืน

กรณีที่สอง : ถ้าคุณออกเร็วไป ได้กำไรเพียงเล็กน้อย จากนั้นกราฟก็วิ่งระเบิดต่อ ปล่อยให้คุณได้แต่นั่งเสียดายว่า นี่อาจจะเป็นกำไรครั้งใหญ่สุดในชีวิต ถ้าไม่ออกเร็วไป, กรณีนี้ความเสียหายไม่ได้เกี่ยวกับการเงินเลย เพราะการอดกำไร ไม่ได้ก่อความเสียหายทางด้านการเงินเลยสักนิด แต่จิตวิทยาของเทรดเดอร์ต่างหากที่ได้รับความเสียหายเต็มๆ

กรณีที่สาม : ถ้าปล่อยให้ออเดอร์ วิ่งจากกำไรกลับมาเท่าทุน ตามด้วยขาดทุน แล้วไปออกที่ Stop Loss, แบบนี้ก็เสียหายด้านการเงินเพียงเล็กน้อยมาก แต่จะได้รับความเสียหายหนักที่จิตวิทยาเช่นกัน

เพราะมนุษย์อย่างเรา ย่อมจะมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา ฉะนั้นการจะเทรดแพ้เป็นครั้งคราว เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องไม่ให้มีเหตุการณ์ที่ไปเสี่ยงเกินกว่า Money Management ในการเทรดแม้แต่ครั้งเดียว

(Note ผู้แปล: เข้าใจว่าการเทรดนอกแผนที่วางไว้ ก็เป็นกรณีต้องห้ามเช่นกัน, เช่นไม่ยอมคัทลอสเมื่อถึงเวลาจริง), เพราะการทำเช่นนั้น มันจะเป็นการกัดกร่อนเงินทุน และทำให้เราตกอยู่ในภาวะ Draw Down ครั้งใหญ่ได้ ซึ่งจะตามมาด้วยความเสียหายทางจิตวิทยาที่เกินเยียวยา, สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้นักเทรดมือใหม่ล้มหายตายจากออกไปจากตลาดอยู่ตลอดเวลา

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 4 : My Exit Beliefs (2)

ในตอนที่แล้วได้พูดถึงหลักการ และความเชื่อส่วนตัวของผู้แต่งสามข้อ ที่เขาใช้ในการสร้างระบบออก, ตอนนี้จะมาพูดถึงความเชื่อเหล่านั้นต่ออีกสามข้อ

ความเชื่อ #4 : แผนที่ใช้ออก ต้องออกแบบให้เหมาะกับจริตของตัวเอง

เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในเรื่องการออกเลย ถ้าคุณไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากบทความนี้ อย่างน้อยก็ขอให้ได้เรื่องนี้ไปละกัน

หลักการสำคัญ คืออย่าไปพยายามหาระบบออกที่ได้ผลประโยชน์สูงสุด, ให้หาระบบออกที่เข้ากันได้กับจิตวิทยาการเทรดของคุณแทน

- ถ้าคุณเป็นพวกกลัวการตกรถครั้งใหญ่ คุณต้องพิจารณาการใช้ Stop Loss แบบกว้าง เพื่อให้แน่ใจว่า คุณจะไม่โดน stop Loss ตอนแกว่ง ก่อนจะวิ่งครั้งใหญ่ จากนั้นถ้ากราฟวิ่งถูกทาง ให้ใช้ Trailing Stop เลื่อนตามกราฟ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณอยู่ในเทรนได้ตลอด, แต่แน่นอนว่า การเลือกใช้ Stop Loss แบบกว้างนี้ มาพร้อมกับข้อเสียที่ต้องยอมรับ คือเปอร์เซ็นต์การชนะที่ต่ำลง

- ถ้าคุณเป็นพวกที่กลัวว่าออเดอร์ที่กำลังเป็นบวกอยู่ดีๆ กลายเป็นลบ, แบบนี้ต้องใช้วิธี คอยเลื่อน Stop Loss ขึ้นมาถี่ๆ, ซึ่งก็ต้องแลกกับการที่จะโดน Stop Loss บ่อยขึ้น จนทำให้เสียโอกาสที่จะได้เก็บเทรนใหญ่ๆ  คุณจะได้เห็นตัวอย่างในบทที่ 3 ว่าผมได้ออกแบบวิธีออกให้เหมาะกับจิตวิทยาของผมไว้อย่างไร

ex4
 

(รูปจากผู้แปล : ตัวอย่างการเลื่อน Stop Loss ที่ผมสอนใน Advance Forex Class by ROJER FX http://www.facebook.com/rojer.fx.3)

ความเชื่อ #5 : การป้องกันสำคัญกว่าการบุก

เป้าหมายเบื้องต้นของเทรดเดอร์ทุกคน คือการไม่ตายออกจากตลาด, เราต้องมั่นใจได้ว่า พรุ่งนี้เราก็จะยังเทรดอยู่ในตลาดได้ต่อไป การเทรดแต่ละครั้งจะมีจุดจบได้ 5 รูปแบบ ดังนี้

1. ชนะครั้งใหญ่

2. แพ้ครั้งใหญ่

3. เท่าทุน

4. ชนะเล็กๆ

5. แพ้เล็กๆ

ตลาดจะมีธรรมชาติหนึ่งที่แน่นอนที่สุด คือ “ความไม่แน่นอน” ไม่ว่าคุณจะวิเคราะห์ได้เก่งแค่ไหน คุณก็ยังต้องพบกับปัจจัยความไม่แน่นอนนี้ ฉะนั้นบางครั้งคุณก็จะแพ้อย่างเลี่ยงไม่ได้, เมื่อรู้ว่าเราคุมความแน่นอนไม่ได้ แล้วควบคุมอะไรได้ ? คำตอบ คือคุณสามารถที่จะควบคุม กำไรของคุณเองได้ กล่าวคือ ถ้าตลาดมอบโอกาสที่จะเก็บกำไรให้ โดยมาทางเดียวกับคุณ, แผนการออกของคุณจะเป็นตัวกำหนดว่า คุณจะได้กำไรมากน้อยแค่ไหน, นั่นคือ คุณควบคุมปริมาณการเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้ว่าอยากให้มันวิ่งไปไกลแค่ไหน สิ่งที่คุณก็ควบคุมได้ก้มีแค่ส่วนที่ต่อจากตลาดอีกทีว่า ถ้าตลาดวิ่งไปทางเดียวกับคุณแล้ว คุณจะเลือกรับกำไรมากแค่ไหนแค่นั้น

(Note ผู้แปล : เช่นตลาดวิ่งถูกทางกับคุณ 200 pips, คุณไปบังคับตลาดให้วิ่งมากหรือน้อยกว่า 200 pips ไม่ได้, แต่คุณเลือกแผนการออกได้ว่าจะเสี่ยงน้อยรับแค่ 50 pips โดยไม่ต้องทนการแกว่งเลย, หรือจะเสี่ยงรับ 150 pips โดยที่ต้องทนการแกว่ง ซึ่งอาจะลึกเข้ามาถึงแดนลบของคุณก่อน)

คุณวางแผนบุกได้ไม่เต็มที่เพราะความไม่แน่นอน แต่ตอนวางแผนการรับนั้น พบว่าสิ่งที่คุณควบคุมได้เต็มๆ คือรูปแบบการแพ้ของคุณ, ถ้าคุณลงเอยด้วยการแพ้ครั้งใหญ่ นั่นก็เพราะคุณไม่ได้เลือกวิธีออกแบบ “แพ้เล็กๆ”, การแพ้ครั้งใหญ่ คือสิ่งที่จะทำให้คุณตายจากตลาดได้ ฉะนั้นถ้าคุณต้องการแน่ใจว่า คุณจะไม่ตายจากตลาด คุณก็ต้องเลือกเดินเส้นทางที่จะพบกับ ชนะเล็กๆ แต่บ่อยๆ, แพ้เล็กๆ แต่บ่อยๆ, เท่าทุนบ่อยๆ และนานๆ ถึงจะชนะครั้งใหญ่สักที แต่คุณจะไม่มีวันพบกับการแพ้ครั้งใหญ่เลย, ฉะนั้นถ้าคุณเน้นที่จะป้องกัน ไม่อยากตายจากตลาด ก็ต้องควบคุมความเสี่ยงไม่ให้เจอการแพ้ครั้งใหญ่

(Note ผู้แปล : หมายถึงว่า ต้องมีการใส่ Stop Loss ทุกออเดอร์ โดยที่ต้องวาง Stop Loss ไม่ให้กินทุนมากนัก)

ความเชื่อ #6 : รูปแบบการออกแต่ละแบบใช้ได้ดีกับตลาดที่แตกต่างกันไป เราได้พิสูจน์กันจนเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า

- ในตลาด sideway แกว่งตัว :  การออกด้วยวิธีตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า แบบ Trailing Stop

- ในตลาดเป็นเทรนแบบราบเรียบ ไม่ค่อยแกว่ง : Trailing Stop จะทำกำไรได้ดีกว่าแบบตั้งเป้าล่วงหน้า

- ในตลาดที่เป็นเทรนที่แกว่งตัวรุนแรง : การออกด้วยวิธีตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า Trailing Stop เมื่อเข้าใจเรื่องนี้แล้ว เราต้องดูว่าตลาดของเราเคลื่อนตัวแบบไหน ซึ่งจะส่งผลต่อ style การเทรด และแผนการออกของคุณ, ที่สำคัญสุด คืออย่าลืมคิดด้วยว่าวิธีออกที่คุณเลือกยังเหมาะกับนิสัยของคุณหรือเปล่า ?

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 5 : My Exit Beliefs (3)

ในสองตอนที่แล้ว ได้พูดถึงหลักการ และความเชื่อส่วนตัวของผู้แต่งไปรวม 6 ข้อแล้ว ที่เขาใช้ในการสร้างระบบออก, ตอนนี้จะมาพูดถึงความเชื่อเหล่านั้นต่ออีก 3 ข้อสุดท้าย

ความเชื่อ #7 : การเลือกวาง Stop Loss จะต้องได้อย่างเสียอย่าง ระหว่างความถี่ในการชนะกับปริมาณชนะแต่ละครั้ง เรื่องนี้เคยเกริ่นไปนิดๆ แล้วตอนพูดถึงเรื่อง จิตวิทยาการเทรด

ได้ความถี่ เสียปริมาณ : ถ้าอยากจะชนะบ่อยๆ (% winning สูงๆ) ต้องใช้วิธี Stop Loss กว้าง ที่จะมาพร้อมกับข้อเสีย คืออาจได้กำไรเพียงนิดเดียวในการชนะแต่ละครั้ง แต่เมื่อแพ้จะขาดทุนเยอะ, ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ Stop Loss กว้าง ก็จะทำให้ราคามีพื้นที่ในการแกว่งตัวมากขึ้น ก่อนที่จะวิ่งถูกทางเรา, เราจึงมีโอกาสชนะบ่อยขึ้น แต่นานๆ ครั้งก็จะเกิดกรณีที่ว่า ราคาแกว่งมาจนชน Stop Loss แบบกว้างของเรา ซึ่งทำให้เราต้องพบกับการขาดทุนที่เยอะ เพราะจุด Stop อยู่ไกลนั่นเอง

ได้ปริมาณ เสียความถี่ : ในทางตรงกันข้ามกับกรณีด้านบน, ถ้าอยากจะได้ “กำไร ต่อ ขาดทุน” สูงๆ ก็ต้องยอมเสีย ความถี่ในการชนะ โดยการใช้ Stop Loss ที่แคบลง, การทำแบบนี้จะทำให้ “อัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้” มากขึ้น

(Note ผู้แปล : ชนะแต่ละครั้งได้มากเฉลี่ย 30 pips และแพ้แต่ละครั้งเสียน้อยเฉลี่ย 5 pips,  อัตราส่วนเฉลี่ย คือ 30/5 = 6), การใช้ Stop Loss ที่แคบ ย่อมทำให้เมื่อโดน Stop Loss แต่ละครั้ง ขาดทุนเพียงเล็กน้อยแต่โอกาสกำไรก็ยังอยู่เมื่อถูกทาง ซึ่งทำให้ค่าอัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้ สูงขึ้น, แต่การมี Stop Loss ที่แคบย่อมมาพร้อมกับข้อเสีย คือ ชน Stop Loss บ่อยขึ้น จึงทำให้ความถี่ในการชนะ (% winning) ลดลง

หลักการที่ต้องเลือกระหว่าง ความถี่ กับ ปริมาณ ใช้ได้กับการวาง Target point เช่นกัน, ปกติจะนิยมการวาง Target Point (TP) กว้าง 2-3 เท่าของ Stop Loss, ซึ่งการทำแบบนี้ ต้องพบกับความถี่ในการชนะที่ลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ (จะเอาปริมาณ ก็ต้องเสียความถี่)

ถึงตรงนี้ต้องมาพิจารณาเรื่องจิตวิทยาอีกครั้งว่า คุณรู้สึกว่าเหมาะกับแบบไหน ในการเลือกระหว่าง ความถี่ กับ ปริมาณ ? ชนะบ่อยๆ แต่น้อยๆ หรือนานๆ ชนะทีแต่ได้เต็มๆ (อย่าลืมด้วยว่า ชนะบ่อยๆ จะแพ้หนัก และได้เต็มๆ จะแพ้บ่อย) ผมรู้นะว่า คุณคิดอะไรอยู่ คุณอยากได้วิธีที่ ชนะบ่อยๆ และปริมาณมากๆ ใช่ไหมละ ? ฝันต่อไปนะ เพราะมันจะไม่มีวันเกิดขึ้น

ความเชื่อ #8 : ให้วาง Stop Loss ในตำแหน่งที่เป็นจุดตัดสินว่า การวิเคราะห์ตลาดของเราผิดทางแล้ว

ให้วาง Stop Loss ให้แคบที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยที่ยังรองรับการแกว่งตัว (noise) ได้, ซึ่งถ้าการวิเคราะห์ของคุณถูกทาง ถูกจังหวะแล้วละก็ ราคาไม่ควรจะไปชน Stop ของคุณ, ฉะนั้นให้วาง Stop Loss บนพื้นฐานของการวิเคราะห์รูปแบบกราฟ รูปแบบราคา, ไม่ใช่วางในตำแหน่งที่บอกว่าคุณจะยอมเสียได้มากน้อยแค่ไหน, ถ้าการใช้ SL จากรูปแบบกราฟ ทำให้ต้องทนเสียเงินเยอะไป ให้ลดขนาดของการเทรดลงให้เหมาะ หรืออาจจะปล่อยออเดอร์นั้นไป ไม่เข้าเทรด

(Note ผู้แปล : เรื่องนี้ผมสอนใน Advance Forex Class ว่า ให้คำนวณ SL สองขั้น, ขั้นแรก ให้คำนวณจากเงินที่เรายอมเสียก่อน แล้ววาง SL ไปก่อน, ขั้นสอง ให้ปรับตำแหน่ง SL โดยดูจากกราฟว่า บริเวณนั้นมีแนวรับแนวต้านอะไรที่สำคัญไหม ถ้ามีให้เลื่อน SL ไปที่บริเวณนั้น แล้วตรวจทานปริมาณเงินอีกรอบ, ถ้าจำนวนเงินเปลี่ยนแปลงเยอะไป ให้ไปแก้ไขที่ Lot แทน)

ex5

ความเชื่อ #9 : เมื่อความได้เปรียบหมดไป ให้ออกจากตลาด ไม่มีใครบังคับคุณให้ทนถือออเดอร์จนชน Stop Loss ทุกครั้ง

หลักการง่ายๆ คือถ้ารู้สึกว่าตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ให้ออกไปก่อน แล้วถ้าเห็นจังหวะดีๆ ค่อยกลับเข้ามาใหม่ก็ได้ ที่จริงมีวิธีที่ดีมากๆ ในการเพิ่ม “อัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้” นั่นคือการลดขนาดของการแพ้นั่นเอง

เทรดเดอร์จำนวนมาก จะไม่ยอมเทรด ถ้า “อัตราส่วนเฉลี่ย ชนะ/แพ้” น้อยกว่า 2:1, แต่สำหรับผม (Lance Beggs) ผมจะยอมรับ 1:1 ทุกเมื่อ เพราะผมจะคอยเล็งไม่ให้ออเดอร์ชน SL, ถ้ารู้สึกว่าราคาผิดทางจากที่ผมวิเคราะห์ไว้ ผมก็จะออกทันที ดังนั้นการแพ้เฉลี่ยของผมก็จะน้อยกว่า 1

ถึงตรงนี้ผมจะทิ้งช่วงให้พวกคุณได้ตกผลึก แล้วบทต่อไปจะมาดูวิธีวาง Stop Loss ของผมในการเล่น Day Trade, และจะมาดูคำแนะนำจากพวกเทรดเดอร์ และครูสอนเทรดทั้งหลายที่มีบทบาทต่อการวางแผนการออกของผมด้วย

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 6 : My Approach to Exits (1)

My Approach to Exits = วิธีการออกของฉัน

(Note ผู้แปล : ในบทนี้ซึ่งเป็นบทสุดท้าย (บทนี้จะถูกแตกออกเป็นอีกประมาณสามตอนย่อย) จะมาพิจารณาวิธีออกของผู้แต่งที่เขาใช้ในการเทรดสั้นระหว่างวัน)

ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการพิจารณา 1.เป้าหมายการเทรดของผม, 2.ธรรมชาติของตลาดที่ผมเทรด และ 3.ความเหมาะกับจิตวิทยาของผม, ทั้งหมดนี้จะนำมาใช้ในการบริหารการเทรด และวิธีการออก

1. เป้าหมายการเทรดของผม : เป้าหมายสูงสุดของผม คือการมีรายได้เข้ามาคงที่ (Note ผู้แปล : เขาหมายถึง ได้น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ) ผมไม่ได้หวังแจ๊คพอร์ตใหญ่ ถ้าได้แจ๊คพอร์ตมาบ้างก็ดี แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายหลักอยู่ดี, ฉะนั้นผมไม่สามารถคอยรอเทรนใหญ่ๆ อย่างเดียวได้, ผมจึงเทรดแบบ swing เล็กๆ และตั้งเป้าไว้ที่รายได้ที่สม่ำเสมอ, ผมยอมรับว่า ผมไม่ใช่เทรดได้กำไรทุกวัน แต่ผมก็ตั้งเป้าว่าทุกสัปดาห์ต้องได้กำไร และที่แน่ๆ ต้องกำไรทุกเดือน, ดังนั้นในการพัฒนาวิธีการออกของผม ต้องมุ่งเป้าไปที่การมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีองค์ประกอบมาจากทั้ง % ชนะสูง (ชนะบ่อย) และการใช้ความเสี่ยงที่น้อยๆ (Stop Loss แคบ), แม้ว่าเราจะทำให้ % ชนะบ่อยๆ เพิ่มขึ้นได้โดยการใช้ Stop Loss ที่กว้าง แต่ไม่ใช่ในกรณีของผม เพราะผมต้องการใช้ความเสี่ยงให้น้อยที่สุด, ผมเข้าใจ และยอมรับถึงวิธีการเทรดของผมในการวางออเดอร์บริเวณแนวรับ/แนวต้าน ซึ่งทำให้มีโอกาสชนะสูงขึ้น และทำให้การวาง Stop Loss ของผมแคบไปด้วย, นอกจากนี้เพื่อจะควบคุมความเสี่ยงไว้ให้ต่ำ จะต้องไม่มีออเดอร์ที่เสี่ยงมากในระดับที่เสี่ยงต่ออาชีพทั้งอาชีพของผม กล่าวคือการแพ้แต่ละครั้ง ต้องเล็กในระดับที่สามารถกอบกู้ความเสียหายได้ด้วยการชนะในอีกวันได้

ex6

ตัวอย่างภาพการสอนเรื่อง "การวาง Stop Loss ที่ดี" ใน Advance Forex Class ของผู้แปล (Rojer FX), ซึ่งใกล้เคียงกับ วิธีวาง Stop Loss ของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้

2. ธรรมชาติของตลาดที่ผมเทรด : ผมเกลียดมากเมื่อถูกถามว่า “คิดว่าคำพูดที่ว่า The Trend is your friend” เป็นจริงไหม? ถ้าจะตอบว่า Trend เป็นเพื่อนจริง ก็ต้องบอกเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า เพื่อนคนนี้นี่ เชื่อถือไม่ค่อยได้ด้วยนะ, สำหรับผมแล้ว การมาวิ่งตามเทรน เป็นสิ่งที่ขัดต่อจิตวิทยาของผมมาก เพราะการพยายามตามเทรน ต้องอดทนต่อการ cut loss บ่อยๆ ซ้ำๆ ทำให้ทุนลดลงๆ ในระหว่างการรอให้เทรนใหญ่ให้เกิดขึ้นจริงๆ สักครั้ง

(Note ผู้แปล : ผมชอบเปรียบเทียบว่าการเป็น trend follower เป็นเหมือนซื้อหวย เพราะโอกาสถูกน้อย แต่ถ้าถูกจะได้เยอะ)

ในตลาดฟอเร๊กซ์ มักจะเห็นเทรนสวยๆ ใน Time Frame ใหญ่, แต่จากประสบการณ์ของผม ซึ่งเล่นใน Time Frame เล็ก กลับไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น, ตลาดใช้เวลาส่วนใหญ่เป็น sideway ซะมากกว่าจะเป็นเทรน แม้ว่าบางครั้งพอเป็นเทรนทีก็วิ่งยาวออกไปไกลก็ตาม, ฉะนั้นใน Time Frame ที่ผมเทรด ผมต้องใช้วิธีออกที่ไม่ได้คอยเฝ้าหวังเทรน, ผมจึงเลือกวิธีตีกรอบของราคาแบบ Sideway Swing Trading เพราะผมรู้สึกว่าเหมาะสมกว่า

3. ความเหมาะกับจิตวิทยาของผม : ถึงตรงนี้มาดูกันว่าการเลือก 1.เป้าหมายการเทรด กับ 2.มุมมองต่อธรรมชาติของตลาด ของผม จะเข้ากับนิสัยของผมหรือไม่,

อันดับแรกเลย คือการรู้ตัวว่าแม้ว่าผมเกลียดการแพ้ แต่ยิ่งเกลียดการแพ้ที่ไม่จำเป็นมากกว่าซะอีก, ดังนั้นผมจะยอมแพ้ เมื่อระบบบอกให้ cut loss เพื่อไม่ให้ความเสียหายมากกว่าที่ควร, ผมยอมรับความเสียหายเที่เกิดจากการไร้วินัยไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น, ดังนั้นผมจึงต้องมีแผนการออกที่ชัดเจนทุกครั้ง และต้องอยู่กับแผนตลอดการเทรด เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงยังอยู่ในแผนทุกอย่าง

อีกเรื่องที่ผมรับไม่ได้ คือการที่เห็นออเดอร์เคยเป็นบวกอยู่แล้ว สุดท้ายออกด้วยลบ, ถ้าผมได้กำไรแค่เล็กน้อย หรือเท่าทุน ผมยอมรับได้, แต่ถ้าปล่อยให้ออเดอร์เคยเป็นบวก แล้วย่อลงมาจนเข้าเขตลบ ผมจะตีตวามว่าผมล้มเหลวในการบริหารออเดอร์นั้น, ฉะนั้นผมจึงคอยจ้องที่จะเลื่อน Stop Loss ตามมาที่จุดเท่าทุนเสมอ

(Note ผู้แปล : เรื่องการ Stop Loss นี่ถูกสอนอย่างละเอียดใน Advance Forex Class by Rojer FX) เรื่องสุดท้าย คือจริงอยู่ว่าผมก็อยากจะจับเทรนได้เต็มๆ เหมือนคนอื่น แต่ผมก็ไม่รู้สึกอะไรมาก ถ้าไม่ได้กินเทรนจนสุด, ผมพอใจกับการได้กำไรเล็กๆ แต่เรื่อยๆ ในจุดที่โอกาสงามๆ มากกว่า

ทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่ผมใช้พิจารณาเพื่อออกแบบวิธีออกของผม ซึ่งมี 1.เป้าหมายการเทรดของผม, 2.ธรรมชาติของตลาดที่ผมเทรด และ 3.ความเหมาะกับจิตวิทยาของผม, ในตอนหน้าเราจะมาดูรายละเอียดปลีกย่อยลึกลงไปเพิ่มเติมกัน

(Note ผู้แปล : เนื่องจากผู้แต่งบรรยายยาวไปหน่อย ผมจึงช่วยสรุปให้เห็นภาพชัดๆ นะครับ ว่า

1. เขาเลือก Stop Loss แบบแคบ, ส่วน % ชนะสูง ได้มาด้วยวิธีไปรอเข้าที่แนวรับ/แนวต้าน

2. เขาเลือก Sideway Swing Trade ไม่ใช่ Trend Follow

3. เขาเลือกวิธีการเลื่อน Stop Loss โดยเฉพาะรีบๆ เลื่อนมายังจุดเท่าทุน)

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 7 : My Approach to Exits (2)

My Approach to Exits = วิธีการออกของฉัน (2)

วิธีการวาง Stop Loss ตอนเข้า

1.การวาง Stop Loss ตอนเข้า จะต้องแคบ แต่ก็ต้องกว้างพอจะทนการแกว่งในระดับ noise ได้, ในอุดมคติ คือให้วางไกลกว่า swing high/low เก่าเล็กน้อย หรือปลายแท่งเทียนที่ใช้เข้าเล็กน้อย (ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง), Stop Loss ควรจะทำหน้าที่เป็นตัวพาเราออกจากตลาด ถ้าผมเข้าผิดทาง หรือจังหวะ, ในกรณีที่ตลาดไม่ได้วิ่งอย่างราบเรียบ หรือตลาดมีตัวแท่งเทียน overlap กันมาก

(Note ผู้แปล : หมายถึงมีการแกว่งตัวออก sideway เยอะ) ให้วาง Stop Loss ให้ไกลเพิ่มขึ้นอีกสัก 2-3 pips เผื่อทนการทดสอบเล็กๆ น้อยๆ และทนการทะลุ Break out หลอก

ex7

2.ธรรมชาติของวิธีเข้าของผม คือถ้าเข้าถูกจริง ราคาจะวิ่งไปทางที่ผมต้องการอย่างเร็ว ดังนั้นถ้าราคาไม่เป็นไปตามที่คาด  คือรู้แล้วว่าผิดทาง ผมก็จะพิจารณาออกก่อนถึง Stop Loss ที่วางไว้, เพื่อลดการขาดทุนให้น้อยลงไปอีก

     2a. ผมจะออกก่อนถึง Stop Loss ถ้าการเคลื่อนไหวของราคาบอกว่า การเข้าของผมผิดแล้ว เช่นการที่ราคาอยู่นิ่งเป็นเวลานานๆ, โมเมนตัมของการวิ่งเริ่มลด หรือเริ่มมีสัญญาณกลับตัว, เราควรออกจากตลาดไปก่อนตอนไม่แน่ใจ แล้วถ้าเห็นรูปแบบที่ควรเข้าภายหลัง ค่อยกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งแบบนี้ดีกว่าการจะมาถือแช่ไว้แล้วภาวนาว่ามันจะถูกทาง

     2b. เมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่แน่ใจในออเดอร์ที่เข้ามาแล้ว ผมจะออกไปก่อน แล้วก็วิเคราะห์ใหม่, ดีกว่าจะปล่อยทิ้งไว้ให้ชนด้านใดด้านหนึ่งระหว่าง Target กับ Stop Loss (Note ผู้แปล : พูดให้เห็นภาพง่ายขึ้น คือให้หยุดรถกลางทางได้ โดยไม่ต้องวิ่งไม่หยุดจนกว่าจะถึงจุดหมาย ทั้งจุดหมายด้านหน้า หรือด้านหลัง)

     2c. ถ้าเวลาล่วงเลยมาสักระยะแล้ว แต่ราคามาไม่ถึงจุดที่หวังไว้ (ปกติแล้ว สามแท่งเทียน, แต่ก็ยืดหยุ่นได้ตามสภาวะตลาด) ผมจะพิจารณาออกเลย หรืออาจจะเลื่อน Stop Loss ขึ้นมาให้แคบลงกว่าเดิม ถ้าทำได้

     2d. การเทรดสวนเทรน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกว่ามาก พร้อมกับการคาดว่าจะออกเร็ว

การบริหารออเดอร์ระหว่างการถือ

1.ในกรณีโมเมนตัมของราคาเริ่มอ่อนลง ให้เลื่อน Stop Loss ขึ้นมาอย่างเร็ว และในกรณีที่กำไรอยู่เล็กน้อย ถ้าทำได้ให้เลื่อน Stop Loss มาที่เท่าทุน, ทั้งสองกรณีที่กล่าวมา ถ้าราคาแค่ย่อตัวเล็กน้อยก่อนที่ราคาจะวิ่งออกไปถูกทางของเรา อาจจะทำให้โดน Stop Loss เร็วไป แต่ผมก็ยอมรับได้ เพราะการย่อตัวเพียงเล็กน้อยที่ว่านั้น บ่อยครั้งก็กลายเป็นการเปลี่ยนทิศไปทางตรงข้ามจริงๆ, ฉะนั้นผมถือว่าการที่ผมได้ลดความเสี่ยงลงแบบนี้ ผมทำถูกต้อง, ผมสามารถที่จะประเมินสถานการณ์ใหม่ แล้วกลับเข้าไปได้เมื่อโอกาสเหมาะ หรือแม้ว่าราคาจะวิ่งออกไปไกลโดยไม่มีผม (ผมตกรถ) ผมก็ว่าผมทำถูก เพราะผมไม่เสี่ยงขาดทุน มากกว่าจ้องจะเอากำไร              

2. การเทรดสวนเทรน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกว่ามาก พร้อมกับการคาดว่าจะเลื่อน Stop Loss มาที่จุดเท่าทุน

การบริหารแบบแบ่งออเดอร์ออกเป็นส่วน

1. แม้ว่าเงื่อนไขการเทรดของผมจะใช้วิธีการออกที่เป้าที่กำหนดไว้ (กำหนด TP ล่วงหน้า) เพราะผมต้องการมีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ, แต่ผมก็แยกการบริหารออเดอร์ออกเป็นส่วนๆ เพื่อที่ว่าจะได้มีความยืดหยุ่น

2. ส่วนแรก จะใช้วิธีกำหนด Target Point ล่วงหน้า, ตำแหน่งที่จะวาง TP นั้นแปรผันได้ตามการวิเคราะห์ตลาดของผม โดยปกติแล้วมักจะเป็น แนวรับ/ต้าน อันถัดไป อาจจะเป็น แนวรับ/ต้าน หลัก หรือรองก็ได้

3. ส่วนที่สองจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามนี้

     3a. ในตลาดที่เป็นเทรนอย่างราบเรียบ, ส่วนนี้จะใช้วิธีเลื่อน Stop Loss ไล่ตามเทรน โดยวางไว้ให้ไกลกว่า Swing High/Low ชุดก่อนหน้านี้เล็กน้อย, ถ้าเห็น Parabolic หรือคลื่นส่งตัว อาจจะเลื่อน Stop Loss บีบเข้ามาให้แคบลงอีก โดยตำแหน่งการวาง Stop ดูจาก Time Frame ที่เล็กกว่า (Note ผู้แปล : Parabolic กับ คลื่นส่งตัวที่ว่า หมายถึงถ้ามีการวิ่งของราคาแรงๆ) การกระทำนี้ก็เพื่อที่ให้มั่นใจว่า มีกำไรจากส่วนนี้แน่ๆ

     3b. ในตลาดที่เป็น Side way หรือแกว่งไปมา (ไม่ว่าจะเป็นเทรนหรือไม่), ส่วนนี้จะใช้การออกด้วยวิธีเป้าที่กำหนดไว้, โดยปกติแล้วมักจะเป็น แนวรับ/ต้าน หลักอันถัดไป (Note ผู้แปล : กรณีนี้ใช้แนวหลักอย่างเดียว ไม่ใช้แนวรอง), นี่คือวิธีมาตรฐานของผม เพราะมีสมมุติฐานว่า ตลาดเป็น Sideway 70%, ส่วนวิธีเลื่อน Stop Loss ในข้อ 3a. จะใช้ก็ต่อเมื่อเห็นชัดว่า ตลาดเป็นเทรนที่ราบเรียบเท่านั้น

4. ถ้าราคาเริ่มหยุดนิ่งก่อนที่จะถึงเป้าทั้งสอง (ทั้ง Stop Loss, Target Point), ส่วนแรกอาจจะออกได้ทุกเมื่อ, ส่วนที่สองอาจจะถือต่อเพื่อให้โอกาสถึง Target Point หรือจุดเท่าทุน, แต่ก็อาจจะปิดส่วนที่สองได้ทุกเมื่อเช่นกัน ถ้ารู้สึกว่าความได้เปรียบหมดไปแล้ว

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 8 : My Approach to Exits (3)

My Approach to Exits = วิธีการออกของฉัน (3)

กำหนดการออกข่าวเศรษฐกิจ

1.เมื่อถึงเวลากำหนดออกข่าวเศรษฐกิจ ซึ่งรู้กันอยู่แล้วว่าจะแกว่งตัวแรง ให้ปิดออเดอร์ให้หมด, ในกรณีถ้าออเดอร์กำไรอยู่ ก็ให้บีบ Stop Loss เข้ามาไว้ใกล้กว่าเดิม, ถ้าคาดการณ์ว่าจะแกว่งตัวสุดๆ (เช่นข่าว Non-Farm ประจำเดือน หรืออัตราดอกเบี้ย) อาจจะยกเลิกส่วนที่สองทิ้งไป (Note ผู้แปล : หมายถึง เขาจะปิดออเดอร์ในส่วนการบริหารออเดอร์ที่การออกขึ้นอยู่กับภาวะตลาด เพื่อหลบข่าว), นี่เป็นเรื่องจำเป็น มันเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ช่วยเพิ่มความยืนหยุ่นที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกให้สอดคล้องกับสภาวะของตลาดได้

ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า กลยุทธ์การออกแบบนี้ เป็นวิธีที่ผมเห็นว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด แม้ว่ามันไม่ใช่วิธีที่กำไรเยอะที่สุด, ที่จริงจากการทดสอบพบว่า ถ้าผมออกด้วยส่วนที่สองอย่างเดียว (แบบที่การออกขึ้นอยู่กับสภาวะของตลาด) จะให้ได้กำไรที่ดีขึ้นกว่าเดิม, แต่ผมก็ชอบแบบที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เพราะมันเหมาะกับจิตวิทยาของผม เนื่องจากผมต้องการกำไรอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะได้น้อยกว่าก็ตาม เพราะจิตวิทยาแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่า วิธีออกของผม จะเข้ากันได้กับวิธีการเทรดของคุณเลยสักนิด ดังนั้นให้รับเอาส่วนที่คุณรู้สึกว่าชอบ และทดสอบมันว่าเหมาะกับวิธีการเทรดของคุณหรือไม่, กุญแจสำคัญอยู่ที่ “ทดสอบ”, ขอให้ทดสอบทุกอย่างให้เพียงพอ ก่อนจะเอาไปใช้จริงเสมอ

การออกแบบแบ่งออเดอร์ของผม มีส่วนประกอบย่อยๆ หลายส่วน และแต่ละส่วนสามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนั้นให้รับเฉพาะบางส่วนแล้วเอาไปปรับให้เข้ากับตัวคุณ และอย่าจำกัดอยู่กับแค่การทดสอบแบบ แบ่งออเดอร์เพียงอย่างเดียว ทำไมไม่ลองทดสอบขนาดของออเดอร์ที่แตกต่าง ในส่วนต่างๆ ที่ราคาต่างๆ ด้วยละ ? (Note ผู้แปล : เขาต้องการสื่อว่า ให้ทดสอบแปรค่าหลายๆ Factor ดูด้วยเผื่อจะเจอแบบที่ใช่กับตัวเอง)

ex8

คำแนะนำจากผู้เชียวชาญ

ผมหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์บ้างแล้วเมื่ออ่านถึงตรงนี้, ผมอยากจะตบท้ายด้วยการขอบคุณอาจารย์ทั้งหลายของผม ที่มีส่วนในการประสิทธิ์ประสาทความรู้ และขัดเกลาความเชื่อเกี่ยวกับการเทรดของผม จนได้ระบบบริหาร และวิธีการออกของผมนี้, ผมจะขอบคุณด้วยการนำคำพูดของพวกท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคการออก มาถ่ายทอดให้ผู้อ่านไปด้วยในตัว

Larry Williams จาก “Long Term Secrets to Short Term Trading”          

-  ผมมีระบบความเชื่อที่แข็งแกร่ง และทำกำไรได้จากประสบการณ์ของผม : เมื่อผมเข้าออเดอร์แล้ว ผมจะถือว่าเป็นออเดอร์ที่ผมจะแพ้, คิดไว้ว่าผมเป็นคนขี้แพ้อย่างนี้แหละ (Note ผู้แปล : ผมคิดว่าเขาจะสื่อว่า การแพ้เป็นส่วนหนึ่งของการเทรด และพร้อมจะ cut loss เพื่อยอมแพ้ทุกเมื่อ แบบไม่ดื้อ ฝืนทนถือ ถ้าคิดว่าตัวเองแพ้แล้ว)

-  ทุกครั้งที่บาดเจ็บหนัก ล้วนเกิดจากความคิดว่า ออเดอร์นี้ผมจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งจะทำให้ผมเริ่มเล่นนอกแผน, เหมือนที่พูดไว้ข้างบนว่า ถ้าคุณคิดว่าคุณจะเป็นฝ่ายแพ้แต่แรก เชื่อสิว่าคุณจะป้องกันตัวได้อย่างดีเสมอ

Mike Reed, จากบทความยอดเยี่ยมทั้งหลายจากเวปไซด์ และหนังสือของเขา "Read the Greed"

-  สิ่งที่คุณต้องคิดเสมอ คือ “จำกัดความเสี่ยง” ผมสนใจสิ่งนี้มากกว่าทุกอย่างในการเทรด

-  เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จทุกคนที่ผมรู้จัก มีวิธีการหนีออกก่อน ในกรณีการเทรดเริ่มส่อแววแย่

-  ไม่ว่าคุณจะเลือกเส้นทางใดก็ตาม การระบุวิธีออกเมื่อแพ้ เป็นกุญแจของการเทรด

-  อย่าปล่อยให้ออเดอร์กำไร ย้อนกลายเป็นขาดทุนเด็ดขาด, แม้ว่าการพยายามทำแบบนั้นจะก่อให้เกิดอาการตกรถก็ตาม (ออกเร็วก่อนเทรนจริง) คุณก็ต้องยอมรับมันได้, การเฝ้าหวังแจ๊คพอร์ต จะทำลายการเทรดของคุณ (ความโลภ), มันไม่มีสูตรคณิตศาสตร์ใดๆ ที่จะใช้ได้ในการออก (เช่นย้าย Stop Loss มาที่เท่าทุน หลังจากคุณได้กำไร 3 pips), คุณต้องพัฒนาทักษะที่จะบอกได้ด้วยความรู้สึกว่า ตลาดตอนนี้กำลังเคลื่อนไหวอย่างไรอยู่ แล้วใช้ทักษะความรู้สึกนั้น ในการปรับ Target หรือเลื่อน Stop Loss, สิ่งเหล่านี้จะมาจากประสบการณ์

(Note ผู้แปล : อย่างที่ผมสอนใน Advance Technical Class ว่า Price Action บางเรื่องมันถ่ายทอดไม่ได้ เพราะว่ารายละเอียด และความแปรปรวนมันมากเกินจะมาเขียนออกมาเป็นข้อๆ แล้วเอามาสอน ถ้าจะทำแบบนั้น เรื่องหนึ่งๆ อาจจะต้องสอนให้ดูสองร้อยรูปแบบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ)

-  พูดให้ง่าย คือถ้าความได้เปรียบหายไป ให้เผ่นซะ

เมื่อผมจะเข้าออเดอร์ ผมเข้าก็ต่อเมื่อผมได้เปรียบ แล้วนาฬิกาก็จะเริ่มหมุน, ถ้าผมเข้าถูกทาง ราคาควรจะวิ่งตามทิศของผมในไม่ช้า, เราไม่ควรคิดเอาเองไว้ก่อนว่า เราถูกทาง แล้วปล่อยให้ราคาวิ่งทางตรงข้ามไปเรื่อยๆ เพียงเพราะอยากจะเป็นฝ่ายถูก, สิ่งที่ควรทำในกรณีแบบนั้น คือควรจะประเมินว่า เราอยู่ผิดทางแล้ว และออกทันที, คุณจะต้องอยู่บนความคิดเบื้องต้นว่า เราอยู่ผิดทางไว้ก่อน และอย่าปรับมาคิดว่า เราอยู่ถูกทาง จนกว่าจะมีหลักฐานที่หนักแน่นพอ

Larry Conners and Linda Rashcke, จาก "Street Smarts":

-  เป้ามายหลักของการเทรด คือการลดความเสี่ยงให้น้อยสุด ไม่ใช่การทำกำไรให้มากสุด

-  จำไว้ว่าทั้ง การเทรดแบบสั้น และการเทรดด้วยระบบ, ผลกำไรหลักๆ จากการเทรดในแต่ละเดือนนั้น มักมาจากออเดอร์ส่วนมาก (ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่) ที่ตัดสินกันด้วย pip เพียงล็กน้อย (ส่วนกำไรจากออเดอร์ใหญ่ๆ จะมีแค่สองสามครั้งต่อเดือน) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญว่าออเดอร์ส่วนใหญ่ เวลาแพ้ก็ต้องให้ความเสียหายนั้นเล็กด้วย

-  ถ้าคุณจำกัดการแพ้ให้น้อยที่สุดไว้ได้ทุกออเดอร์ คุณจะชนะ 80%

-  จงดีใจ ถ้าได้กำไรแจ๊คพอร์ต แต่อย่าไปเฝ้าคอยมัน, ตลาดจะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้กำไรมากแค่ไหน, ส่วนตัวเรากำหนดได้ในเรื่อง ขาดทุนมากแค่ไหน

-  ทักษะที่ดีที่สุด คือเรื่องทำอย่างไรไม่ให้เสียเงิน

-  มันอาจจะไม่มี Perfect Exit Strategy, แต่หลักการ คือคุณต้องปิดทำกำไรเมื่อมีกำไร แม้ว่ามันจะหมายถึงการออกเร็วไป (ตกรถ)

-  ผู้คนมักจะทำผิดในลักษณะไปจดจ่อกับออเดอร์หนึ่งๆ ซึ่งเป็นแค่หนึ่งในออเดอร์ทั้งหมด 20 ออเดอร์ของเงินทั้งหมด และไม่สนใจอีก 19 ออเดอร์ที่เหลือ (Note ผู้แปล : คงหมายถึงว่าการชนะ หรือแพ้ออเดอร์หนึ่งๆ ก็เป็นแค่ส่วนเดียว อย่าเก็บมาเป็นอามรณ์ที่จะกระทบต่อการเทรดครั้งต่อๆ ไป)

ตอนหน้าจะมาสรุปบทความทั้งหมดจากเล่มนี้ จะพยายามให้ออกมาในลักษณะรูปธรรมมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อที่จะเอาไปใช้ได้จริง ในสถานการณ์จริงกัน

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี

 

Exit Strategy Part 9 : The Conclusion

บทนี้เป็นบทเพิ่มเติมจากหนังสือหลัก ซึ่งผม, ผู้แปล (Rojer FX), เขียนสรุปขึ้นมาเอง เพื่อนำใจความสำคัญมารวมไว้ให้เป็นบทเดียว จะได้ง่ายต่อการทบทวน และมาอ่านสรุป

ในบทแรกของหนังสือเป็นการพูดถึงภาพกว้าง และเริ่มแนะนำวิธีออกแบบต่างๆ ในการเทรด คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ “จุดเข้า” มากกว่า “จุดออก”, แต่ผู้แต่ง (Lance Beggs) เชื่อว่า “การออก” เป็นสิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการเทรด มากกว่า “การเข้า”, เขาจึงเริ่มจากยกตัวอย่างกราฟหลายๆ แบบให้เราเห็นถึงความสำคัญว่า ถ้ามีแผนการออกดีๆ จะมีโอกาสชนะมากขึ้น และได้จำแนกรูปแบบการออกเป็น 2x2 ประเภท

1. วิธีออกด้วยการแพ้ ผู้อ่านอาจจะแปลกใจที่เขาสอนวิธีรับมือกับความพ่ายแพ้ก่อนจะเล็งชัยชนะ ซึ่งตรงนี้เป็นจิตวิทยาที่ถูกต้อง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบ และไม่อยากยอมรับ, การจะอยู่รอดให้ได้อย่างยั่งยืนในตลาดสิ่งสำคัญ คือ "การอยู่รอด" ก่อนจะเป็น "การเติบโต" ดังนั้นการฝึกเอาตัวรอดจึงสำคัญสุด เขาจึงสอนให้รู้จักวิธีจำกัดความเสียหายในแต่ละครั้ง โดยสอนเรื่อง Stop Loss เป็นอันดับแรก (1.ความกว้างของ Stop Loss ที่วางตอนเข้าออเดอร์)

     1a. Stop แบบกว้าง : จะเป็นการวาง Stop แบบที่เรียกได้ว่า กล้าได้ กล้าเสีย, คือจะมีโอกาสที่จะได้ Trend ชุดใหญ่ เพราะทนการแกว่งได้มาก แต่ถ้าชน Stop Loss ขึ้นมา ก็จะเสียมากเพราะมันกว้างนั่นเอง

     1b. Stop แบบแคบ : เป็นการวาง Stop แบบ Play Safe, คือความเสียหายแต่ละครั้งจะน้อย แต่โอกาสจะได้ Trend ชุดใหญ่น้อยลง และจะชน Stop Loss บ่อยขึ้น (ส่วนวิธีเทรดโดยไม่มี Stop Loss นั้น ผู้แต่งมองว่ามันเป็นการพนัน ไม่ควรทำไม่ว่าในกรณีใดๆ)              

ซึ่งจากตรงนี้ ยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมมากนัก นำเสนอแค่ทฤษฏีก่อน ภายหลังจะเอาเรื่องนี้ไปรวมกับบทจิตวิทยา ก็จะได้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม, หากจะมองว่าตรงนี้มีสิ่งที่เป็นรูปธรรม ก็คือ "ต้องมี Stop Loss ทุกออเดอร์"

2. วิธีออกด้วยชัยชนะ

     2a. แบบวาง Target Point ไว้ ณ ราคาเป้าหมายที่เลือกไว้ล่วงหน้า : แบบนี้เหมาะกับตลาด Sideway

     2b. แบบเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลัง : แบบนี้เหมาะกับตลาด Trend

ซึ่งจากตรงนี้ เราได้เรียนรู้สิ่งแรกที่เป็นรูปธรรมเลย คือถ้าเราเดาว่า ตลาดเป็น Sideway ให้เลือกการวาง TP ที่ขอบของ Channel ของ Sideway Channel (คือ แบบ 2a)

ex9

แต่ในกรณีตลาดเป็น Trend, เนื่องจากเราไม่รู้ว่า มันจะสุดเทรนที่ไหน เมื่อไหร่ เราก็กำหนดล่วงหน้าไม่ได้ แต่เราก็อยากจะวิ่งตามเทรนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่หักหัวเลี้ยวกลับซะก่อน แบบนี้ก็ควรเลือกวิธีออกโดยการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลัง (แบบ 2b)

บทต่อมา ผู้เขียนพูดถึงเรื่องจิตวิทยาการเทรด และความเข้ากันได้ของรูปแบบการออกต่างๆ กับจิตวิทยาการเทรดของแต่ละบุคคล โดยยกตัวอย่างกรณีระบบของเขาเป็นต้นแบบในการศึกษาเริ่มโดยเผยจิตวิทยาความเชื่อของเขาก่อน

ความเชื่อ #1 : ไม่มีกฎตายตัว สำหรับทุกๆ สถานการณ์, เขาเชื่อว่าในแต่ละสถานการณ์ จะมีรูปแบบออกที่ดีแตกต่างกันไป : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือเราต้องอ่านกราฟแล้วเลือกรูปแบบการออกให้เหมาะ อย่าไปยึดอยู่กับวิธีออกหนึ่งๆ ทุกการเทรด (แต่อาจจะมีแบบหลักได้ แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นทุกครั้ง)

ความเชื่อ #2 : ไม่มีวันที่จะทำให้ “วิธีออก” สมบูรณ์แบบ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คืออย่าไปยึดติดว่า จะเอากำไรสูงสุด (Maximum Profit) โดยต้องรับภาระเสี่ยงต่อการเลี้ยวกลับ แต่ให้เล็งกำไรที่เหมาะสม (Optimum Profit) คือมีกำไร แต่ไม่เสี่ยงเกินไป

ความเชื่อ #3 : การเทรดเสีย จะสร้างความเสียหายที่แท้จริงที่จิตใจ ไม่ใช่ทางด้านการเงิน : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คืออย่าเล่นโดยไม่มีวินัย อย่าเล่นนอกแผน โดยเฉพาะอย่าเล่นแบบไม่มี Stop Loss

ความเชื่อ #4 : แผนที่ใช้ออก ต้องออกแบบให้เหมาะกับจริตของตัวเอง : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือต้องเข้าใจตัวเองว่า เป็นคนที่ชอบอะไร แล้วเลือกระหว่างได้มากเสียมาก กับ Play Safe, และให้ตระหนักไว้ว่า มีวิธีการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลังเทรน ซึ่งเหมาะกับคนที่ชอบ Play Safe

ความเชื่อ #5 : การป้องกัน สำคัญกว่า การบุก : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือต้องวางแผนการออกให้ดี แล้วฝึกให้หนัก ฝึกให้คล่อง เพราะคนส่วนมากสนใจแต่แผนเข้า ไม่สนใจแผนออกกันเท่าไหร่

ความเชื่อ #6 : รูปแบบการออกแต่ละแบบ ใช้ได้ดีกับตลาดที่แตกต่างกันไป : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือในตลาด sideway แกว่งตัว : การออกด้วยวิธีตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่าแบบ Trailing Stop, ในตลาดเป็นเทรนแบบราบเรียบ ไม่ค่อยแกว่ง : Trailing Stop จะทำกำไรได้ดีกว่าแบบตั้งเป้าล่วงหน้า, ในตลาดที่เป็นเทรนที่แกว่งตัวรุนแรง : การออกด้วยวิธีตั้งเป้าล่วงหน้า จะทำกำไรได้ดีกว่า Trailing Stop

ความเชื่อ #7 : การเลือกวาง Stop Loss จะต้องได้อย่างเสียอย่าง ระหว่างความถี่ในการชนะ กับอัตรากำไรเฉลี่ย ชนะ/แพ้ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือต้องเข้าใจว่า ได้อย่างเสียอย่าง ระหว่างชนะบ่อย กับอัตรากำไรเฉลี่ยดี, แล้วก็ให้เลือกสิ่งที่ตัวเองชอบไว้ใช้เป็นระบบออกหลัก , ถ้าชอบชนะบ่อยแต่ได้น้อย ให้เลือก Stop Loss กว้าง (ซึ่งการออกแบบนี้จะมาพร้อมๆ กับนานๆ เสียทีแต่เสียเยอะ), ทางตรงข้าม ถ้าชอบอัตรากำไรเฉลี่ยดี ก็ให้เลือก Stop แคบ เพราะเวลาชน Stop Loss ความเสียหายจะน้อย ซึ่งทำให้ตัวหารน้อย อัตรากำไรเฉลี่ยเลยดีขึ้น

ความเชื่อ #8 : ให้วาง Stop Loss ในตำแหน่งที่เป็นจุดตัดสินว่า การวิเคราะห์ตลาดของเราผิดทางแล้ว : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือให้วาง Stop Loss ตามแนวรับ แนวต้านต่างๆ, อย่าวางโดยใช้การคำนวณว่าจะ Stop Loss กี่ % ของทุนเพียงอย่างเดียว

ความเชื่อ #9 : เมื่อความได้เปรียบหมดไป ให้ออกจากตลาด : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือเราไม่จำเป็นต้องรอจน ราคาชน TP หรือ SL เท่านั้น, เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่า เริ่มผิดทาง ลังเล หรือไม่แน่ใจ, ให้ปิดออเดอร์ทันที ไม่ว่าจะบวกหรือลบอยู่ก็ตาม อย่าไปเสี่ยงอยู่กับสภาวะตลาดที่เราดูไม่ออก

บทสุดท้าย, บทที่ 3, ผู้แต่งยกตัวอย่าง ระบบการออกของเขาเป็นต้นแบบ (Study Model) ว่าทำไมเขาถึงเลือกวิธีนั้นๆ เป็นแผนการออกของเขา แล้วเราควรจะเลือกอย่างไร ควรเหมือนหรือแตกต่างจากเขา? โดยพิจารณาปัจจัยในการเลือก ดังนี้

1. เป้าหมายการเทรด : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือเขาเลือกใช้ Stop Loss แบบแคบ โดยเพิ่มความถี่ในการชนะให้มากขึ้นอีก ด้วยวิธีการที่เสริมเพิ่มขึ้นมา คือพยายามเข้าออเดอร์ก็ต่อเมื่อมั่นใจ เช่นอยู่ใกล้แนวรับ แนวต้าน ที่คาดเดาได้ว่า จะผ่านหรือไม่ผ่าน แล้วก็เข้าที่บริเวณนั้น แล้ววาง Stop Loss ไว้ที่แนวรับ แนวต้านใกล้ๆ อันนั้น จึงทำให้วาง Stop Loss ได้แคบ แต่โอกาสชนะเยอะ

2. ธรรมชาติของตลาด : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือความเข้าใจว่า ตลาด Forex ส่วนใหญ่เป็น sideway มากกว่าเทรน ดังนั้นการเล่นแบบ sideway jumper เป็นสิ่งที่ทำกำไรได้มากกว่า แต่ก็องมี Stop Loss ทุกครั้งเผื่อตลาดเป็นเทรนขึ้นมา

3. ความเหมาะกับจิตวิทยา : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือต้องเข้าใจตัวเอง แล้วก็เลือกระบบการออก โดย 3.1.ให้เหมาะกับสภาวะตลาด 3.2.ให้หมาะกับจิตวิทยาของตัวเอง           

จากนั้นหนังสือก็พูดถึงรายละเอียดลึกลงไปในวิธีการวาง Stop Loss

     1.การวาง Stop Loss ตอนเข้า จะต้องแคบ แต่ก็ต้องกว้างพอจะทนการแกว่งในระดับ noise ได้ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือให้วาง Stop Loss ไว้ที่แนวรับ แนวต้านอันถัดไป โดยให้เผื่อเพิ่มอีกเล็กน้อย

     2.ธรรมชาติของวิธีเข้าของผม คือถ้าเข้าถูกจริง ราคาจะวิ่งไปทางที่ผมต้องการอย่างเร็ว : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือถ้าเข้าไปแล้วราคายังไม่ยอมไปในทางที่เราต้องการ ก็ให้ cut loss ทิ้งเลย, และถ้าเป็นการเล่นสวนเทรน กำไรแล้วให้รีบๆ ออก

     3.การบริหารออเดอร์ระหว่างการถือ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือเราสามรถแบ่งออเดอร์ออกเป็นส่วนย่อยได้ ส่วนแรกให้ปิดเพื่อ Lock Pofit ก่อนส่วนหนึ่ง เมื่อมีกำไรแล้วก็สามารถนำไปเป็นทุนให้ส่วนที่เหลือ เอาไปลุ้นต่อได้ โดยจะเลือกใช้ Stop Loss กว้างขึ้นเพื่อกินเทรนใหญ่ หรือจะเลื่อน Stop Loss ไล่ตามหลังก็ได้ นั่นคือเพิ่มความยืดหยุ่นสูงขึ้นนั่นเอง              

     4.กำหนดการออกข่าวเศรษฐกิจ : สิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างรูปธรรม คือสำหรับคนที่เทรด Time Frame เล็ก ควรจะปิดหนีข่าว เพราะวงสวิงมันจะกว้าง จนกินกราฟใน Time Frame เล็กซะมิดนั่นเอง และผู้แต่งก็ยังเตือนว่า ระบบที่ใช้เป็นตัวอย่างเป็นระบบของเขา ออกแบบโดยเขา เพื่อเขาคนเดียว ฉะนั้นถ้าผู้อ่านจะนำไปใช้ก็ให้ปรับแต่งให้เหมาะกับจิตวิทยา และเงื่อนไขต่างๆ ตามแต่ละคน และทดสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้จริง              

ในส่วนสุดท้ายเป็นการยกคำแนะนำสำคัญๆ มาจากบรรดาอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งสรุปใจความหลักๆ ได้ คือทุกคนจะให้ความสำคัญกับ "การแพ้" มากๆ

1. การแพ้เป็นเรื่องธรรมชาติ, เมื่อแพ้ขึ้นมาก็อย่ายึดติด ให้จบไปแล้วเริ่มออเดอร์ใหม่

2. ให้คิดว่าตัวเองจะเป็นผู้แพ้ไว้ก่อน, เตรียมใจ และพร้อมจะคัทลอสไว้เสมอ

3. ตกรถดีกว่าขึ้นผิดคัน, ถ้ารู้สึกว่าท่าไม่ดีให้ปิดไปก่อน อย่าเสี่ยงถือในสภาวะที่ไม่แน่ใจ

ถึงตรงนี้ก็เป็นอันจบโปรเจคการแปลหนังสือเล่มนี้ "The importance of Exit Strategy" แล้วครับ, หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ

จบบทความแปล เรื่อง Exit Strategy

#เทรด #forex #สอนforex #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี