Part 11 เทคนิคการเข้าออเดอร์ - ทำให้เป็นเรื่องง่าย
ทางเลือกแรกที่ผมจะให้ก็คือการทำให้เทคนิคการเข้าออเดอร์เป็นเรื่องง่าย แต่นี่ไม่ใช่วิธีที่ผมชอบ ผมแนะนำให้เข้าไปดูพฤติกรรมราคาในไทม์เฟรมที่เล็กกว่าเพื่อให้ได้ราคาที่ดีกว่า เราจะพูดถึงเรื่องนี้ทีหลัง
เทรดเดอร์มากมายที่พยายามเทรดให้ได้กำไรสม่ำเสมอ จะพบว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการตัดสินใจเข้าออเดอร์ ในระหว่างตัดสินใจ พวกเขาจะคิดถึงผลในด้านลบไว้ก่อน ทำให้เกิดความลังเล การทำให้เทคนิคการเข้าเป็นเรื่องง่าย จะช่วยให้พวกเขาได้เทรดเสียที
การทำให้เทคนิคการเข้าเป็นเรื่องง่ายจะใช้หลักการวาง stop entry เมื่อเราเห็นบริเวณที่เป็นราคาส่งสุดท้าย LWP
stop entry นี้จะปรับราคาได้ หากยังไม่เปิด และเราจะปรับเมื่อมีราคาส่งที่ดีกว่า หรืออาจจะยกเลิกได้ เมื่อคาดการณ์ผิด
นี่คือการทำให้เทคนิคการเข้าเป็นเรื่องง่าย เข้าด้วย stop entry แล้วก็รอ
เงื่อนไขที่สำคัญ : เราจะใช้การเข้านี้ เมื่อมีอัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทน ที่ 1:1 หรือสูงกว่า ถ้าไม่เป็นแบบนั้น ก็ให้รอจนกว่าจะได้เงื่อนไขที่ดีกว่าในครั้งถัดไป
เทคนิคการเข้าง่ายๆ นี้บางครั้งก็อาจจะได้ราคาที่แย่กว่าการเข้าทันที และอาจจะลดผลตอบแทนต่อความเสี่ยงอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากราคาส่งสุดท้าย LWP คือจุดที่เราแนะนำให้เทรด การเข้าก่อนหน้านั้นจะได้ราคาที่ดีกว่า ส่งผลต่อกำไร แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าอีกด้วย
คุณควรกลับไปดูแผนภูมิที่ 4.54 และ 4.55 ที่ยกตัวอย่างเรื่องราคาส่งสุดท้าย LWP อีกครั้ง ในการทำให้เทคนิคการเข้าเป็นเรื่องง่าย เราจะวาง stop entry ที่ราคาส่งนั้น แล้วรอให้ราคาไปถึงเพื่อเปิดออเดอร์ให้เรา จากนั้นจึงเริ่มบริหารการเทรด เป็นวิธีที่ง่าย และดี!
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผมแนะนำให้ใช้เวลากับการหา และปรับปรุงจุดเข้า
เมื่อคุณรู้สึกคุ้นเคยกับการทำแบบนั้นแล้ว ผมแนะนำให้คุณไปใช้ไทม์เฟรมที่เล็กลงเพื่อให้ได้จุดเข้าที่ดีขึ้น เริ่มใช้กระบวนการแบบนี้ - ลองฝึกหาจุดเข้าครั้งแรกด้วยราคาขายส่งสุดท้ายก่อน จากนั้นลองเข้าไปหาอีกทีในไทม์เฟรมที่เล็กกว่าให้ได้จุดที่ดีขึ้น ลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าคุณจะคุ้นเคยกับกระบวนการแบบนี้
ตัวอย่างการเทรดในหนังสือเล่มนี้ เราจะใช้การเข้าแบบแอคทีฟ ไม่ได้ใช้เทคนิคการเข้าแบบง่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษา ถ้าคุณเลือกใช้วิธีเข้าแบบง่าย จุดเข้าของคุณก็คือราคาส่งสุดท้าย LWP นั่นเอง
เทคนิคการเข้าออเดอร์ - ใช้กระบวนการเข้าแบบแอคทีฟ
สำหรับคนที่อยากจะเข้าแบบแอคทีฟ โดยไปใช้ไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) เพื่อที่จะให้ได้ราคาที่ดีกว่าราคาส่งสุดท้าย LWP บทนี้จะพูดถึงวิธีที่ผมใช้
การตัดสินใจเข้า
คุณคงจะจำข้อความเหล่านี้ได้
ความจริงก็คือ... เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวิธีไหนจะดีกว่ากัน จนกว่าผลลัพธ์จะปรากฏออกมาแล้ว
ดังนั้น สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ให้แน่ใจว่าบริเวณที่เราจะเข้านั้นเราพอใจแล้ว และพยายามให้
ได้ราคาดีที่สุดแล้ว จากนั้นเราจึงจะเข้าเทรด!
ในโลกแห่งอุดมคติ การเข้าในบริเวณที่เราได้กล่าวมานั้น น่าจะส่งผลในทางที่ดี แต่ความเป็นจริง เราไม่เคยเข้าในจุดดังกล่าวได้เลย ทางที่ดีที่สุดก็คือ ค่อยๆ ปรับปรุงการเข้าไปเรื่อยๆ ตามประสบการณ์ของเรา
ในช่วงของการเรียนรู้ หลายๆ คนต้องการทราบถึงสัญญาณที่จะบอกว่าควรเข้าออเดอร์แล้ว สัญญาณที่ทำให้เราสบายใจที่จะกดปุ่มซื้อ หรือขาย โดยหลักๆ แล้วผมจะดูอยู่หนึ่ง หรือสองสัญญาณประกอบการตัดสินใจ
แผนภูมิที่ 4.60 - การตัดสินใจเข้าออเดอร์จากการที่ราคาย่ำอยู่กับที่ หรือเห็นรูปแบบการเข้าออเดอร์
สัญญาณอย่างแรกคือ ราคาย่ำอยู่กับที่ อย่างที่สองคือเกิดรูปแบบของพฤติกรรมราคา ราคาย่ำอยู่กับที่จะเกิดยากกว่าและค่อนข้างซับซ้อน เราจะมาดูตัวอย่างสัญญาณแบบแรกก่อน แล้วค่อยต่อด้วยเรื่องรูปแบบพฤติกรรมราคาที่ง่ายกว่าทีหลัง
ราคาย่ำอยู่กับที่
การที่ราคาย่ำอยู่กับที่ แสดงให้เห็นว่าราคาไม่สามารถจะไปต่อในทิศทางเดิมจนทะลุแนวรับ หรือแนวต้านนั้นได้ (แนวรับ/แนวต้าน หรือสวิงไฮ/สวิงโลว์ในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า หรือกรอบราคาไซด์เวย์)
เป็นเรื่องยากที่จะบอกจำนวนแท่งเทียนที่ย่ำอยู่กับที่ - แต่ละครั้งที่เกิดจะมีรูปแบบเฉพาะตัว คุณจะสังเกตเห็นได้ - แต่เรามักจะรอดูอย่างน้อย 3 แท่งเทียนในไทม์เฟรมที่เทรด
การที่ราคามาหยุดอยู่นี้ จะช่วยให้คุณมั่นใจที่จะวาง limit order ใกล้กับแนวรับหรือแนวต้าน การที่ราคาย่ำอยู่กับที่จะช่วยให้คุณมีโอกาสเข้าเมื่อทดสอบไม่ผ่านหลายครั้ง นั่นหมายถึงราคาส่งยิ่งถูกลงไปอีก ถ้าคุณเข้าผิดทาง(หรือรีบเข้าไปหน่อย) ความเสี่ยงก็ยังจำกัด แต่ถ้าคุณเข้าถูกทาง ผลตอบแทนของความอดทนนี้มากมายนัก เมื่อมั่นใจแล้วว่ากับดักพฤติกรรมราคานี้ใช่ ก็เป็นการดีที่จะเข้าออเดอร์ตรงนี้
แผนภูมิที่ 4.61 - การทดสอบไม่ผ่านที่สวิงโลว์ - การเข้าออเดอร์เมื่อราคาย่ำอยู่กับที่
แผนภูมิที่ 4.61 ด้านบน แสดงให้เห็นการทดสอบไม่ผ่านที่สวิงโลว์เดิม (TST) ในการสวิงวงกว้างของแนวโน้มขาขึ้น คุณอาจจะเรียกว่า การพักตัวที่ยาวนานก็ได้ (CPB) ในกรณีนี้ผมเรียกว่า TST เพราะราคาเคลื่อนที่ขึ้นไปจากบริเวณนี้ค่อนข้างแรงซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนเทรนด์ก็ได้ ดังนั้นบริเวณที่ราคาเคยผ่านไปตรงนี้ ถือเป็นแนวรับที่แข็งแรง ซึ่งราคามักจะกลับมาทดสอบเสมอ
ราคาย้อนกลับมาทดสอบใน 45 นาทีถัดมา สะสมแรงของตลาดกระทิงที่บริเวณสวิงโลว์ และเริ่มย่ำอยู่กับที่
เมื่อดูในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) ทางด้านขวา การที่ราคาย่ำอยู่กับที่แล้วเกิดแท่งเขียวตันแท่งใหญ่ ทำให้เรามั่นใจที่จะวาง BUY LIMIT ใกล้กับจุดต่ำสุดของบริเวณที่ราคาย่ำอยู่กับที่ (E1) ซึ่งมีโอกาสได้กำไรสูงกว่าบริเวณที่เป็นราคาส่งสุดท้ายด้วย
อย่างไรก็ตาม ในกรณีแบบนี้ก็ยังมีความเสี่ยง ถ้าราคาทะลุแนวรับไปได้เราก็จะต้องยอมคัตทิ้ง ไม่เหมือนกับการวาง BUY STOP ที่ราคาส่งสุดท้าย ซึ่งราคาอาจไปไม่ถึง ทำให้ไม่เปิดออเดอร์
ความเสี่ยงอีกอย่างคือ ราคาไม่ชน BUY LIMIT ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ต่อไปว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่พลาดโอกาส
เรามีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในแผนภูมิที่ 4.62 ด้านล่าง ซึ่งแสดงการพักตัวที่ยาวนาน CPB ในแนวโน้มขาลง
ดูที่ไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) ทางด้านซ้าย เราเห็นชัดเจนว่าจะวางสต๊อปลอส S1 ที่ราคา 1.5619
แต่ T1 อาจทำให้หลายๆ คน งง โดยทั่วไปแล้ว ตามนิยามของแนวโน้มขาลง เราจะคาดหวังให้ราคาทะลุสวิงโลว์เดิม และหากจะให้วางเป้าหมาย เราก็มักจะวางถัดออกไปจากสวิงโลว์ แต่จากตัวอย่างนี้ ผมไม่ค่อยมั่นใจว่าราคาจะทะลุสวิงโลว์เดิมไปได้ ผมจึงวางเป้า T1 ไว้แค่สวิงโลว์ที่ 1.5603
ราคาส่งสุดท้าย LWP ก็อยู่บริเวณที่ถัดจากบริเวณที่ราคาย่ำอยู่กับที่ ซึ่งได้ราคาที่ 1.5605 แล้ว ซึ่งเมื่อคำนึงถึงความเสี่ยง 14 ปิ๊บ ต่อผลตอบแทน 2 ปิ๊บ ก็ไม่น่าเสี่ยงแล้ว จุดที่ยังคงคุ้มค่าที่จะเสี่ยง LRP จะอยู่ตรงกลางระหว่าง 1.5603 และ 1.5619 หรือ 1.5611
ผมคงไม่เทรดตรงนี้ ถ้าไม่ได้ราคาที่สูงกว่า จุดที่ยังคงคุ้มค่าที่จะเสี่ยง LRP ที่ราคา 1.5611
แผนภูมที่ 4.62 - การพักตัวที่ยาวนาน CPB - จุดเข้าที่ราคาย่ำอยู่กับที่
เมื่อดูในไทม์เฟรมที่ต่ำกว่า (ราย 1 นาที) ทางด้านขวา ผมพอใจที่การที่ราคาย่ำอยู่กับที่ ทำให้เกิดโอกาสที่สองที่ราคาพยายามฝ่าแนวต้าน (แท่งที่ 4 ของไทม์เฟรมที่เทรด ราย 3 นาที) ผมวาง limit order ที่ E1 ที่ราคา 1.5611 ก่อนที่ 2 นาทีถัดมา ราคาจะมาถึงจุดที่ราคาส่งเหมาะสมกับความเสี่ยง R:R ตามที่เราต้องการ
ราคายังไปต่อถึง T2 ซึ่งให้กำไรมากขึ้นในช่วงที่ 2
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 12 การเข้าด้วยรูปแบบแท่งเทียน
ตอนนี้เรามาดูกันถึงการเข้าด้วยรูปแบบแท่งเทียนกัน ตัวอย่างทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบพฤติกรรมราคาจากกราฟราย 1 นาที ซึ่ง :
1) มีการยืนยันทิศทางในระยะสั้น และ
2) บ่งบอกถึงบริเวณที่ราคาไม่ควรจะไปถึง และเราจะใช้เป็นจุดสต๊อปลอส
ตัวอย่างประกอบไปด้วย :
1) รูปแบบแท่งเทียนแสดงการกลับตัวแบบมาตรฐาน
2) รูปแบบราคาแสดงการกลับตัวแบบมาตรฐาน
3) รูปแบบกับดักที่ยืนยันว่ามีคนติดกับดัก
a) spike & ledge
b) double top or bottom
c) spring or upthrust
d) 3-swing retrace
e) 123 top or bottom
f) test of breakout point
g) expansion bar
แผนภูมิที่ 4.66 - การเข้าในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า
ผมแนะนำให้ใช้ LIMIT order คือ sell ที่ราคา ask และ buy ที่ราคา bid ซึ่งจะทำให้ผมสามารถปรับราคาได้หากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ให้ระวังการไล่ตามราคาหลังจากผ่านจุดขายส่งสุดท้าย LWP หรือจุดสุดท้ายที่มีความคุ้มค่าต่อความเสี่ยง LRP
คุณอาจจะต้องการใช้ STOP order เพื่อไม่ให้พลาดก็ได้ ผมไม่แนะนำ MARKET order หรือราคาตลาดเพราะเสี่ยงต่อการคลาดเคลื่อนของราคา (slippage)
จากตารางด้านบน แสดงตัวอย่างการตัดสินใจเข้าออเดอร์ ทางด้านซ้ายจะเป็นพฤติกรรมราคา และกับดักจากไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) และทางด้านขวาจะเป็นการตัดสินใจเข้า
ในแผนภูมิที่ 4.67 ด้านล่างค่อนข้างจะเป็นกับดักที่มีความเสี่ยง โดยเราเข้าที่การเบรคเอ้าท์สวิงโลว์เดิมไม่สำเร็จแทนที่จะใช้แนวรับ/แนวต้านของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (ราย 30 นาที)
ถึงแม้จะมีโอกาสน้อย แต่ผมก็ชอบกับดักแบบนี้ เพราะแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแรงของเทรนด์อย่างชัดเจน หรือไม่ก็ดูจากการที่ความอ่อนแรงนี้ไปทดสอบจุดต่ำสุด (หรือจุดสูงสุด)
แผนภูมิที่ 4.67 - การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ - เข้าเมื่อราคาดีดกลับ
ในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) พฤติกรรมราคาทางด้านขวาแสดงบริเวณแนวรับที่เป็นจุดต่ำสุดในระยะสั้นนี้ ซึ่งราคาที่พยายามผ่านไปดีดตัวกลับอย่างรวดเร็ว เราจะเข้าเมื่อราคาเบรคขึ้นไปจากแนวสปริงนี้ที่ E1
นี่คือตัวอย่างที่เข้าออเดอร์ในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) ซึ่งจะได้กำไรมากกว่าราคาส่งสุดท้าย LWP อยู่ 6 ปิ๊บ
แผนภูมิที่ 4.68 - การทดสอบไม่ผ่าน - เข้าเมื่อราคาทำรูปแบบ Double Bottom
ในแผนภูมิที่ 4.68 ด้านบน จะแสดงให้เห็นถึงการทดสอบไม่ผ่านที่แนวรับจากไทม์เฟรมที่สูงกว่า (ราย 30 นาที) จุดเข้าที่ E1อยู่ในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) ในแผนภูมิทางด้านขวา จะทำงานเมื่อราคาปิดยืนยันว่าเกิดรูปแบบราคา double bottomในกรณีแบบนี้ คุณไม่สามารถเข้าเมื่อราคาทะลุสวิงไฮที่เกิดขึ้นระหว่างจุดต่ำสุดทั้งสองได้ (จุดเข้าโดยทั่วไปจากรูปแบบ double bottom) แต่จะเข้าเมื่อเกิดรูปแบบแล้วและราคาเลยราคาส่งสุดท้าย LWP ซึ่งดีในกรณีนี้ แต่อาจจะไม่ดีถ้าอัตราความคุ้มค่าต่อการเสี่ยงไม่เหมาะสม
แผนภูมิที่ 4.69 - การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ - เข้าเมื่อราคาทำรูปแบบแท่งเทียนหรือ 123
จากแผนภูมิที่ 4.69 ด้านบน เราเห็นการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ ทำให้เกิดรูปแบบราคา 2 แบบ แบบแรกที่ E1 เป็นการเบรคราคาต่ำสุดของแท่ง B โดยแท่ง A เป็น shooting star และแท่ง B เป็น spinning top ส่วนแบบที่สอง ที่ E2 (ในกรณีที่คุณไม่ชอบจุดแรก) เป็นรูปแบบ 123 ขนาดเล็ก (lower high ราคาสูงสุดต่ำกว่าเดิม) เกิดจากการที่ราคาไปทำจุดสูงสุดที่ A แล้วย้อนลงมาทำราคาต่ำที่ C จากนั้นไปทำราคาสูงสุดที่ D ก่อนที่จะกลับลงมาทะลุ ราคาต่ำของแท่ง C และเกิดการลงอย่างต่อเนื่อง
จุดเข้า E2 จะสอดคล้องกับราคาส่งสุดท้ายของไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที)ทางด้านซ้าย ถึงแม้ในกรณีนี้อาจจะไม่ได้เปรียบกว่า E1 มากนัก เพราะอยู่ที่ราคาส่งสุดท้ายพอดี แต่ก็ทำให้มั่นใจได้จากการเข้าไปดูการเปลี่ยนแปลงของราคาในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที)
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 13 การทำให้แน่ใจว่าเราไม่พลาดโอกาส
เราจำเป็นต้องทำสองสิ่งนี้เท่านั้น :
1) พยายามหาราคาที่ดีที่สุดให้ได้
2) ทำให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดโอกาส หากราคาผ่านบริเวณจุดเข้าไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อราคามาถึงบริเวณที่เป็นราคาส่งสุดท้าย LWP ซึ่งคือบริเวณจุดเข้าของเรา การทำให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดโอกาสเข้า ก็คือการล้อมราคาไว้
การล้อมราคาแสดงดังตัวอย่างนี้ :
แผนภูมิที่ 4.70 - ตัวอย่างการเข้าด้วยการล้อมราคา - ราคาทดสอบแนวต้าน
ในตัวอย่างด้านบน คุณสามารถวาง limit order และ stop order ได้ง่ายๆ โดย stop order อยู่บริเวณราคาส่งสุดท้าย LWP เพื่อให้แน่ใจว่า ถ้าราคาร่วงลงอย่างรวดเร็วก็จะไม่พลาด จากนั้นคุณก็วาง limit order ให้ได้ราคาที่ดีกว่าแถวๆ แนวต้าน
จำไว้ว่า ต้องคอยยกเลิกออเดอร์เมื่อออเดอร์ทำงานแล้ว ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนกับการเสี่ยงขึ้น 2 เท่า
ถ้าราคาส่งสุดท้ายอยู่เลยบริเวณจุดเข้า เราจะไม่วาง stop order ถ้าทำแบบนั้นอัตราเสี่ยงต่อผลตอบแทนจะไม่คุ้มค่า และเราจะไม่วางในจุดสุดท้ายที่จะมีความคุ้มค่าเสี่ยง (ครึ่งทางจากเป้าหมาย) ถ้าทำแบบนั้นก็เหมือนไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรเลย ในกรณีนี้ เราจะไม่ล้อมราคา แต่จะแค่วาง limit order ง่ายๆ เท่านั้น และก็ต้องยอมรับ หากราคาไปไม่ถึงออเดอร์นี้
พลาดโอกาสเข้า
ถ้าคุณพลาดโอกาสเข้า อย่าไปไล่ตามราคา เพราะจะไม่ได้ราคาส่งสุดท้าย และไม่คุ้มค่าเสี่ยง
การเข้า ควรเข้าที่บริเวณกับดัก เท่านั้น เป็นบริเวณที่พิสูจน์แล้วว่ามีอุปสงค์ และอุปทานไม่สมดุลกัน ถ้าเราไม่เข้าบริเวณนั้น ก็หมายถึงกำไรที่น้อยลง และความเสี่ยงที่มากขึ้น จดบันทึกไว้ว่าทำไมคุณถึงพลาดโอกาสนี้ เพื่อกลับมาทบทวนและลองทดสอบย้อนหลัง เพื่อหาข้อบกพร่องเรียนรู้ และปรับปรุงการเข้าครั้งต่อไป จากนั้นก็รอโอกาสต่อไป ซึ่งมันไม่นานหรอก
เทคนิคการเข้าแบบอื่น
สไตล์การเทรดของผมจะใช้แบบแบ่งเข้า ผมแนะนำให้แต่ละออเดอร์แยกส่วนกันชัดเจน เข้าออเดอร์ครั้งเดียว และแต่ละออเดอร์มีเป้าหมายที่ต่างกัน เราจะพูดถึงวิธีแบ่งส่วนออเดอร์นี้ภายหลังในเรื่อง การจัดการการเทรด แต่คุณก็อาจจะลองโดยแบ่งเป็นเข้าด้วย limit order และ stop order ที่บริเวณราคาส่งสุดท้าย LWP ก่อนก็ได้
การทดสอบในบัญชีทดลองก่อนจะช่วยให้คุณเลือกวิธีเทรดที่เหมาะกับจริตของคุณได้
Entry Examples - ตัวอย่างการเข้าออเดอร์
ในบทก่อนหน้านี้ มีตัวอย่างมากมาย ลองมาดูอีกสักสองตัวอย่างว่าเราเข้าใจ
แผนภูมิที่ 4.71 ด้านล่าง แสดงการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) แนวรับกลายเป็นแนวต้าน ในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) มีโอกาสดีถึงสองครั้ง ซึ่งทั้งสองครั้งใช้รูปแบบแท่งเทียนในการเข้า จุดเข้า E1 อยู่ใต้แท่งกลืนกิน (bearish engulfing pattern)หรือจุดเข้า E2 ใต้แท่งดาวตก (shooting star)
แผนภูมิที่ 4.71 - การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ (BPB) - เข้าด้วยรูปแบบแท่งเทียน
แผนภูมิที่ 4.72 ด้านล่าง แสดงให้เห็นการพักตัวที่ซับซ้อน CPB ในแนวโน้มขาขึ้น ในไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) กราฟทำรูปแบบสปริงชัดเจน ราคาส่งสุดท้าย LWP คือจุดที่มีการเบรคเอ้าท์จากแท่งสปริง ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราจะทราบเมื่อจบแท่งไปแล้ว การตัดสินใจเข้าก็จะตามมาทันที!
เมื่อลงไปดูในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) เราจะเห็นช่องว่างของแท่งที่เป็นแนวรับในระยะสั้นนี้ (ตั้งแต่แท่งที่สวิงโลว์แล้วเริ่มพักตัว) จุดเข้า E1 จะอยู่บริเวณที่เบรคเอ้าท์จากแท่งดังกล่าว ซึ่งจะตัดสินใจเข้าได้จากทั้งรูปแบบสปริง หรือรูปแบบแท่งเทียน (dragonfly doji และ morning star)
แผนภูมิที่ 4.72 - การพักตัวที่ซับซ้อน CPB - เข้าด้วยสปริงและรูปแบบแท่งเทียน
สรุปการเข้า - Entry Summary
เราจะกำหนดบริเวณเข้าได้ในไทม์เฟรมที่เทรด ไทม์เฟรมที่เล็กกว่าใช้ในการเข้า
เรารู้ว่าราคาเข้ามาบริเวณที่ถูกจัดฉากในไทม์เฟรมที่เทรด แต่เรายังไม่เข้าทันที เราจะคอยดูว่าราคามีพฤติกรรมอย่างไร เราจะมองหาความอ่อนแอของแนวโน้ม และเหล่าแมงเม่าที่ติดกับดัก เราจะเข้าก่อน หรือเมื่อคนที่ติดกับดักเริ่มรู้ตัวว่าเข้าผิดทาง
เรารู้ว่าเราไม่สามารถหาจุดเข้าที่ดีที่สุดได้ แต่เราจะใช้วิธีง่ายๆ คือมองหาจุดเข้าที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดในบริเวณจุดเข้า เราจะวาง limit order เพื่อให้ราคาไปเกี่ยวเมื่อราคาเริ่มย่ำอยู่กับที่ หรือเกิดรูปแบบแท่งเทียน และเราจะวาง stop order ใกล้กับบริเวณที่เป็นราคาส่งสุดท้ายเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดโอกาส
นี่จะเป็นการเตือนครั้งสุดท้าย... การใช้ limit order มาพร้อมกับความเสี่ยง พฤติกรรมราคาอาจจะแสดงการจัดฉากออกมาสวยงาม เห็นบริเวณจุดสต๊อปลอส และบริเวณจุดเข้าชัดเจน ทำให้คุณเข้าไปดูในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า และพบกับจุดขายส่งสุดท้ายที่ราคาดีเยี่ยม แต่ตลาดอาจเล่นตลกด้วยการไปเกี่ยวสต๊อปลอสของคุณ ก่อนที่จะกลับตัวไปยังราคาส่งสุดท้าย
โปรดจำไว้ว่า ราคาส่งสุดท้าย LWP จะเป็นบริเวณในไทม์เฟรมที่คุณเทรด เป็นจุดที่คนที่ไปผิดทางเริ่มออกจากตลาด
จุดนั้นจะเป็นจุดที่ออเดอร์ของเราจะได้แรงส่งจากตลาดไปสู่กำไร
ข้อควรระวังคือถ้าเข้าเร็วเกินไปแล้วกลุ่มที่ติดกับดักยังไม่ปิดออเดอร์ก็ยังไม่มีแรงส่ง อย่างไรก็ตามก็ยังมีโอกาสจากสวิงไฮ/สวิงโลว์ และแนวรับ/แนวต้านเป็นแผนสำรอง เมื่อมีการย่ำอยู่กับที่ของราคา หรือเกิดรูปแบบแท่งเทียนในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า ก็มีโอกาสที่จะได้อัตราผลตอบแทนที่ดีอยู่
บทต่อไปเราจะมาพูดถึง การจัดการการเทรด ซึ่งจะใช้แนวคิดการเทรดของเรา นี่จะมีประโยชน์เมื่อเราเข้าเร็วเกินไป แล้วเกิดความผิดพลาดเมื่อราคาไปไม่ถึงราคาส่งสุดท้าย
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 14 การจัดการการเทรด (Trade Management)
"เมื่อคุณได้ตัดสินใจไปแล้ว
จงอย่าหันกลับไปมองมันอีก"
...จอมพล (นายอำเภอ) อเลนบี
เมื่อคุณตัดสินใจเทรดไปแล้ว จงอย่ากลับไปครุ่นคิดถึงมันอีก ถึงเวลาของการจัดการการเทรดแล้ว
เปรียบเทียบระหว่างการจัดการการเทรด กับไม่ต้องทำอะไร - Active vs. Passive Trade Management
ผมขอเริ่มบทนี้ด้วยคำถามจากอีเมล์ (ที่โพสต์บนหน้าเว็บของผม) ซึ่งอธิบายเหตุผลที่ผมแนะนำให้มีการจัดการการเทรด ให้กับคนที่ไม่ทำอะไรเลย (เข้าออเดอร์แล้วรอให้ชนเป้าหรือสต๊อปลอส)
ข้อความตัดทอนมาจากอีเมล์:
มีคำถามเกี่ยวกับการจัดการเป้าหมายกำไร และสต๊อปลอส ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ขอแสดงความเห็นที่แตกต่าง การที่เรากำหนดความเสี่ยง/ผลตอบแทน ที่จะได้รับแล้ว การปรับผลตอบแทนให้น้อยลงกว่าที่น่าจะเป็น และในระยะยาวอาจจะเป็นการช่วยหรืออาจจะเสียหาย จากการโลเลเปลี่ยนใจเมื่อเวลาผ่านไปหรือเปล่า?
อีกอย่างคือ ถึงแม้จะไม่ปรับสต๊อปลอสบางครั้งอาจจะขาดทุนบ้าง แต่ก็ไม่ล้างพอร์ต ถ้าจำกัดความเสี่ยงไว้ไม่ใช่หรือ? เมื่อเริ่มเทรดแล้วก็มาเปลี่ยนสต๊อปลอสทันที อัตราเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นทันที ถ้าอย่างนั้นก็ควรปรับเป้าหมายให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น เป้า 9 จุด และสต๊อปลอส 5 จุด เมื่อผมเข้าเทรด ก็หมายถึงต้องยอมรับความเสี่ยง 5 จุดแล้ว ถึงจะปรับสต๊อปลอสให้น้อยลง ก็อยู่ในความเสี่ยงที่รับได้อยู่ดี ดังนั้นถ้าอัตราส่วนมันเหมาะกับการเทรดระยะยาวแล้ว ทำไมเราถึงไม่ปล่อยให้ออเดอร์ที่เราเทรดไปแล้วทำหน้าที่ของมันไปล่ะ?
ข้อความที่ตัดทอนมาจากคำตอบ:
เราควรจะใช้วิธีจัดการการเทรด หรือไม่ต้องทำอะไรเลย? คำถามนี้จะบอกว่าเราเป็นคนแบบไหน และเราเข้าใจตลาดแบบไหน
คุณเป็นคนที่เทรดตามระบบ หรือเทรดด้วยการตัดสินใจ?
คนที่เทรดตามระบบจะทำการทดสอบย้อนหลังและค้นหารูปแบบ ซึ่งทำให้ได้ฝึกฝนจนเกิดความแม่นยำจากข้อมูลตัวอย่างมากมาย จึงไม่ควรใช้การตัดสินใจเข้ามาแทรก การตัดสินใจต่างๆ จะเกิดจากข้อเท็จจริงของข้อมูลในอดีต ดังนั้นการจัดการการเทรดก็ควรใช้วิธีแบบเดียวกับที่ทดสอบนั้น ซึ่งอาจจะเป็นการถือออเดอร์ไว้จนกระทั่งชนเป้าหมาย หรือสต๊อปลอส หรือมีการขยับสต๊อปลอสตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ถ้ามันเวิร์คสำหรับคุณก็เยี่ยมไปเลย! จงใช้วิธีนี้ต่อไป แต่วิธีนี้ไม่เวิร์คสำหรับผม
คนที่เทรดตามระบบจะมองเกมนี้มีผลลัพท์ที่เป็นไปได้เพียงทางเดียว แต่ผลลัพท์ที่เป็นไปได้ของผมมันแตกต่างออกไป และความแตกต่างนี้หมายถึง (ในทางจิตวิทยา) ผมเทรดด้วยการตัดสินใจ และการเทรดแบบนี้ ไม่ได้เป็นขั้นตอนตามระบบ
การทดสอบระบบทำได้โดยใช้ข้อมูลมากมาย และเป็นการทำให้มั่นใจได้ว่าระบบจะเชื่อถือได้จากการทดสอบย้อนหลังและทดสอบไปข้างหน้า เพื่อให้สามารถทดสอบได้ทุกสภาวะตลาด การทดสอบนี้ก็ต้องใช้ข้อมูลมากมายเช่นกัน และจากการทดสอบเหล่านี้ คุณจะพบว่ามีเงื่อนไขบางอย่าง หรือช่วงเวลาที่ระบบนี้ใช้ไม่ได้ คนที่เทรดตามระบบจะเผชิญการดรอว์ดาวน์ในช่วงที่สภาวะตลาดไม่เหมาะสมกับระบบ บางระบบก็อาจจะดรอว์ดาวน์ค่อนข้างนาน อาจจะทั้งสัปดาห์ อาจจะทั้งเดือน หรือนานกว่านั้น และนั่นก็เป็นเรื่องปกติที่มีผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป
ผมมีปัญหากับเรื่องเหล่านี้
อย่างแรก, ผมไม่ได้เทรดโดยอาศัยข้อมูลมากมาย เนื่องจากผมเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดสั้นโดยวิธีตัดสินใจ ผมตั้งเป้าวันต่อวัน ผมไม่ชอบการดรอว์ดาวน์ทั้งสัปดาห์ หรือทั้งเดือน ในแต่ละวันผมเทรดด้วยข้อมูลเพียงน้อยนิด ซึ่งประสิทธิภาพของการเทรดจะวัดได้เมื่อตลาดได้เฉลยออกมาแล้ว เป้าหมายของผมคือจัดการโอกาสในแต่ละวันให้ดีที่สุดทีละครั้ง ถ้าตลอดทั้งปีผลลัพท์มันออกมาว่าผมยังใช้สต๊อปลอส และเป้าหมายเดิมตลอดทุกการเทรด นั่นคงเป็นสถิติที่แย่สำหรับผม และคงไม่ช่วยอะไรสำหรับวันนี้ ผมจึงเลือกที่จะจัดการการเทรดให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด จากข้อมูลอันน้อยนิดนี้ ผมขอเลี่ยงการตั้งเป้าในระยะยาวเพราะต้องใช้ความอดทนสูง รวมทั้งมีสายป่านยาว
อย่างที่สอง, ซึ่งค่อนข้างสำคัญ ผมไม่ค่อยเชื่อว่าจะสามารถนำคณิตศาสตร์มาคำนวณตลาดได้ ผมไม่เถียงว่ามันสามารถประมาณการทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ผมไม่ค่อยสบายใจที่จะเอาเงินไปลงทุนกับการประมาณการ ในขณะที่คนที่เทรดตามระบบเชื่อเรื่องโอกาสที่เป็นไปได้ของตลาด ผมเชื่อเรื่อง ‘ความไม่แน่นอน’ และ ‘อารมณ์’ ของตลาดมากกว่า ทั้งสองความเชื่อมันต่างกัน! ถึงแม้จะเป็นเรื่องความเป็นไปได้เหมือนกันก็ตาม
ระบบที่เทรดทื่อๆ หรือตามรูปแบบ แล้วถือจนกระทั่งไปชนเป้าหมาย หรือสต๊อปลอส ก็เหมือนกับเชื่อว่าตลาดจะเหมือนกับในอดีต การจัดการการเทรดก็เหมือนกับ ‘ความหวัง’ โดยอาศัยความรู้ในเรื่องการจัดฉาก และรูปแบบพฤติกรรมราคา
การเคลื่อนที่ของตลาดเกิดจากการไม่สมดุลของราคา เมื่อตลาดไม่สมดุลก็ส่งผลให้เทรดเดอร์ตัดสินใจและดำเนินการบางอย่าง ในขณะที่ทิศทางของตลาดในอนาคตก็มีผลมาจากกับดักและรูปแบบพฤติกรรมราคา ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องรูปแบบเฉพาะของพฤติกรรมราคาที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือจิตวิทยาของตลาดขณะนั้น ทั้งสองอย่างเป็นปัจจัยที่จะบ่งบอกว่าตลาดจะเคลื่อนไปในทิศทางใด
ดังนั้น ‘ความหวัง’ จึงไม่เวิร์คสำหรับผม เพราะมันเหมือนกับการควบคุมอาการบ้าในชีวิตจริง ผมเชื่อว่าจากธรรมชาติของตลาดเราจำเป็นต้องจัดการการเทรด
การเข้าออเดอร์ของผมไม่ได้มาจากเชื่อถือในพลังของกับดัก แต่จะให้ความสำคัญกับอุปสงค์/อุปทาน การก่อตัวของรูปแบบราคา การคาดการณ์ถึงการตัดสินใจของเทรดเดอร์คนอื่นๆ ในอนาคต และการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของสภาวะแวดล้อมนั้นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมเกิดแนวคิดการเทรด จากนั้นจึงจะเริ่มเทรด
นี่เป็นสิ่งที่แตกต่าง – เบื้องหลังการเทรดของผมไม่ใช่เข้าเมื่อเกิดรูปแบบราคา แต่เกิดจากการตัดสินใจเข้าเมื่ออ่านตลาดและ ‘สัมผัส’ ถึงการเคลื่อนไหวของราคา หมายถึง วิธีการของผมไม่ใช่แค่ถือออเดอร์รอให้ราคาไปชนเป้า หรือสต๊อปลอส แต่จะทำแบบนั้นเมื่อเห็นว่าการตัดสินใจครั้งแรกนั้นถูกทางแล้ว
แต่ถ้าเข้าเทรด แล้วดูเหมือนไม่เป็นไปตามที่คิด วิธีการก็จะเปลี่ยนไป (เป้าหมายเดิมจะเปลี่ยนไป หรือลดเป้าหมายลง) ดังนั้นจึงเป็นเวลาที่ผมจะออกให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วก็เริ่มประเมินใหม่ รอโอกาสต่อไป
มันไม่ใช่การเลื่อนเป้า หรือเลื่อนสต๊อปเพราะกลัว แต่เป็นการตระหนักว่า ราคาจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ หรือแม้แต่ผิดทาง
ผลลัพท์... ผมยอมรับว่าบางครั้งผลลัพท์ก็ไม่ได้ออกมาดีเหมือนถือรอเฉยๆ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายครั้งที่ผลลัพท์ออกมาดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งราคาเคลื่อนที่แรงกว่าที่คาด จึงสามารถเลื่อนเป้าหมายให้ไกลขึ้นได้ ซึ่งวิธีนี้อาจจะสามารถใช้ได้ผลเช่นกันในปีหน้า หรืออาจจะไม่ก็ได้ แต่ผมก็ไม่เดือดร้อนเพราะผมกำลังจัดการการเทรด ไม่ได้เป็นการปรับแต่งให้ได้ผลลัพท์ที่ดีกว่า ผมทำแบบนี้เพราะเป็นไปตามกระบวนการจัดการการเทรดของผม โดยอาศัยความเชื่อต่อตลาด และจิตวิทยาการเทรด
ทำไมเราจะต้องถือรอ อาจจะเกิดการเคลื่อนของราคา จากใกล้เป้าหมาย ย้อนกลับไปชนสต๊อปลอสแทน เพียงเพราะการปิดออเดอร์ก่อนเป็นการ ‘ทำลาย’ ระบบของคุณ? ผมไม่เข้าใจ เมื่อตลาดเปลี่ยนแปลง รู้สึกว่าราคาจะไปได้อีกแค่อึดใจ ก็แค่ทำกำไรเท่านั้น
แต่ก็อย่างว่า ตลาดไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ ถ้าการเทรดตามระบบเวิร์คสำหรับคุณ ก็ใช้วิธีนั้นเถอะ
(จบข้อความจากอีเมล์)
ถ้าคุณรู้สึกว่าการไม่ต้องทำอะไรเลยเหมาะกับคุณกว่า ก็ควรใช้วิธีที่ทำกำไรให้กับคุณ มันไม่เวิร์คสำหรับผม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เหมาะกับคุณ
ยังไงก็ต้องลองทดสอบดูให้แน่ใจ
แต่ถ้าการจัดการการเทรดเหมาะกับคุณ นี่เป็นขั้นตอนที่ผมใช้...
หลักการทั่วไป
- ผมแบ่งเทรดเป็นสองส่วน
- เข้าออเดอร์พร้อมกัน
- จุดออกจะแบ่งระยะกัน ส่วนแรกจะตั้งเป้าที่ T1 ส่วนที่สองจะตั้งเป้าที่ T2 หรือใช้เทรลลิ่งสต๊อป ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด
- ทุกออเดอร์จะมีการจัดการการเทรด
หลักการของการจัดการการเทรด
อยู่ในตลาดหากยังถูกทาง
แนวคิดของการจัดการการเทรดคือยังคงอยู่ในตลาดหากยังคงถูกทาง
การออก (ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย) จะมีอยู่ด้วยกันสามกรณีดังนี้:
1) เมื่อวิเคราะห์แท่งเทียนแต่ละแท่งแล้วบ่งบอกว่าทิศทางจะเปลี่ยนทำให้การเทรดของเราผิดทาง หรือ
2) ตลาดไม่สามารถไปในทิศทางที่คาดการณ์ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม จนรู้สึกสงสัยว่าผิดทาง หรือ
3) คุณเริ่มไม่แน่ใจว่าปัจจุบันตลาดเป็นอย่างไร และแนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร
ถ้ายังไม่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ก็ถือออเดอร์ต่อไป
ถ้าเกิดกรณีที่ 1 ให้ออกแล้วมองหาโอกาสเทรดใหม่ต่อไป
ถ้าเกิดกรณีที่ 2 หรือ 3 ให้ออกแล้วประเมินตลาดใหม่
กรณีที่ 1 และ 2 มีความแตกต่างกัน กรณีที่ 1 นั้น พฤติกรรมราคาจะบอกคุณ แต่ในกรณีที่ 2 นั้นคือบอกไม่ได้ กรณีที่ 2 ไม่ได้หมายความว่าผิดทางเลย แต่มันนานเกินไปจนโอกาสไปถูกทางน้อยลง จึงเป็นการดีกว่าที่จะออกมานั่งประเมินใหม่
การจัดการการเทรดต้องใช้การวิเคราะห์พฤติกรรมแท่งเทียนในระยะสั้น และเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมราคาในอนาคต
ให้ตระหนักถึงราคาต่อไปข้างหน้า คุณจะทำอย่างไรเมื่อราคาขึ้นไปจากตรงนี้? คุณจะทำอย่างไรเมื่อราคาลงไปจากตรงนี้? ให้ตัดสินใจไว้ล่วงหน้า จึงจะเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
กลับมาวิเคราะห์ต่อเพื่อยืนยันว่าราคาจะไปในทิศทางเดิมที่คาดการณ์ไว้ ถ้าไม่ใช่ให้ปรับการจัดการ หรือออกถ้าจำเป็น
ไทม์เฟรมที่เหมาะสม
สิ่งที่ท้าทายสำหรับคุณจริงๆ คือ จะวิเคราะห์แท่งเทียนในไทม์เฟรมไหนดี
ถ้าคุณวิเคราะห์ทุกอย่างในไทม์เฟรมเล็ก (ราย 1 นาที) คุณจะต้องเข้าๆ ออกๆ ตลอดเวลา ผมคงไม่สามารถจะแนะนำอะไรได้ เพราะผมจะเริ่มที่ไทม์เฟรมเล็ก (ราย 1 นาที) เพื่อมองหาบริเวณจุดเข้า จากนั้นจะมองไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) เพื่อที่จะดูพฤติกรรมราคาในอนาคต
คุณจะพบเองว่าเมื่อคุณเปลี่ยนไทม์เฟรมขึ้นมา คุณจะรู้สึกสบายขึ้น
ถ้าการเทรดของคุณไม่ค่อยดีนัก และผิดพลาดอย่างรวดเร็ว ให้ลองเทรดย้อนหลัง (ถ้าสามารถทดสอบย้อนหลังได้ หรือวิเคราะห์แท่งเทียนทีละแท่ง) โดยให้ลองเปลี่ยนไปเป็นไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที)
ในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า ก็มีความน่าเชื่อถือกว่า แต่นอกเหนือจากการจัดฉาก และการจัดการการเทรด ก็คือการฝึกฝน ฝึก ฝึก ฝึก!
นี่คือคำบอกใบ้บางอย่าง – ถ้าออเดอร์ส่วนแรกไปถึงเป้าหมาย แต่คุณยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้ไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) ออเดอร์ส่วนที่สองให้เปลี่ยนไปไทม์เฟรมที่เทรดเลย อาจจะทำให้มีโอกาสได้ผลลัพท์ที่ดี มันเป็นคำแนะนำที่ดี ช่วยให้ไม่ต้องดิ้นรนมากนัก และไม่ต้องจดจ่อกับการจัดการการเทรด
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 15 ตั้งแต่เข้าออเดอร์จนถึงเป้าส่วนแรก (From Entry to Part One Exit)
จิตวิทยาการจัดการดรอว์ดาวน์
ไม่มีอะไรจะทำให้จิตตกมากไปกว่าเห็นออเดอร์ที่เพิ่งเข้าไปติดลบทันที
นี่คือสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง - คุณคิดว่าคุณจะเข้าออเดอร์ได้ดีที่สุดทุกครั้งหรือไม่?
ในบทที่กล่าวถึงการเข้าออเดอร์ เรารู้แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ถึงจุดเข้าที่ดีที่สุด แต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อ ตลาดได้เฉลยออกมาแล้ว เราจึงระบุบริเวณที่เราสบายใจที่จะเทรด และหาจุดเข้าที่ดีที่สุดในบริเวณนั้น
ดังนั้น มันจึงค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ว่าผลลัพท์มันจะออกมาแย่ ใช่ไหม? แน่นอน!
นั่นจึงทำให้ทำใจได้ยากหากเหตุการณ์กลับตาลปัตรและกำลังจะขาดทุน
การใช้จิตวิทยาการจัดการดรอว์ดาวน์ที่ดีที่สุดก็คือให้คาดถึงเหตุการณ์เหล่านั้นไว้ก่อน ในการวิเคราะห์ของเรา เราจะคำนึงถึงธรรมชาติของพฤติกรรมราคาในอนาคต – ว่าราคามันควรจะเป็นเช่นไร ถ้าเราวิเคราะห์ถูก และราคาจะเป็นอย่างไร หากเราวิเคราะห์ผิด?
ตอนนี้เราก็จะใช้กระบวนการแบบนั้นเช่นกัน เมื่อเข้าออเดอร์ ก็คำนึงถึงสิ่งที่อาจจะเกิดตามมา... ถ้าเข้าเทรดเร็วเกินไป อาจต้องยอมรับการดรอว์ดาวน์จากการกลับไปทดสอบจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด หน้าตามันจะออกมาเป็นอย่างไร หากเราคิดถูกจริงๆ และเราควรจะถือนานแค่ไหน? หน้าตามันจะเป็นอย่างไร หากจำเป็นจะต้องสต๊อป?
การคำนึงถึงพฤติกรรมราคาไว้ล่วงหน้า จะช่วยให้คุณเตรียมรับมือกับกรณีที่แย่ที่สุดไว้ก่อน และช่วยให้ถือรอทนดรอว์ดาวน์ได้ ตราบใดที่ราคายังเคลื่อนไหวไปตามที่วิเคราะห์
จิตวิทยาการจัดการการเทรด
หนึ่งในความท้าทายที่ผมมักจะเจอคือ ให้ความสำคัญกับจัดการกับการเทรดมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นจุดเข้า ส่วนเรื่องที่ตลาดเฉลยออกมา (ทบทวนการเทรด) ผมพบว่าต้องใช้ความอุตสาหะมากกว่าในการนำไปประยุกต์
ผมค้นพบเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาการเทรด นั่นก็คือ 'คำสั้นๆ' เหล่านี้ ที่คอยเตือนใจผมเสมอระหว่างการจัดการการเทรด
- อดทน
- เชื่อมั่นในตัวเองและระบบ
- อะไรคือความแข็งแรง?
- อะไรคือความอ่อนแอ?
- ถือออเดอร์ไว้ถ้ายังคงไปถูกทาง
นี่จะช่วยให้ผมอดทนอยู่เสมอในระหว่างตัดสินใจและลงมือทำ และช่วยให้ผมสนใจอยู่กับข้อมูลที่มีความสำคัญ - นั่นคือประเมินการเปลี่ยนแปลงของความแข็งแรงและความอ่อนแอ - มากกว่าที่จะไปคอยกังวลเรื่องเทรดเสีย
เราจะพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งในฉบับที่ 4 ที่ผมกล่าวถึงตอนนี้เพราะจากประสบการณ์ ช่วงแรกๆ ที่เริ่มจัดการการเทรดจะมีความท้าทายอย่างมากกับเทรดเดอร์ ซึ่งคิดว่าคุณคงอยากให้พูดถึงแนวคิดที่คล้ายๆ กันแบบนี้
การออกเมื่อเทรดผิดทาง
ผมจะหมายรวมถึงกระบวนการออกก่อนที่จะถึงเป้า T1 ให้เป็นการเทรดผิดทางด้วย
ทำไมเราต้องรีบตัดออเดอร์ด้วย?
ผมได้กล่าวถึงไปก่อนแล้วว่า การออก (ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย) จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ 3 อย่างดังนี้ :
1) เมื่อวิเคราะห์แท่งเทียนแต่ละแท่งแล้วบ่งบอกว่าทิศทางจะเปลี่ยนทำให้การเทรดของเราผิดทาง หรือ
2) ตลาดไม่สามารถไปในทิศทางที่คาดการณ์ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม จนรู้สึกสงสัยว่าผิดทาง หรือ
3) คุณเริ่มไม่แน่ใจว่าปัจจุบันตลาดเป็นอย่างไร และแน้วโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร
นั่นคือเราจะออกจากตลาดเมื่อเชื่อว่าทิศทางจะเปลี่ยน หรือเกิดความสงสัย
ประโยชน์จริงๆ ของการออกก่อน ก็คือคุณจะสามารถประเมินสถานการณ์ใหม่ได้โดยไม่มีออเดอร์ค้างอยู่ การวิเคราะห์ในขณะที่มีออเดอร์ค้างอยู่ การตัดสินใจอาจจะมีผลจากอารมณ์ โดยเฉพาะการกลัวขาดทุน การออกจะช่วยให้ไม่มีเรื่องอารมณ์มากระทบการตัดสินใจ
คุณมีสองทางเลือกในการออก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าฉุกเฉินแค่ไหน :
1) กดปุ่มปิดออเดอร์ เพื่อปิดออเดอร์ทันที
2) ใช้การปรับเป้าและสต๊อปลอส เพื่อให้ออกได้ดีที่สุด
แผนภูมิที่ 4.73 - การออก - ทางเลือกที่ 1
แผนภูมิที่ 4.74 - การออก - ทางเลือกที่ 2
ทางเลือกแรก ปิดออเดอร์ทันที จะใช้ในกรณีที่ออเดอร์นั้นผิดทางและจะเป็นความสูญเสียใหญ่ คุณจึงปิดออเดอร์ทันที
ทางเลือกที่สอง จะใช้ความรอบคอบขึ้น คุณไม่ได้ปิดออเดอร์ทันที แต่จะประเมินอารมณ์ของตลาดว่าราคาจะไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่ ในกรณีนี้ ผมจะผสมกันระหว่างเลื่อนสต๊อป และเลื่อนเป้าหมาย มีหลักการที่เหมือนกันคือ - เลื่อนเป้าหมายไปในบริเวณที่ราคาไม่เคลื่อนไหวมากนัก - และเลื่อนสต๊อปไปในบริเวณที่คุณตั้งใจจะออก โดยดูจากไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) กราฟจะแสดงจุดดังกล่าวให้เห็น
หากมีออเดอร์ที่แบ่งหลายๆ ส่วนล่ะ?
ถ้าเกิดผิดทาง และผมต้องการออก ผมก็ต้องปิดทั้งหมดทุกส่วนทันทีเลยหรือ?
อย่างไรก็ตาม ถ้าผมต้องปิดออเดอร์ ผมจะจัดการการเทรดของออเดอร์ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 แยกกัน โดยผมจะให้เวลากับส่วนที่ 2 มากกว่า เผื่อว่าส่วนนี้จะมีโอกาสไปในทิศทางที่ถูกภายหลังได้
ยกตัวอย่างเช่น ราคาไปในทิศทางที่ผมเทรดช้าๆ แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะสามารถทะลุราคาสูงสุดเดิมไปได้หรือไม่ ผมจะลดเป้าหมายของออเดอร์ส่วนที่ 1ลงมาต่ำกว่าราคาสูงสุดเดิมและตั้งเทรลลิ่งสต๊อปให้เลื่อนสต๊อปตามไม่ห่างนัก ซึ่งตอนนี้สต๊อปยังคงอยู่ที่เดิม ในกรณีที่ผมวิเคราะห์ไม่ถูกแล้วราคาสามารถทะลุราคาสูงสุดเดิมไปได้ ออเดอร์ส่วนแรกก็จะชนเป้าหมายแล้วปิดไป ผมก็จะมาบริหารออเดอร์ส่วนที่ 2 ต่อ
ลองมาดูตัวอย่างกัน...
แผนภูมิที่ 4.75 แสดงให้เห็นตลาดไซด์เวย์ก่อนข่าวนอน-ฟาร์ม 17 นาที เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2010 ได้เข้าออเดอร์ด้วยการเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จ (BOF) โดยคาดว่าจะไปทดสอบราคาสูงสุด
จุดเข้า เข้าออเดอร์เมื่อปิดแท่ง A แล้วได้วางสต๊อปต่ำกว่าจุดต่ำสุดของ BOF จากนั้นวางเป้าในช่วงบนของจุดสูงสุด ทั้ง T1 และ T2 วางไว้ที่เดียวกันเพราะเป็นช่วงไซด์เวย์
แผนภูมิที่ 4.75 - การออกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของตลาด
แท่งเทียน B เป็นแท่งที่เราให้ความสนใจเมื่อลดไทม์เฟรมเข้าไปดู ตอนปิดแท่งราคาแข็งแรง (ปิดสูงกว่าราคาต่ำสุดมาก) จึงเลื่อนสต๊อปมาต่ำกว่าแท่ง B เล็กน้อย เป็นจุดที่ราคาลงมาทำต่ำสุดอีกครั้งจึงนับเป็นแนวรับที่สำคัญ
เมื่อมาถึงแท่ง C (ราคาปิดคือราคาต่ำสุด) ตอนนี้ตั้งแต่เข้าออเดอร์มาค่อนข้างนานแล้ว ราคายังไปไม่ถึงเป้า ผมจึงต้องจัดการการออก (ไม่ว่ายังไงก็ตาม ผมอยากปิดก่อนข่าวนอน-ฟาร์มที่จะมาถึงในอีก 6 นาที) ผมจึงลดเป้าลงมาที่จุดสูงสุดก่อนหน้านี้
จากการที่แท่ง D ลงมาแรง (ตอนขึ้นไปทดสอบไฮก็หลอกให้คนที่เข้าซื้อติดกับดัก แล้วลงมาทำราคาต่ำนิวโลว์) ตอนนี้ผมลดเป้าลงมาอีกอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดของแท่ง D ออเดอร์ส่วนที่ 1เลื่อนมาอยู่ตรงจุดที่เคยเบรคเอ้าท์ (ไม่ได้แสดงไว้) โดยจะเลื่อนตอนที่เปิดแท่งใหม่แล้ว ออเดอร์ส่วนที่ 2 วางไว้ต่ำกว่าแท่ง B เหมือนเดิม และเลื่อนมายังแท่ง D เมื่อแท่ง E แสดงให้เห็นกำลัง ซึ่งที่แท่ง E เราจะไปถึงเป้าเรียบร้อย โดยออเดอร์ส่วนแรกได้ตอนราคาทะลุไป และส่วนที่สองได้เพิ่มมาอีก 5 ปิ๊ป
ไม่ต้องพยายามเข้าใหม่ บางครั้งเราต้องพอใจในสิ่งที่ตลาดมอบให้
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 16 การเข้าซ้ำ (Re-Entry)
การเข้าซ้ำอีกครั้งจะพิจารณาเมื่อออเดอร์ก่อนหน้าผิดพลาดแล้วต้องตัดทิ้งไปจากการประเมินตลาด และวิเคราะห์ใหม่ว่าไปคนละทาง แล้วจึงตัดสินใจเข้าอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามมีทางเลือกจากสองสถานการณ์ดังนี้ :
1) คุณได้กำไรจากเป้าในออเดอร์ส่วนที่หนึ่งแล้ว (ส่วนที่สองยังเปิดอยู่) แล้วมีโอกาสเข้าออเดอร์ส่วนที่หนึ่งอีกครั้ง
2) ออเดอร์โดนสต๊อปเอ้าท์ แล้วตลาดแสดงให้เห็นโอกาสเข้าครั้งใหม่
คุณควรเข้าเฉพาะโอกาสที่เป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น พฤติกรรมราคาจะแสดงโอกาสที่เป็นไปได้เมื่อราคามาถึงบริเวณที่เป็นจุดเข้าที่ดี
จริงๆ แล้วจำนวนออเดอร์ที่จะเข้าในแต่ละโอกาสที่เกิดกับดักนั้นไม่จำกัด คุณอาจจะเล่นสั้นๆ แล้วเข้าใหม่ได้เรื่อยๆ (ตราบใดที่ยังอยู่ในเงื่อนไขการเข้า) แต่ผมแนะนำว่าไม่ควรเกิน 2 ออเดอร์ ด้วยขนาดที่ยอมรับการขาดทุนได้จากกับดักนั้นๆ
ถ้าผมต้องตัดขาดทุนทั้งสองครั้ง หรืออาจจะขาดทุนมากกว่านั้นหากใช้ขนาดสัญญาณที่ใหญ่ แสดงว่าออเดอร์อื่นๆ ที่เคยวิเคราะห์ไป ก็จะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความจริงที่เหมาะสม (การทนดรอว์ดาวน์ลดลงกว่าตอนที่วิเคราะห์)
ให้หยุดพักก่อน แล้วปล่อยให้ความผิดพลาดนี้ผ่านไป จากนั้นจึงตั้งต้นใหม่กับโอกาสถัดไป
ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน นี่เป็นตัวอย่างของการเทรดผิดพลาดแล้วเข้าใหม่
แผนภูมิที่ 4.76 ด้านล่าง แสดงการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB ซึ่งเคยแสดงไปแล้วในบทที่กล่าวถึงการเข้าออเดอร์
ออเดอร์ส่วนแรกจะเข้าที่การเบรคลงไปต่ำกว่าแท่ง A ที่จุดเข้า E1
แผนภูมิที่ 4.76 - การพักตัวหลังเบรคเอ้าท์ BPB การเข้าซ้ำ
การพักตัวหลังเบรคเอ้าท์ควรจะนำไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามต้องระลึกถึงตัวอย่างนี้เพราะเป็นกรณีที่พักตัวยาวนานดังที่แสดงเป็นสี่เหลี่ยมเส้นประ ผมจะคอยสังเกตุอาการแข็งแรงที่ทะลุออกมาจากบริเวณแนวรับนี้ ตอนเกิดแท่ง B ผมเริ่มเตรียมตัว และเลื่อนสต๊อปไปเหนือแท่ง B ทำให้ทั้งออเดอร์ส่วนที่หนึ่งและสองต้องสต๊อปเอ้าท์ไป ตอนที่แท่ง C เบรคขึ้นไปเหนือแท่ง B ทำให้ขาดทุนไป 2 ปิ๊ป เมื่อประเมินใหม่ แท่งต่อมายืนยันว่าหมดช่วงอัพสวิงแล้ว
การเข้าซ้ำจึงเข้าเมื่อเบรคลงมาต่ำกว่าแท่ง C ที่จุดเข้า E2 ก่อนที่ตลาดจะเคลื่อนไปในทิศทางที่คาดการณ์ไว้
ย้อนกลับมาที่แท่ง C บางครั้งอาจจะไม่ได้ไปถึงสต๊อปที่ตั้งไว้ แต่การตัดออเดอร์ทิ้งทำให้มีความได้เปรียบดังนี้:
1) ได้เปรียบในการวิเคราะห์พฤติกรรมราคาใหม่ โดยไม่มีความกังวลจากออเดอร์ที่เปิดค้างอยู่ และ
2) ความเสี่ยงน้อยกว่าหากเทียบกับปล่อยให้ไปถึงสต๊อป
นี่เป็นการจัดการการเทรด - คือตัดสินใจจำกัดความเสี่ยงให้น้อย และบริหารโอกาสให้ได้กำไรสูงสุด
การเลื่อนสต๊อปลอสตามเมื่อเบรคเอ้าท์
การเลื่อนสต๊อปลอสตามหลังจากการเบรคเอ้าท์ทำให้ออเดอร์นั้นถือเป็นของแถม เพราะว่าไม่ขาดทุนแน่นอน (ต้องเผื่อเวลาหน่วงตอนปิดด้วย) แต่หากรีบเลื่อนสต๊อปลอสก็จะทำให้ได้กำไรน้อยกว่าการทำให้แน่ใจว่าตลาดเปลี่ยนทิศทางจริงๆ
เมื่อไหร่ที่เราควรจะเลื่อนสต๊อปลอสเมื่อมีการเบรคเอ้าท์?
การวางสต๊อปลอสแบบหยาบ จะวางในตำแหน่งที่ราคาไม่น่าจะไปถึง การเลื่อนสต๊อปลอสก็ใช้หลักการเดียวกัน
เมื่อราคาเคลื่อนไปตามที่เราคาด เราก็เลื่อนสต๊อปลอสไปยังจุดที่มีการเบรคทะลุไป เพื่อเป็นการประกันว่า หากราคาย้อนกลับมายังจุดเข้า เราก็จะออกจากตลาดไปโดยไม่เจ็บตัว
จำไว้ว่าออเดอร์ส่วนที่ 1 และ 2 สามารถจัดการโดยวิธีต่างกันได้ คุณอาจจะลองเสี่ยงกับออเดอร์ส่วนที่ 1 มากกว่า โดยการเลื่อนสต๊อปลอสไปยังจุดที่เบรคเลย ในขณะที่ออเดอร์ส่วนที่ 2 มีระยะมากกว่าเผื่อไว้สำหรับการย้อนกลับมาทดสอบจุดเบรค
เราก็ใช้หลักการของการเคลื่อนไหวของราคาหลังการเบรคเอ้าท์เช่นเดียวกัน
เมื่อราคาเคลื่อนผ่านจากจุดที่เราเข้าไปไกลตามที่คาด เราก็เลื่อนสต๊อปลอสไปยังจุดที่เราคาดว่าจะไม่ถือต่อ หากราคาย้อนกลับมาถึงจุดนี้
หัวใจสำคัญสำหรับการเลื่อนสต๊อปลอสคือให้วางห่างออกไปเล็กน้อยจากสวิงไฮหรือสวิงโลว์ หรือห่างออกไปจากแท่งขนาดใหญ่ที่ไปถึงบริเวณราคาสูงสุด/ต่ำสุด (แท่งตันที่ราคาสูงสุดและราคาปิดเป็นราคาเดียวกันในแนวโน้มขาขึ้น หรือแท่งตันที่ราคาต่ำสุดและราคาปิดเป็นราคาเดียวกันในแนวโน้มขาลง)
ลองมาดูตัวอย่างและให้สังเกตุการจัดการกับสต๊อปลอสส่วนที่ 1 กัน
แผนภูมิที่ 4.77 - การเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่ 1
จากตัวอย่างด้านบน เราจะเห็นการพักตัว PB ในระหว่างแนวโน้มขาขึ้น
จุดเข้าอยู่บริเวณเหนือแท่งค้อนหากเบรคขึ้นไป ซึ่งจะเป็นจุดเข้าที่ดีเพราะมีสวิงไฮเดิมเป็นแนวรับ เข้าออเดอร์ที่ราคา 1.5309 วางสต๊อปของออเดอร์ทั้งสองส่วนที่ใต้แท่งค้อนที่ 1.5301 (S1) และวางเป้าที่ 1.5330 โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมราคาแต่ในกราฟ เราจะไม่เห็นเนื่องจากอยู่ห่างไปทางด้านซ้าย
เมื่อราคาทะลุขึ้นไปแล้วเริ่มพักตัว ผมจะเลื่อนสต๊อปของออเดอร์ส่วนที่ 2 ไปยังจุดเข้าของออเดอร์ส่วนที่ 1 (S2) ราคายังคงพุ่งขึ้นไปต่อ มีการพักตัวสั้นมาก ซึ่งหากจะเลื่อนสต๊อปตามอาจจะเร็วเกินไป สต๊อปของออเดอร์ส่วนที่ 2 ยังคงอยู่ที่เดิม
แท่งเทียนชุดที่ตามมาทำให้อุ่นใจขึ้น จากการที่แท่ง B ไปทำนิวไฮ ผมจึงเลื่อนสต๊อปไปต่ำกว่าจุดที่ทำราคาต่ำ (S3) (ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดก่อนขึ้นไปทำนิวไฮ)
จากนั้นราคาเข้าไปใกล้ T1 จึงเลื่อนสต๊อปมาต่ำกว่าแท่ง C ไม่ได้เป็นการเลื่อนตามเทคนิค แต่เป็นการเลื่อนให้เหมาะกับอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน R:R
การจัดการการเทรดจำเป็นต้องประเมินอัตราส่วนระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทนเสมอ ว่าจะเสี่ยงแค่ไหนหากต้องออกจากตลาด หรือจะอดทนแค่ไหน ถึงจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
จากตัวอย่างด้านบน เมื่อราคาเข้าใกล้เป้าหมายที่แท่ง C หากรอให้ถึงเป้าก็อีกแค่ 4 ปิ๊ป แต่หากเทียบกับอาจจะต้องเสียถึง 16 ปิ๊ป หากราคาย้อนมาชนสต๊อปแล้ว ค่าความเสี่ยงต่อผลตอบแทนไม่คุ้มนัก ผมจึงเลื่อนสต๊อปเข้ามาใกล้ขึ้นใต้แท่งเขียวแท่งล่าสุด
การเลื่อนสต๊อปนี้ เพิ่มความเสี่ยงอาจต้องออกจากตลาดก่อนกำหนด ดังนั้นจึงควรตัดสินใจอย่างระมัดระวัง ในกรณีนี้ตลาดมีความแข็งแรง และผมคาดหวังให้ราคาไปถึงเป้าหมาย หากราคาย้อนมาชนสต๊อป ผมก็จะหาจังหวะเข้าอีกครั้งเมื่อมีการพักตัว PB
ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อผลตอบแทนแบบนี้ คุณอาจจะเลือกปิดทำกำไรไปเลยก็ได้
อย่างเช่น ถ้าราคาย่ำอยู่กับที่ไม่กี่ปิ๊ปใกล้เป้าหมายเป็นนาทีแล้ว จะมีประโยชน์อะไรที่จะถือรอแค่ปิ๊ปสองปิ๊ป ในขณะที่อาจจะเสี่ยงดรอว์ดาวน์ถึง 20 ปิ๊ป? ถึงแม้ว่าคุณจะวางสต๊อปไว้ใต้บริเวณที่เป็นแนวรับ แต่มันก็ไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
ถ้าราคาย่ำอยู่กับที่ใกล้เป้าหมาย ก็ปิดทำกำไรไปเลย
ให้พิจารณาเป้าหมายเป็นบริเวณ ดีกว่าที่จะมองที่ราคา
การเข้าออเดอร์ที่ผิดพลาด
หลายครั้งที่คุณคงเคยเข้าออเดอร์ทันที เมื่อพบว่าออเดอร์ก่อนหน้านี้ไปผิดทาง พอเริ่มจิตตก คุณจะเข้าออเดอร์ใหม่ทันทีด้วยอารมณ์โดยไม่ได้วิเคราะห์ให้ดี
หลายครั้งที่คุณเข้าออเดอร์โดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อน และใช้การเข้าออเดอร์แบบทันที
คำแนะนำโดยทั่วไปคือให้รีบออกทันที แต่ผมจะแนะนำต่างออกไป ลองหยุดสักพักแล้วพิจารณาดูดีๆ ก่อน ว่าคุณจะสามารถแก้ไขมันได้ไหม?
มันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเข้าปุ๊บมันจะอันตรายทันที ลองดูพฤติกรรมราคา มองหาสัญญาณในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) มองหาความแข็งแรง ความอ่อนแอ และทิศทางว่าราคาจะไปทางใด แม้ว่ามันอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม ถ้ายังมีโอกาส ก็สามารถจะมาจัดการการเทรดได้ แต่ต้องจัดการอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่ก็ตาม ถือว่าเป็นโบนัส ถ้ามองไม่เห็นโอกาส ก็ให้รีบปิดทันที
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 17 การจัดการออเดอร์ส่วนที่ 2
การเลื่อนสต๊อปลอสไปยังจุดเบรดเอ้าท์
หลักการเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่สอง ก็เหมือนกับส่วนแรก แตกต่างกันตรงที่มีระยะห่างให้ปรับแต่งได้ โอกาสของออเดอร์ส่วนที่สองนี้จึงมากกว่าส่วนแรก
เมื่อราคาเคลื่อนไปตามที่เราคาด เราก็เลื่อนสต๊อปลอสไปยังจุดที่มีการเบรคทะลุไป เพื่อเป็นการประกันว่า หากราคาย้อนกลับมายังจุดเข้า เราก็จะออกจากตลาดไปโดยไม่เจ็บตัว
เมื่อราคาเคลื่อนผ่านจากจุดที่เราเข้าไปไกลตามที่คาด เราก็เลื่อนสต๊อปลอสไปยังจุดที่เราคาดว่าจะไม่ถือต่อ หากราคาย้อนกลับมาถึงจุดนี้
เช่นเดียวกับออเดอร์ส่วนแรก หัวใจสำคัญสำหรับการเลื่อนสต๊อปลอส คือให้วางห่างออกไปเล็กน้อยจากสวิงไฮ หรือสวิงโลว์ หรือห่างออกไปจากแท่งขนาดใหญ่ที่ไปถึงบริเวณราคาสูงสุด/ต่ำสุด (แท่งตันที่ราคาสูงสุดและราคาปิดเป็นราคาเดียวกันในแนวโน้มขาขึ้น หรือแท่งตันที่ราคาต่ำสุด และราคาปิดเป็นราคาเดียวกันในแนวโน้มขาลง) โดยจะอ้างอิงจากไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) มากกว่าที่จะอ้างอิงจากไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) และเรายังคงอยู่ในตลาดเสมอ หากออเดอร์ของเรายังคงไปถูกทาง
แผนภูมิที่ 4.78 - การจัดการการเทรด - การเลื่อนสต๊อปลอส
จากแผนภูมิที่ 4.78 ด้านบนเรามีโอกาสเข้าอีกครั้งด้วยการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB (จากแผนภูมิที่ 4.76) เราจะดูที่ การเข้าออเดอร์ครั้งที่ 2 (BPB2) ซึ่งเข้าที่จุด E2 เมื่อมีการเบรคจากแท่งดาวตก (shooting star) ในกราฟด้านขวา โดยจะกล่าวถึงการจัดการการเทรดของทั้งสองออเดอร์
การอ้างอิงจากไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) ซึ่งอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนกราฟทางขวาเป็นไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเราจัดการการเทรดในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า เราจึงเริ่มด้วยกราฟทางด้านขวา
จากหลักการเข้าพร้อมกัน แต่ออกไม่พร้อมกัน ค่าเริ่มต้นเป็นดังนี้ :
- ออเดอร์ทั้งสองส่วนเข้าที่ E2 ราคา 1.5875
- สต๊อปลอสของทั้งสองออเดอร์วางที่ S1 ราคา 1.5884 (-9)
- เป้าหมายแรก T1 ที่ราคา 1.5863 (+12)
- เป้าหมายที่ 2 T2 ที่ราคา 1.5853 (+22)
เมื่อแท่ง D ปิด (ปิดต่ำทำนิวโลว์) สต๊อปของออเดอร์ส่วนที่ 1 จะถูกเลื่อนมาที่ S2 ซึ่งเป็นจุดที่มีการเบรคเอ้าท์ เนื่องจากเป็นการเข้าซ้ำ ผมจึงไม่ต้องทนกับการพยายามฝ่าแนวต้านนานนัก (บริเวณสี่เหลี่ยมเส้นประ) สต๊อปของออเดอร์ส่วนที่ 2 ยังอยู่ที่เดิมคือ S1 ซึ่งทำให้มีช่องว่างมากขึ้น แต่ก็สามารถบีบให้แคบลงได้หากราคาทำท่าจะตีกลับ
แท่ง E (ปิดครึ่งแท่ง) แสดงให้เห็นแนวรับที่ทำท่าจะรับไม่อยู่ เราจึงไม่จำเป็นต้องเลื่อนสต๊อปลอส
แท่ง F (แท่งขนาดใหญ่ปิดต่ำ) ราคามาถึงเป้าแรก T1 ทำให้ออเดอร์ส่วนที่ 1 ปิดทำกำไรไปเรียบร้อย ส่วนออเดอร์ส่วนที่ 2 เลื่อนสต๊อปลอสลงมาที่ S2 ซึ่งราคาเบรคลงมา ซึ่งจากจุดนี้ ผมกลับไปดูไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที)
แท่งเทียนขนาดใหญ่ขาลงสนับสนุนว่าเราคาดการณ์ได้ถูกทาง และมั่นใจว่าราคาจะไปถึงเป้าหมายที่ 2 T2 การเกิดแท่งเทียนที่ปิดต่ำลงเรื่อยๆ ช่วยให้การจัดการของเราง่ายขึ้น จากการที่เกิดแท่งขนาดใหญ่ลงมาต่อเนื่อง ทำให้ผมไม่ห่วงเรื่องการพักตัว การเลื่อนสต๊อปของออเดอร์ส่วนที่ 2 ก็แค่เลื่อนตามมาเรื่อยๆ ในแต่ละแท่งของไทม์เฟรมที่เทรก (ราย 3 นาที) S3 ที่ราคาปิดแท่ง ส่วน S4 ราคาก็ไปถึงเป้า T2 เรียบร้อย ราคาไม่เคยได้เข้าใกล้สต๊อปเลย และไปถึงเป้า T2 โดยง่ายดาย
การออก - บีบสต๊อปให้ใกล้กับเป้าหมาย
หลักการของการออกของออเดอร์ส่วนที่ 2 นี้ ก็เหมือนกับการออกของออเดอร์ส่วนที่ 1
หากการอ่อนแรงของแนวโน้มทำให้คุณไม่แน่ใจ การผสมกันระหว่างการลดเป้าหมาย และเลื่อนสต๊อปให้ใกล้เข้าไปอีก ก็สามารถทำได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
การปรับปรุงตามสภาวะตลาด
การพิจารณาที่จะปรับเป้าหมาย T2 ขึ้นอยู่กับว่าคุณอ่านสภาวะตลาดเป็นเช่นไร ตอนนี้ยังคงเป็นเทรนด์อยู่ หรือเป็นไซด์เวย์ ? ตลาดกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง หรือเป็นแค่การสวิงสั้นๆ ?
ยกตัวอย่างเช่น ในสภาวะที่เป็นเทรนด์ชัดเจน คุณก็คงปล่อยให้ออเดอร์ส่วนที่ 2 ไหลไปเรื่อยๆ ส่วนในสภาวะที่เป็นไซด์เวย์ ก็จะปล่อยไหลสั้นกว่า ซึ่งสามารถที่จะคาดหวังกับการกลับตัวได้มากกว่า ดังนั้นจึงไม่มีการเลื่อนเป้าหมาย T2 หรือแม้แต่ใช้เป้าหมาย T1 ทั้งสองส่วนก็ได้ ให้ปรับตามความรู้สึกของคุณที่รู้สึกต่อพฤติกรรมราคานั้น!
ควรพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อสภาวะตลาดด้วยในทุกกรณี
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าออเดอร์ที่ถืออยู่เข้าใกล้จุดสูงสุด หรือต่ำสุดของวัน ให้ถือต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เป็นเทรนด์ชัดเจน เปิดช่องว่างของการเทรดให้กว้างขึ้น อาจจะยอมให้ราคาย้อนกลับมาถึงจุดที่เคยเบรคไปก็ได้ถ้าจำเป็น (โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ)
ปรับแต่ง และประยุกต์แผนเทรดของคุณให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดในขณะนั้น
การขยายเป้าหมาย
เช่นเคย จงเตรียมพร้อมที่จะปรับแต่งตลอดการเทรด
ถ้าแผนแรกของคุณคือทำกำไรที่ T2 แต่อารมณ์ของตลาดรวมทั้งการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในอนาคตของคุณสอดคล้องกันว่าจะไปต่อตามที่คาดไว้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะจะเบรคเอ้าท์ (จาก T2) และไปต่อจริงๆ คุณก็สามารถประเมินเป้าหมายใหม่ได้ ถ้าราคายังคงไปต่อก็สามารถเลื่อนสต๊อปตามได้ แต่ถ้าไม่ก็อาจจะทำให้ได้เงินน้อยลง แต่ก็อยู่บนพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงของคุณ
เราจะกลับไปดูตัวอย่างที่เราใช้ในการจัดการออเดอร์ส่วนที่ 1 (แผนภูมิที่ 4.77) ดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.79 ด้านล่าง
แผนภูมิที่ 4.79 - การเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่ 1 (อีกครั้ง)
เมื่อออเดอร์ส่วนที่ 1 เลื่อนสต๊อปลอสไปยัง S3 ที่ราคา 1.5312 (ใต้แท่งแดงขนาดใหญ่) ผมจะเลื่อนสต๊อปลอสของส่วนที่ 2 ไปที่จุดเบรคเอ้าท์ (S2) ถ้าราคาไม่ขึ้นไป ผมก็พอใจถ้าต้องออกจากตลาดโดยไม่เจ็บตัว
สต๊อปจะยังอยู่ที่เดิมจนกระทั่งราคาไปถึงเป้าหมายแรก T1
จากนั้นผมจึงจะกลับไปโฟกัสที่ไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) เมื่อออเดอร์ส่วนแรกปิดทำกำไรไปแล้ว
ไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) แสดงในแผนภูมิที่ 4.80 ด้านล่าง
ถ้ายังจำได้ ออเดอร์ส่วนที่ 2 ตั้งเป้าไว้ที่ T2 ที่ราคา 1.5345 โดยอ้างอิงจากแนวต้านในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า (ราย 30 นาที)
ผมวิเคราะห์ได้ว่าแนวโน้มขาขึ้นยังแข็งแรง และแนวโน้มขาลงค่อนข้างอ่อนแอ ผมจึงคาดว่าดทรนด์จะไปต่อทางเดิม
เป้าหมาย T2 จึงเอาออกปล่อยให้ราคาไหลไป (ต้องยอมรับความเสี่ยงถ้าหากผมวิเคราะห์ผิดพลาด) ซึ่งสต๊อปลอส จะเปลี่ยนเป็นการเลื่อนตามพฤติกรรมราคาที่มีนัยยะสำคัญแทน (สวิงโลว์ และแท่งเขียวขนาดใหญ่)
แผนภูมิที่ 4.80 - การเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่ 2
เส้นสีแดงแสดงจุดสต๊อปลอส โดยจำลองการเลื่อนสต๊อปลอสของออเดอร์ส่วนที่ 2 โดยประเมินจากนัยยะสำคัญของพฤติกรรมราคา
ผลลัพท์เมื่อออกเป็นดังนี้ :
- ออเดอร์ส่วนที่ 1 : +21 ปิ๊ป
-
ออเดอร์ส่วนที่ 2 : +83 ปิ๊ป
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 18 กระบวนการการเทรด (The Trading Process)
ลองรวมทุกขั้นตอนข้างต้นเป็นแผนผังเอาไว้อ้างอิงเป็นเช็คลิสต์ ซึ่งต่อไปมันจะกลายมาเป็นคู่มือการเทรดของเรา
แผนผังการเทรด - Trading Process Diagram
แผนภูมิที่ 4.81 - กระบวนการการเทรด - Trading Process
กระบวนการการเทรด มีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน ตามแผนภูมิที่ 4.81 ด้านบน
เช็คลิสต์นี้จะเป็นแนวทางในแต่ละขั้นตอนให้คุณ
เช็คลิสต์ - Trading Process Checklist
ขั้นตอนที่ 1 - การเตรียมเทรด - Trade Preparation
การเตรียมตัวสำหรับโอกาสที่จะมาถึงเมื่อราคามาใกล้บริเวณที่เป็นกับดัก
สิ่งที่ต้องทำ :
- เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์หรือไม่ ถ้าไม่ ให้กลับไปเริ่มวิเคราะห์ และตั้งสมมติฐานใหม่
- ระบุค่าต่างๆ สำหรับการเทรด
- ตำแหน่งสต๊อปลอส
- เป้าหมาย T1 และ T2
- ยืนยันบริเวณที่เป็นจุดเข้า
- ประเมินทั้งราคาส่งสุดท้าย LWP (ถ้าหาได้)และจุดสุดท้ายที่ยังมีความคุ้มค่าของราคาต่อความเสี่ยง
- ระบุว่าจะใช้การเข้าแบบไหน
- จะเข้าแบบ Stop และ/หรือ Limit order
- รอการยืนยันครั้งสุดท้าย
- ทั้งกับดัก และการเทรด ไปถูกทางกับสภาวะตลาดในขณะนี้
- พฤติกรรมราคายังคงสนับสนุนการเทรดของเรา
ขั้นตอนที่ 2 - การเข้าออเดอร์ - Trade Entry
จัดการการเทรด โดยได้ราคาที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในบริเวณที่เป็นจุดเข้า
สิ่งที่ต้องทำ :
- เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาแท่งต่อแท่ง จนกว่าบริเวณที่เป็นจุดเข้าจะชัดเจน มั่นใจว่าราคาจะเคลื่อนที่ต่อไปตามที่คาดการณ์
- ตัดสินใจจากรูปแบบแท่งเทียน
- คำนึงถึงบริบทในขณะนั้น
- ทั้งหมดสนับสนุนการเทรดของเราหรือไม่
- ถ้าใช้การล้อมราคา วาง Stop ออเดอร์ที่จุดขายส่งสุดท้าย LWP ทันทีที่ระบุได้
- ถ้าใช้การเข้าออเดอร์ทันที ให้วางออเดอร์ทันทีเมื่อตัดสินใจเข้าออเดอร์
- วาง Limit ออเดอร์ในบริเวณที่ราคาย่ำอยู่กับที่
- วาง Limit หรือ Stop ออเดอร์ เพื่อให้ราคาเป็นตัวเปิดออเดอร์
- ตรวจทานว่า pending order ของเราตั้งค่าถูกต้อง
- ราคาเข้า, ทิศทาง, ขนาดออเดอร์
- สต๊อปลอส และเป้าหมายของออเดอร์
- เมื่อออเดอร์เปิด
- ยกเลิกออเดอร์อื่นที่ pending อยู่
- ตรวจสอบว่าออเดอร์ทั้งสองส่วนได้เปิดเรียบร้อย
- หลังจากออเดอร์เปิดเรียบร้อย (ตรวจสอบความผิดพลาดทั้งหมด)
- รู้สึกอย่างไรกับออเดอร์นี้?
- ยืนยันว่ากับดัก และออเดอร์ที่เทรด ไปถูกทางกับสภาวะตลาดในขณะนี้
- ยืนยันว่าพฤติกรรมราคาสนับสนุนการเทรดของเรา
ขั้นตอนที่ 3 - การจัดการการเทรด และการออก - Trade Management & Exit
จัดการออเดอร์ที่เปิดแล้ว เพื่อจำกัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด และเพิ่มโอกาสทำกำไรให้มากที่สุด ออเดอร์จะเปิดอยู่หากว่ายังคงไปถูกทาง
สิ่งที่ต้องทำ :
- เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาแท่งต่อแท่งต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงถูกทาง
- ตัดสินใจจากรูปแบบแท่งเทียน
- คำนึงถึงบริบทในขณะนั้น
- ทั้งหมดสนับสนุนการเทรดของเราหรือไม่
- ออเดอร์ส่วนที่ 1
- ออเดอร์ยังคงถูกทาง :
- เลื่อนสต๊อปลอสไปยังบริเวณที่เบรคเอ้าท์ หากเราไม่ต้องการอยู่ในตลาด หากราคาย้อนกลับไปที่จุดเข้า
- เลื่อนสต๊อปลอสไประดับถัดไป หากเราไม่ต้องการอยู่ในตลาด หากราคาพักตัว
- ออเดอร์ผิดทาง :
- ปิดออเดอร์ทันทีหากจำเป็น
- ถ้าไม่ ให้จัดการการออก ให้บีบสต๊อปลอส และเป้าหมายเข้าหากัน โดยใช้พฤติกรรมราคาในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า
- ออเดอร์ส่วนที่ 2
- ออเดอร์ยังคงถูกทาง :
- เลื่นอสต๊อปลอสไปยังบริเวณที่เบรคเอ้าท์ หากเราไม่ต้องการอยู่ในตลาด หากราคาย้อนกลับไปที่จุดเข้า
- เลื่อนสต๊อปลอสไประดับถัดไป หากเราไม่ต้องการอยู่ในตลาด หากราคาพักตัว
- ออเดอร์ผิดทาง :
- ปิดออเดอร์ทันทีหากจำเป็น
- ถ้าไม่ ให้จัดการการออก ให้บีบสต๊อปลอส และเป้าหมายเข้าหากัน โดยใช้พฤติกรรมราคาในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า
- ตลาดแสดงความแข็งแรง
- ให้ขยายเป้า T2 หรือปล่อยแล้วเลื่อนสต๊อปลอสตาม
- เมื่อออเดอร์ส่วนหนึ่งปิด
- ยืนยันว่าออเดอร์ได้เปิดทั้งสองส่วน
- เมื่อออเดอร์ปิดทั้งหมด
- เข้าสู่สภาวะปกติ
ขั้นตอนที่ 4 - หลังจากเทรด - Post-Trade
การบริหารหลังการเทรด และการกู้คืน
สิ่งที่ต้องทำ :
- กลับไปประเมินการเข้าออเดอร์
- ถ้าออเดอร์นั้นขาดทุน :
- ประเมินว่าจะต้องกู้คืนอย่างไร
- มีโอกาสเข้าซ้ำหรือไม่ หรือผลที่ตามมาหลังกับดัก
- ให้พักอย่างอื่นไว้ก่อน แล้วเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการเทรดครั้งต่อไป
- เมื่อได้เวลาเหมาะสม :
- บันทึกการเทรด
- เฝ้าสังเกต และบันทึกจุดที่เป็นนัยสำคัญ
- โครงสร้างตลาด และพฤติกรรมราคา
- กระบวนการเทรดของเรา
- สภาวะร่างกาย และจิตใจ
(การบริหารหลังการเทรดอาจเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งเราจะกล่าวถึงในบทต่อไป)
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 19 การฝึกฝน (Practice)
ในบทเรื่องการวิเคราะห์เราได้ให้แนวคิดเรื่องการวิเคราะห์ก่อนการเข้าซื้อ-ขาย และการวิเคราะห์ต่อไปหลังจากซื้อ-ขายแล้วและยังถือออเดอร์อยู่ โดยส่วนใหญ่จะอธิบายเป็นทฤษฎี หรือหลักการเสียเป็นส่วนใหญ่
ในบทยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์จะแตกต่างออกไป ผมมั่นใจว่าคุณอยากจะเห็นกราฟมากกว่า เพราะในบทนี้ไม่ค่อยมีมากนัก
ในบทที่ 5 จะมีตัวอย่างการเทรดตั้งแต่ต้นจนจบ 10 ตัวอย่าง เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์จนกระทั่งปิดออเดอร์เลย ผมอยากจะให้คุณได้ฝึกตรงนี้ก่อน
จากนั้นในเล่มที่ 5 เราจะพูดถึงกระบวนการที่จะทำให้คุณกลายเป็นเทรดเดอร์ ส่วนหนึ่งก็คือการแผนการเทรด และฝึกฝนกลยุทธ์นั้น
สรุป - Conclusion
การวิเคราะห์ตลาดของเรา คือการค้นหาแนวโน้มที่แข็งแรง และอ่อนแอ เพื่อจะสามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ ทิศทางที่จะไม่มีแรงต้านสำหรับพฤติกรรมราคาในอนาคต
กลยุทธ์การเทรดของเราก็ใช้หลักการเช่นเดียวกัน
หลักการของการจัดฉาก และกับดัก ก็มาจากการค้นหาแนวโน้มที่แข็งแรง และอ่อนแอ ในบริเวณที่ราคาไปถึงแนวรับ/แนวต้าน (แนวรับ/แนวต้าน ของไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า ช่วงของแนวรับ/แนวต้าน หรือ สวิงไฮ/สวิงโลว์) หรือในจังหวะที่ราคาพักตัวระหว่างเทรนด์
เทรดเดอร์ที่เข้าเทรดในบริเวณนี้ โดยเทรดในทิศทางของเทรนด์ที่อ่อนแอมักจะขาดทุน การกลับตัวของราคาจะทำให้พวกเขาติดกับดัก และต้องตัดขาดทุนไป ซึ่งจะยิ่งเป็นแรงส่งให้ราคาไปในทิศทางที่แข็งแรงต่อ
เรามีเป้าหมายอยู่ที่จังหวะที่แมงเม่าเหล่านั้นปิดออเดอร์
เราเข้าใจแล้วว่าการเข้าที่สมบูรณ์แบบไม่สามารถจะบอกได้จนกว่าการเทรดจะสิ้นสุด เราจึงมองหาบริเวณที่เป็นจุดเข้าที่เราพอใจ (ราคาขายส่ง และอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่รับได้) และพยายามเข้าให้ดีที่สุดในบริเวณดังกล่าว
การกำหนดเป้าหมาย จะมีพื้นฐานมาจากสภาวะตลาดในขณะนั้น การวางเป้าจะวางในจุดที่คาดว่าราคาจะไปถึง หรือปล่อยเป้าหมายแต่ใช้การเลื่อนสต๊อปลอสตามแทน เมื่อแนวโน้มของตลาดเป็นใจ
เช่นเดียวกับในบทเรื่องการวิเคราะห์ เราจะเฝ้าดูพฤติกรรมราคาแท่งต่อแท่ง เพื่อให้มีสมาธิ และตื่นตัวกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ รับรู้ถึงอุปสงค์/อุปทานของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และพร้อมที่จะระบุได้ว่าอะไรที่เป็นอันตรายต่อการเทรดของเรา
เราจะถือออเดอร์ไว้ถ้ามันยังไปถูกทาง ถ้าเทรดผิดทาง เราจะออกจากตลาดแล้วมาประเมินตลาดใหม่เพื่อเข้าเทรดในโอกาสต่อไป
----------
เอาล่ะ ตอนนี้คุณคงจะคิดว่า เราอ่านบทความทั้งหมดนี้มา เพื่อจะบอกว่าให้เข้า buy ที่การพักตัวในแนวโน้มขาขึ้น เข้า sell ที่การพักตัวในแนวโน้มขาลง เข้า buy เมื่อราคาไปทดสอบแนวรับ และเข้า sell เมื่อราคาไปทดสอบแนวต้าน
ใช่แล้วล่ะ ทั้งหมดที่กล่าวมาก็คืออย่างนั้นแหละ แต่ถ้าคุณยังไม่เข้าใจ ผมก็คงแนะนำให้กลับไปอ่านอีกรอบหนึ่ง การวางแผนการเทรด เป็นเรื่องแนวคิด ซึ่งไม่ยากนัก เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมแนวคิดนี้ถึงใช้ได้ ซึ่งจะทำให้คุณเลือกเทรดในบริเวณกับดัก และมันจะเกิดขึ้นได้ด้วยประสบการณ์ และสัญชาตญาณ (ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝนในบทที่ 5 ต่อไป) ซึ่งจะช่วยให้คุณมีประสบการณ์มากขึ้นถึงความแตกต่าง และความหลากหลายของการจัดฉาก และยังเพิ่มความเชื่อมั่นที่จะบริหารจัดการกับความแตกต่างนี้ โดยไม่เกิดความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินหรือสภาพจิตใจ
ถ้าการเทรดตามที่ผมเพิ่งกล่าวไป คือเทรดเมื่อเกิดการพักตัวในเทรนด์ หรือเทรดที่แนวรับ/แนวต้าน (ตามเนื้อหา 10-20 หน้าที่ผ่านมา) ถ้าคุณลองเทรดเพียงครั้งหรือสองครั้ง แล้วเกิดแพ้ขึ้นมา แล้วไม่เชื่อในหลักการนี้ก็คงจะไม่เสียอะไรมากนัก
ในบทที่ 2 ที่กล่าวถึงพื้นฐานที่ทำไมหลักการนี้จึงได้ผล และเป็นความจริงที่ว่า นี่คือเบื้องหลังที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ตอนนี้คุณก็คงจะเชื่อแล้ว และแน่นอนว่าคุณคงจะไม่ย้อนกลับไปเทรดแบบเดิมๆ โดยใช้อินดิเคเตอร์มากมาย คุณคงจะไม่เชื่อมันอีกแล้ว และด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ที่คุณได้เรียนรู้ในบทที่ 3 คุณก็จะเริ่มรู้สึกได้ถึงอารมณ์ของตลาด และแนวโน้มในอนาคต และยังสามารถปรับปรุงการวิเคราะห์นั้นได้ จากกราฟแท่งต่อแท่งที่ปรากฏขึ้นบนจอ
ทั้งหมดนี้คือการวิเคราะห์ทิศทางของตลาด มันคือการหาอารมณ์ของตลาด มันเป็นเรื่องของการหากลุ่มที่ เทรดผิดทาง และจะขับเคลื่อนตลาดไปอีกทางเมื่อปิดออเดอร์ ถ้าคุณเข้าใจมันแล้ว ก็ถือว่าก้าวหน้าไปมาก และต่อไปคุณก็จะเข้าใจถึงคุณค่าของกลยุทธ์ในลำดับต่อไป ยินดีด้วย
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
Part 20 ตัวอย่างการเทรด (Trade Example)
1. การพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ BPB - ได้ตามเป้าทั้งส่วนที่ 1 (T1) และ ส่วนที่ 2 (T2)
การวิเคราะห์ตลาด
ตลาด: 6B (ตลาดฟิวเจอร์ของค่าเงินปอนด์) เทียบเท่ากับค่าเงิน GBP/USD ในตลาดฟอเร็กซ์
วันที่ : 18 สิงหาคม 2553 (2010)
เวลา : 18:33 ตามกราฟ (09:33 เวลาลอนดอน)
เราเริ่มตัวอย่างนี้ที่เวลา 18:33 สามนาทีหลังจากข่าวการประชุม MPC ออก ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีผลสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของตลาด
ขั้นตอนที่ 1 - หาโครงสร้าง
แผนภูมิที่ 5.1 - ตัวอย่างที่ 1 - หาโครงสร้าง
แนวรับจากกราฟอยู่ด้านล่างที่ 1.5500 ส่วนแนวต้านอยู่ด้านบน ที่ 1.5645 และ 1.5690
อย่าลืมว่านี่คือกราฟราย 3 นาที แท่งสีเขียวแท่งล่าสุดทำราคาสูงสุดที่ 1.5612 และปิดที่ 1.5604 การออกข่าวประชุม MPC ทำให้เกิดมูลค่าซื่อขายที่มากดังคาด ราคาพุ่งทะลุแนวต้าน 1.5565, 1.5580 และ 1.5600
ขั้นตอนที่ 2 - หาแนวโน้ม
แผนภูมิที่ 5.2 - ตัวอย่างที่ 1 - หาแนวโน้ม
ก่อนที่ข่าวจะออกตอน 18:15 ราคาทะลุกรอบไซด์เวย์ที่อยู่ระหว่างแนวรับ 1.5500 และสวิงไฮที่ 1.5535 ทำให้เกิดแนวโน้มขาขึ้น
เมื่อข่าวออกทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปต่อตามแนวโน้มขาขึ้น ทะลุแนวต้านทั้ง 3 ขึ้นไป
ขั้นตอนที่ 3 - หาความแข็งแรง และความอ่อนแอ
จากการวิเคราะห์โมเมนตั้มของแผนภูมิที่ 5.3 ด้านล่าง ทำให้เราเห็นชัดเจนว่าแนวโน้มที่แข็งแรง คือแนวโน้มขาขึ้น (ในการสวิงขึ้นเป็นตลาดกระทิง) และแนวโน้มที่อ่อนแอ คือแนวโน้มขาลง (ในการสวิงลงเป็นตลาดหมี)
ในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) จะช่วยในการยืนยันแท่งจากกราฟราย 3 นาทีเพียงแท่งเดียว ว่าหลังข่าวออก ก็ไม่ได้เคลื่อนที่เป็นกระทิงเสียทีเดียว
ในชุดที่พุ่งขึ้นนั้น ประกอบไปด้วย แท่งเขียวที่ปิดกลางแท่ง แท่งแดงที่ปิดกลางแท่ง และแท่งเขียวที่ปิดสูง (แต่ก็ยังอยู่ในขอบเขตของแท่งก่อนหน้า)
ในขณะที่กราฟแสดงกำลังหลังจากการเบรคเอ้าท์ ก็ยังมีสัญญาณของอุปทานของตลาด ซึ่งน่าจะเป็นการปิดทำกำไรในบริเวณแนวต้านที่ 1.5600
แผนภูมิที่ 5.3 - ตัวอย่างที่ 1 - หาความแข็งแรงและความอ่อนแอ
ขั้นตอนที่ 4 - หาแนวโน้มในอนาคต
แผนภูมิที่ 5.4 - ตัวอย่างที่ 1 - หาแนวโน้มในอนาคต
หลักการที่ 6 เรื่องแนวโน้มในอนาคต บอกว่า :
ถ้าราคาแสดงถึงกำลังเมื่อเข้าสู่แนวรับ/แนวต้าน เราคาดว่าจะมีการเบรคเอ้าท์ และสังเกตพฤติกรรม ราคาหลังการเบรคเอ้าท์ เพื่อดูว่าราคาจะไปในทิศทางใด :
- การอ่อนกำลังเมื่อเบรคเอ้าท์ – คาดว่าการเบรคเอ้าท์จะไม่สำเร็จ และราคากลับตัวย้อนไปสู่แนวรับ/แนวต้าน
- การอ่อนกำลังของการพักตัว – คาดว่าการพักตัวจะจบและราคาไปต่อ
ในกรณีนี้ สภาวะกระทิงได้ทะลุแนวต้านขึ้นมาแล้ว เราจะหาว่าทิศทางหลังการเบรคเอ้าท์จะไปทางไหน
จากข่าวที่ทำให้ราคาเคลื่อนที่แบบนี้ ผมคาดการณ์ว่าราคาจะพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์ แล้วไปต่อยังแนวต้านที่ 1.5645
ผมจะเฝ้าดูพฤติกรรมราคาอย่างใกล้ชิด เพื่อมองสัญญาณของความอ่อนแอว่าจะมีโอกาสเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จหรือไม่ อย่างไรก็ตามก็เหมือนจะเป็นโอกาสที่ดี เพราะแนวต้านทั้ง 3 (1.5565/80/5600) กลายมาเป็นแนวรับที่สำคัญ
ขั้นตอนที่ 5 - จินตนาการพฤติกรรมราคาในอนาคต
แผนภูมิที่ 5.5 - ตัวอย่างที่ 1 - จินตนาการพฤติกรรมราคาในอนาคต
ในการที่จะตรวจสอบออเดอร์ของเรา (มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการพักตัวหลังการเบรคเอ้าท์แล้วไปต่อ) ราคาควรจะพักตัวลงมาถึงแนวรับ
มีแนวรับที่สำคัญที่เกิดจากแนวต้านเดิมถึง 3 ระดับ
ถ้ามีอาการที่แสดงว่าสภาวะตลาดหมีจะแข็งแรง และต้องมาประเมินตลาดใหม่ ก็ให้สังเกตจากแนวรับที่สำคัญเหล่านี้ การเบรคเอ้าท์ไม่สำเร็จอาจทำให้เกิดไซด์เวย์ในกรอบแนวรับนี้ได้ (ซึ่งเกิดจากการเก็งกำไรในสถานการณ์นี้)
ขั้นตอนที่ 6 - หาบริเวณที่มีโอกาส
การพักตัวกลับไปยังแนวรับจะทำให้เกิดโอกาส BPB
แผนภูมิที่ 5.6 - ตัวอย่างที่ 1 - หาโอกาสเกิด BPB
การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ 1 - สังเกตรูปแบบแท่งเทียน
ขั้นตอนที่ 2 - คำนึงถึงบริบทในขณะนั้น
ขั้นตอนที่ 3 - ทั้งหมดสนับสนุนการเทรดของเราหรือไม่
การสาธิตถึงการวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่องในหนังสืออาจจะยากสักหน่อย หากจะใส่กราฟทุกๆ การเคลื่อนไหวของแท่งเทียน คงใช้กระดาษหลายหน้ากว่าจะได้ข้อสรุป ดังนั้นเราจะกลับมาดูกราฟอีกทีเมื่อผ่านไป 6 แท่งในไทม์เฟรมที่เทรด (ราย 3 นาที) แล้วจึงจะทำการวิเคราะห์ขั้นตอน 1-3 อีกครั้ง
แผนภูมิที่ 5.7 - ตัวอย่างที่ 1 - การวิเคราะห์ตลาดต่อเนื่อง
แท่ง A เป็นแท่งเขียวปิดสูง แต่แสดงให้เห็นแรงซื้อขายที่พอๆ กัน ซึ่งสังเกตได้จากไส้เทียนทั้งด้านบน และด้านล่าง แท่งนี้ไม่สามารถไปได้สูงกว่าแท่งก่อนหน้านัก นั่นหมายถึงราคาเริ่มจะอ่อนแรงหลังจากที่มีการเบรคเอ้าท์
แท่ง B และ C (ปิดต่ำทั้งคู่) ยืนยันว่าราคาเริ่มย่ำอยู่กับที่ นี่สนับสนุนการเทรดของเรา - กล่าวคือ ไม่มีทีท่าว่าสภาวะหมีจะแข็งแรง - ทีนี้เราก็จะดูว่าเมื่อไหร่ที่การพักตัวนี้หมดแรง
แท่ง D และ E ก็ยังปิดต่ำทั้งคู่ ซึ่งแสดงให้เห็นสภาวะหมี แต่ราคาเริ่มแคบลงยิ่งบ่งบอกว่าสภาวะหมีไม่แข็งแรง จากบริบทนี้ ดูเหมือนว่าการพักตัวจะจบเร็วๆ นี้
แท่ง F เป็นรูปแบบโดจิ (ปิดกลางแท่ง) ซึ่งแสดงว่าการพักตัวอ่อนแรงแล้ว ซึ่งสนับสนุนการเทรดของเราว่าเทรนด์กำลังจะไปต่อ และมีโอกาสเกิด BPB
ทางด้านขวาเป็นพฤติกรรมราคาในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า (ราย 1 นาที) ยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการพักตัวที่ยาวนาน และราคาย่ำอยู่กับที่
#เทรด #forex #สอนforx #เรียนforex #สอนforexฟรี #เรียนforexฟรี
<<<<< YTC Price Action Trader Part 1-10 YTC Price Action Trader Part 21-30 >>>>>